BANGKOK DESIGN WEEK 2024, 27 JAN–4 FEB

อัพเดทและเที่ยวชมงาน

รู้จักย่านสร้างสรรค์ ก่อนงาน BKKDW2024 : บางโพ

รู้จักย่านสร้างสรรค์ ก่อนงาน BKKDW2024 : บางโพ “สร้างคุณค่าใหม่ให้ถนนสายไม้กลายเป็นย่านสร้างสรรค์ ด้วยฝีมือของช่างไม้ไทยระดับตำนาน”หากย้อนกลับไปพูดถึง ‘ย่านบางโพ’ ในช่วง 3-4 ปีที่แล้ว หลายคนอาจเห็นภาพที่นี่เป็นย่านวัตถุดิบงานไม้และช่างฝีมือคุณภาพเยี่ยมที่น่าไว้วางใจหากจะเลือกประกอบเฟอร์นิเจอร์ใหม่ๆ ใส่บ้านสักชิ้นแน่นอนว่าในวันนี้ชื่อเสียงนั้นก็ยังมีอยู่เหมือนเคย แต่เพิ่มเติมมาด้วยคำสร้อยในฐานะ ‘ย่านสร้างสรรค์’ ซึ่งกลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานย่านของใครหลายคน การันตีด้วยรางวัล Creative City Award ประเภท Branding Award จากงาน Creative Excellence Awards 2023 หรือ รางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ก้าวต่อไปของถนนสายไม้ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วไม่น้อยจะเป็นอย่างไร ‘อาจารย์โจ้-เจนณรงค์ ทาคูมิ ซาก้า’ ผู้จัดการโครงการ ‘ถนนสายไม้บางโพ ตำนานที่มีชีวิต’ ซึ่งอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการพัฒนาอัตลักษณ์ย่านบางโพให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจะมาอธิบายให้ฟังย่านอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ที่ไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเองจุดศูนย์กลางของย่านบางโพ คือ ‘ถนนประชานฤมิตร’ หรือ ‘ถนนสายไม้’ ถนนเส้นไม่สั้นไม่ยาวที่เชื่อมต่อระหว่างถนนประชาราษฎร์ 1 กับถนนกรุงเทพ-นนทบุรี เข้าด้วยกัน ภายในอัดแน่นไปด้วยร้านเฟอร์นิเจอร์ โรงไม้ โรงเลื่อย ร้านหุ้มเบาะ ร้านแกะสลัก และอีกนานาสารพันศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานแปรรูปไม้ จึงเรียกได้อย่างเต็มปากว่าที่นี่คือศูนย์รวมงานไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครถึงแม้ว่าในอดีตชาวบางโพจะประกอบอาชีพแปรรูปไม้ขายมาแต่เดิม แต่บางโพพัฒนาตัวเองมาเป็นถนนสายไม้อย่างเต็มรูปแบบหลังการอพยพเข้ามาทำมาหากินของทั้งพ่อค้าไม้ชาวจีนจากย่านวัดญวนสะพานขาว และชาวบ้านที่เคยทำโรงไม้อยู่ในบริเวณถนนดำรงรักษ์ซึ่งขยับขยายออกมาเมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกต่อไป ประสบการณ์ที่ส่งต่อผ่านหลากยุคสมัยหลายสถานที่หลอมรวมกันจนเกิดเป็นต้นทุนทางองค์ความรู้ที่สร้างให้อัตลักษณ์ของย่านบางโพชัดเจนแบบตะโกนจนไม่ต้องเสียเวลาค้นหาแต่นอกจากวัตถุดิบดั้งเดิมที่มีอยู่ภายในย่านแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้บางโพยังคงเติบโตอย่างก้าวกระโดดในยุคสมัยที่โรงงานค่อยๆ เข้ามาแทนที่งานฝีมืออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คือการรวมกลุ่มกันของคนรุ่นใหม่ภายในย่านที่แข็งแรงอย่างไม่น่าเชื่อ“ที่นี่มีการรวมตัวของชาวชุมชนที่ชื่อว่า ‘ประชาคมประชานฤมิตร’ และตอนที่ทำงานถนนสายไม้บางโพ เราก็ได้ตั้งเป็น Committee ขึ้นมาใหม่ เรียกว่า Bangpo Wood Team หนึ่งคือเรามองว่าเราอยากสร้างชื่อที่มันพูดง่ายๆ และเป็น Committee ที่เป็น New gen คือทีมนี้จะมีอายุตั้งแต่ 20 ปลายๆ ถึง 40 ปลายๆเรามองว่าความร่วมมือของกลุ่มคนที่หลากหลายในบางโพ มันเป็นสิ่งที่ทำให้ตรงนี้ยังขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อยู่ โดยกลุ่มที่สำคัญที่สุดที่เราสัมผัสได้คือกลุ่มที่เป็น Third Generation กลุ่มผู้อาวุโสหรือเถ้าแก่บางคนในย่านเขาอาจจะยังไม่เข้าใจว่าเราทำอะไรกันอยู่ จนกระทั่งหลังจากนั้นเหล่าผู้อาวุโสเริ่มส่ง Third Generation มาช่วยเรา ประมาณว่าสามารถมาช่วยอาจารย์โจ้ทำอะไรได้บ้าง เราเลยได้รู้ว่าเขาก็เริ่มเปิดใจและเข้าใจมากขึ้น การทำงานอย่างนี้ต้องอาศัยเวลา เราต้องค่อยๆ ปูทางและคิดต่อยอดว่าปีหน้าจะทำอะไรต่อ”รีแบรนด์เพื่อแนะนำตัวเองใหม่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงย้อนกลับไปในวันแรกที่อาจารย์โจ้เริ่มเข้ามาทำงานกับพื้นที่ย่านบางโพ อาจารย์อธิบายว่า สิ่งที่เขามองว่ายังคงขาดไปในสมการความสำเร็จของย่านบางโพคือ ‘การสร้างการมีตัวตนของย่าน’ “ต้องบอกว่าแบ็กกราวนด์ผมเป็นสถาปนิก เรียนสถาปัตย์จุฬาฯ และเป็นคนกรุงเทพฯ มาตั้งแต่เกิด แต่ผมไม่เคยทราบเลยว่าในย่านนี้มีถนนที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไม้อยู่ จนกระทั่งได้มาทำงานและสัมผัสพื้นที่นี้จริงๆ เราเลยเริ่มมองว่าจริงๆ มันมีปัญหาในเชิงการมีตัวตนของชุมชนนี้ในกรุงเทพฯ รึเปล่า เพราะขนาดเราที่เป็นผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์งานไม้โดยตรงในอาชีพการงาน เรายังไม่รู้จักที่นี่เลย”เมื่อพบว่าปัญหาคือการมองเห็นและการรับรู้ตัวตนของย่านจากสายตาคนนอก สิ่งที่อาจารย์เลือกมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบางโพในเฟสแรกจึงเป็นการ ‘Rebranding’ หรือการสร้างแบรนด์ใหม่ให้กับถนนสายไม้แห่งนี้“ตอนนั้นเราเริ่มคิดว่าต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างการมีตัวตนของย่านนี้ ซึ่งตัวย่านมันมีตัวตนของ Community Identity ที่ชัดเจนมากอยู่แล้ว แต่ถ้าอนาคตไม่ช่วยทำอะไรสักอย่าง ชุมชนนี้ก็อาจจะหายไปและกลายเป็นว่ากรุงเทพฯ จะเหลือแค่ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์ค้าปลีก (Retail Center) เจ้าใหญ่ๆ ที่ขายไม้ เรามองว่าที่นี่เป็นย่านที่มีการขายสินค้าที่พิเศษ มีเอกลักษณ์และสามารถสร้างอัตลักษณ์ต่อได้อย่างน่าสนใจรวมถึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่รองรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย คอนเซปต์แรกในการทำงานเราเลยใช้คำว่า Rebranding Community เพราะคำว่า Rebranding มันควรนำมาใช้กับชุมชนที่มันมีเชื้ออยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะไม่ตอบโจทย์ในปัจจุบันเรามองว่าเขามีองค์ความรู้เกี่ยวกับงานไม้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นวิธีการดูไม้ คุณสมบัติพิเศษของไม้แต่ละชนิด การใช้งาน วิธีการเข้าเดือยในงานเฟอร์นิเจอร์ มี Craftmanship และองค์ความรู้ซ่อนอยู่ทุกองค์ประกอบ แต่ถ้าย่านนี้จะคงอยู่ต่อไปได้ มันจะต้องเปลี่ยนตัวเอง จะมาค้าขายไม้เหมือนเดิมอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนและวาง Position ตัวเองใหม่ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ (Learning hub) เกี่ยวกับไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อที่สุดท้ายแล้วพอ Rebrand และจับอัตลักษณ์ของย่านได้ นอกจากย่านจะเป็นที่สนใจมากขึ้นแล้ว การที่ทำให้พวกเขาเห็นว่านอกจากการค้าไม้มันมีอย่างอื่นที่มี Hype Value ในเชิง closure Identity สูงมาก และนำมาเล่าเรื่องและดึงคนนอกเข้ามาได้ มันก็เป็นการสร้างประโยชน์ในเชิง Business ให้กับเขาด้วย”ก้าวต่อไปด้วยการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากขุมทรัพย์ภูมิปัญญาจากความตั้งใจในวันนั้นจนถึงวันนี้ รางวัล Creative City Award ประเภท Branding Award ได้แสดงให้ทุกคนเห็นเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าความหมายของสิ่งที่อาจารย์โจ้ตั้งใจสร้างให้เกิดขึ้นคืออะไร วันนี้ความท้าทายที่ชาวบางโพมีมากกว่าย่านไหนๆ จึงเป็นการที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าทำอย่างไรเราจึงจะสามารถต่อยอดจากความสำเร็จนี้และก้าวไปสู่อนาคตได้ในอีกระดับ“กับคนในย่านบางโพเราก็คุยกันว่าสิ่งที่เราประสบความสำเร็จแล้วคือเราสร้างแบรนด์ บางโพถนนสายไม้ ได้แล้ว เราก็ถามเขาว่าสิ่งต่อไปที่อยากชูคืออะไร ทุกคนก็เห็นพ้องตรงกันว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เราอยากจะชูคือ ‘งานฝีมือไม้ไทย’ เลยตกตะกอนมาเป็นธีม ‘Master of Craftmanship’ เพราะว่าจริงๆ เราขายงานฝีมือ เราไม่มีทางเน้นขายงานโปรดักชั่นใหญ่แบบ Ikea ได้ แต่เรามี Value ของเราเอง ซึ่งมันเป็นคนละแบบกัน”ความตั้งใจนี้ไม่เพียงสำคัญในฐานะเป้าหมายใหม่ของย่าน แต่ยังส่งผลถึงภาพรวมการอนุรักษ์องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของงานช่างฝีมือไม้ไทยให้คงอยู่ต่อไปในอนาคตอีกด้วย“เสน่ห์ของงานไม้คือไม้ทุกชิ้นจะมี Identity ที่ต่างกัน รวมทั้งน้ำหนักมือที่ไม่เท่ากันของช่างไม้ จึงทำให้เกิดความยูนีคในตัวมัน แต่พอมีเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามา ทุกอย่างจะกลายเป็น Mass Production ที่เหมือนกันไปหมด ซึ่งเรามองว่าถ้าเราสามารถรักษาความเป็นยูนีคเอาไว้ได้ เราก็จะสามารถรักษาอาชีพของกลุ่มช่างฝีมือไม้เอาไว้ได้ด้วย”การจะไปสู่สิ่งนั้น อาจารย์โจ้อธิบายว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ‘การสร้างองค์ความรู้’ ซึ่งเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการให้ความรู้ (Educate) กับทั้งคนในชุมชนและคนนอกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา“ผมมองว่าการ Educate กลุ่มคนต่างๆ มันจะเป็นการ Close loop ของการเข้าใจว่าไม้มันมีมูลค่ามากกว่าแค่เป็น Product Material แต่ลงไปถึงรากเหง้าของประเทศไทยที่มีการใช้ไม้มาอย่างยาวนาน และเรายังเป็นประเทศที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับงานไม้เยอะมากสิ่งสำคัญคือเราต้องพูดกับคน 2 กลุ่มนี้ให้ได้ หนึ่ง Educate คนภายในให้เข้าใจว่าตัวเองมีของดี มีองค์ความรู้ที่คนอื่นไม่มี และคุณต้องเรียนรู้ว่าโลกมันเปลี่ยนไปและจะต้องรู้ว่าจะปรับตัวอย่างไร และสองคือ Educate กลุ่มคนภายนอก ให้รู้ว่าถ้าต้องการจะซื้อชิ้นไม้ชิ้นหนึ่ง เขาต้องรู้ว่ามันมี Value มากกว่าการเป็นแค่เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานได้ เพราะถ้าคุณเลือกซื้องานฝีมือจากไม้ธรรมชาติ เท่ากับว่าคุณได้สนับสนุนทั้ง Sustainable Product,  Local remade และยังส่งเสริมให้มีการว่าจ้างอาชีพกลุ่มช่างไม้ต่อไปด้วย”Immersive Workshop ที่อยากเปลี่ยนช่างไม้หนึ่งครั้ง ให้เป็นช่างไม้ตลอดไปสำหรับกิจกรรมในเทศกาล Bangkok Design Week ปีนี้ อาจารย์อธิบายว่าอยากขยายขอบเขตของการสร้างประสบการณ์ไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้และสร้างโอกาสใหม่ในการประกอบอาชีพงานไม้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น จึงตั้งใจเปลี่ยนรูปแบบของการเดินทัวร์ภายในย่านให้กลายเป็น Immersive Workshop ที่ผู้เข้าร่วมจะได้ทดลองทำงานไม้และเรียนรู้เทคนิคอย่างจริงจัง โดยตั้งกลุ่มเป้าหมายเอาไว้เป็นเหล่านักออกแบบที่สามารถนำความรู้ด้านงานไม้ไปต่อยอดได้ในชีวิตจริง“ปีที่แล้วเรามาในคอนเซปต์ Living Museum ที่พาคนนอกมาเรียนรู้เรื่องไม้ผ่านการเดินสำรวจในย่าน ให้เขาได้รับรู้กระบวนการตั้งแต่ตัดต้นไม้จนถึงการแปรรูปว่าเป็นยังไง แต่ปีนี้เรามองว่าการที่จะรักษาองค์ความรู้เอาไว้ให้ได้ เราอยากดึงกลุ่มคนที่สนใจเรื่องช่างไม้จริงๆ มาเข้าร่วม เลยไปโฟกัสที่กลุ่มนักออกแบบเพื่อดึงคนกลุ่มนี้มาเรียนรู้การเป็นช่างไม้จริงๆจากแค่การเดินทัวร์ เราทำเป็น Station ว่าแต่ละจุดต้องทำอะไรบ้าง เพื่อจะได้ทำและเข้าใจการสร้างไม้จริงๆ เช่น การเลือกไม้ ลักษณะของไม้มีกี่แบบ และอีกอย่างคือ ให้คนมาทำ Interlocking Wood เป็น Experience Day ที่คนที่เข้ามาไม่ได้แค่ดูอย่างเดียวแต่ได้ทดลองทำ มีประสบการณ์กับไม้ต่างๆ ด้วยตัวเขาเอง เพื่อให้เขาได้มีทักษะเกี่ยวกับการทำงานดีไซน์จริงๆ และสามารถรักษาองค์ความรู้นั้นต่อไปได้”เส้นทางบนถนนสายไม้ที่ทอดยาวต่อไปจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ตามมาพิสูจน์กันได้ด้วยตาตัวเองที่ Bangkok Design Week 2024 ย่านบางโพ รู้จักกับ ‘ย่านบางโพ’ มากยิ่งขึ้นผ่านโปรแกรมแนะนำประจำย่านBangpho Phenomenonwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/93452 สร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์จากไอเดียของคุณwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/93435 Taste of Bangphowww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/93727 คลิกเพื่อดูโปรแกรมทั้งหมดของย่านบางโพ ที่นี่ : www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program?nbh=49831 –Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

รู้จักย่านสร้างสรรค์ ก่อนงาน BKKDW2024 : เกษตรฯ - บางบัว

รู้จักย่านสร้างสรรค์ ก่อนงาน BKKDW2024 : เกษตรฯ – บางบัว“ร่วมมือกับเพื่อนบ้าน สร้างสรรค์ย่านเรียนรู้ให้น่าอยู่สำหรับทุกคน”“มอเกษตร’ ใหญ่เหมือนมีเมืองทั้งเมืองอยู่ข้างในเลย!” คือคำนิยามที่หลายคนมักจะมีเมื่อพูดถึง ‘ย่านเกษตร’ แต่นอกจากเมืองทั้งเมืองที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยแล้ว สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้คือพื้นที่รายรอบยังมีชีวิตและความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบดำเนินอยู่ควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนต่างๆ ที่อยู่คู่กับมหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน หรือย่านที่อยู่อาศัยและกิจการที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของทั้งนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยที่เพิ่มจำนวนขึ้นในฐานะ Co-host น้องใหม่ของวงการย่านสร้างสรรค์ที่ร่วมจัดงาน Bangkok Design Week ปีนี้เป็นปีที่สอง ‘คณะก่อการย่านเกษตร’ มองความท้าทายและโอกาสในการทำงานกับพื้นที่ย่านเอาไว้อย่างไร มาร่วมหาคำตอบไปด้วยกันเมืองและมหาวิทยาลัยที่หลอมรวมกันอย่างกลมกลืนคณะก่อการย่านเกษตรอธิบายว่าถึงแม้ ‘ย่านเกษตรฯ – บางบัว’ จะเริ่มต้นขึ้นมาโดยมีพื้นที่หลักอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่สิ่งที่พวกเขาค้นพบหลังจากที่ทำงานในพื้นที่ คือชุมชนและรูปแบบความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ฟอร์มตัวขึ้นโดยรอบ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการมีอยู่ของมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญ“นอกจากโซนมหาวิทยาลัยแล้ว เรายังมองไปว่ารอบๆ เกษตรมันมีชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนที่เผลอๆ อยู่มาก่อนเกิดเกษตรด้วยซ้ำ ส่วนมากจะอยู่ตามริมคลอง อย่างบางเขนจะมีชุมชนริมน้ำต่างๆ อยู่เยอะ เช่น ชุมชนบางบัว ชุมชนบึงกุ่ม ชุมชนโรงสูบ ที่อยู่กับมหาวิทยาลัยมานานมากนอกจากนี้ตั้งแต่มีบ้านบุคลากรต่างๆ เข้ามา พอเราได้ลงไปศึกษาชุมชน ก็ได้พบว่า คนที่อยู่ในชุมชนก็เป็นพนักงานที่ทำงานซัพพอร์ตมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ภารโรงไปจนถึงอาจารย์ แล้วก็มีกิจการต่างๆ ที่ซัพพอร์ตคนกลุ่มนี้ เช่น ร้านอาหารและคาเฟ่ต่างๆ เกิดขึ้นมาด้วย เราก็เลยมองว่ามันเป็นความสัมพันธ์หนึ่งในพื้นที่ที่น่าสนใจ”อีกหนึ่งสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นโอกาสของย่านเกษตร คือตำแหน่งที่ตั้งที่ครอบคลุมพื้นที่การเดินทางสัญจรสำคัญภายในเมืองหลากหลายรูปแบบ“นอกจากเรื่องของชุมชนแล้ว ที่เราสนใจคือเกษตรยังเป็น hub ของ transit หลายๆ ทาง เช่น รถไฟฟ้า 2 สาย เกษตรจะอยู่ตรงกลาง หรือท่ารถที่กระจายไปสู่เมืองต่างๆ หลายๆ เมือง มองว่าเป็นพื้นที่ตรงกลางแบบหนึ่ง มองว่าเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ภาพรวมเราจึงมองว่าเกษตรมันมีหน้าตาประมาณนี้” อัตลักษณ์ที่รอวันสร้างเมื่อย่านเกษตรเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ที่บรรจุทั้งมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบหลากหลายชุมชนไว้ด้วยกัน หนึ่งในความท้าทายของคณะก่อการย่านเกษตร จึงเป็นการหาคำนิยามให้กับย่าน ว่าอะไรกันแน่คือ ‘อัตลักษณ์’ ของย่านเกษตร“จนถึงทุกวันนี้เราก็ยังตอบได้ไม่ชัดว่าย่านเกษตรมีอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์แบบไหน มันไม่ได้เห็นชัดเจนเหมือนย่านพระนครที่มีอาคารเก่า หรือปากคลองตลาดที่มีดอกไม้ อย่างเกษตรถ้าพูดถึงสิ่งที่เห็นด้วยตามันจะยังไม่ค่อยเห็นสิ่งนี้ก็เลยเป็นหนึ่งในโจทย์ที่เรากำลังพยายาม explore อยู่ แต่ถึงแม้จะยังหาอัตลักษณ์ที่ชัดเจนไม่ได้ เราก็ตั้งใจว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการซัพพอร์ตชุมชน และซัพพอร์ตคนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ถ้าได้ทำต่อไปเรื่อยๆ วันนึงเราก็อาจจะหาเจอก็ได้ว่าเกษตรที่ทุกคนอยากเล่าเป็นแบบไหนกันแน่”เชื่อมต่อทั้งย่านให้กลายเป็นเพื่อนบ้านใน Kaset Neighborhoodคณะก่อการย่านเกษตรเล่าย้อนไปถึงประสบการณ์ในการจัดงาน Bangkok Design Week ปีก่อนว่าสิ่งที่พวกเขาปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญคือการที่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงชุมชนต่างๆ ตลาด และมหาวิทยาลัย ให้มามีส่วนร่วมกับกระบวนการได้เท่าที่ควร ในปีนี้พวกเขาเลยตั้งเป้าหมายหลักเป็นการดึงคนในพื้นที่ให้มามีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างให้คนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันนี้มีความเป็น ‘เพื่อนบ้าน’ กันจริงๆ มากขึ้น“เราตั้งชื่อเล่นของธีมงานย่านเกษตรในครั้งนี้ว่า Kaset Neighborhood หรือ เกษตรเพื่อนบ้าน เพราะเรามองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน รวมทั้งคนที่อยู่รอบๆ ว่าจริงๆ เกษตรเป็นย่านที่มีหอพักเยอะมาก มีคนเข้ามาอยู่เพื่อทำงาน อยู่เพื่อเรียน หรือชุมชนที่อาจจะเคยเจอกันหรือไม่เจอกัน เรารู้สึกว่าอยากจะดึงชุมชนเหล่านี้ให้รู้สึกถึงความเป็นเพื่อนบ้านต่อกันมากขึ้น รู้สึกเป็นมิตรกันเราคิดว่าการสร้างความรู้สึกของการเป็นเพื่อนบ้านจะทำให้เมืองน่าอยู่มากขึ้นจริงๆ แล้วมันเกิดจากประเด็นเล็กๆ อย่างเช่น บางทีนิสิตมีการจัดกิจกรรมอยู่ข้างๆ ชุมชนใกล้เคียงก็อาจยังมีความไม่เข้าใจหรือเข้ามามีส่วนร่วม คือชุมชนไม่ได้รู้สึกว่าเราเป็นเพื่อนบ้านกันเท่าไหร่ เราเลยอยากสร้างโมเมนต์นี้ สร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป”เกษตรแฟร์ที่เป็นของคนในย่านสำหรับงาน Bangkok Design Week ในปีนี้ กิจกรรมหลักของย่านเกษตรคือการทำตลาดซึ่งเป็นศูนย์รวมตัวผู้ประกอบการ และสินค้าต่างๆ โดยพวกเขาให้คำนิยามว่าอยากให้เป็นเหมือน ‘งานเกษตรแฟร์ของคนในย่าน’ ที่เลือกมาแล้วว่าคนมาออกร้านจะเป็นคนในย่านและกิจการในย่านมากกว่าร้านดังหรือแบรนด์ใหญ่จากพื้นที่อื่นๆ“พูดตรงๆ ว่าหากมองเผินๆ อาจจะคล้ายกับเกษตรแฟร์ที่เป็นงานเฟสติวัล แต่หนึ่งในความต่างคือเราอยากจะ curate คนที่มาขาย และมาเข้าร่วมให้ค่อนข้างเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่นี้จริงๆ หรือว่ามีส่วนร่วมในพื้นที่นี้จริงๆ ซึ่งเราตั้งเป้าหมายว่าเป็นคนที่ขายอาหารลึกๆ อยู่ในชุมชน ซึ่งปกติถ้าเรามาอยู่ในที่หนึ่งเราอาจจะใช้เวลานานหน่อยในการค้นพบร้านเหล่านี้ และเขาเองก็ไม่ได้โปรโมตตัวเอง ไม่ได้ลงใน Grab ด้วยซ้ำ ก็จะเข้าถึงยาก ซึ่งร้านเหล่านี้ก็เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ด้วย ราคาก็อาจจะไม่ได้แพงด้วย เรามองเป็นในเชิงการซัพพอร์ตเศรษฐกิจระดับย่าน และในงานก็อาจจะมีกิจการเชิง art and craft เข้ามาเสริมด้วย เราอยากมองเข้าไปในรายย่อยมากกว่า ก็เลยจะต่างกับเกษตรแฟร์ที่ส่วนมากเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่อาจจะชวนเขามาขายในพื้นที่ตลาด ซึ่งเป็นสวนสาธารณะตรงกลางของ community นี้ ให้เขาได้มาเจอกัน และชวนกลุ่มคนต่างๆ ในพื้นที่ ผู้ประกอบการรายย่อยที่อาจจะเพิ่งเริ่ม คนที่อยู่หออยู่คอนโดที่อาจจะเริ่มทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ให้ออกมาขาย ก็หวังว่าทุกคนจะได้มาเจอกัน และแลกเปลี่ยน contact รวมถึงอาจจะมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเล่นดนตรี มีการ enjoy กัน มีกิจกรรมประกวดภาพเก่า ให้ทั้งคนในชุมชนและคนที่มีประสบการณ์ร่วมกับเกษตรที่ผ่านมามาแชร์ภาพเก่าๆ ร่วมกัน หรืออาจจะมีกิจกรรมดูหนังกลางแปลง ให้คนในชุมชน walk-in เข้ามาดูได้ไม่ยาก ก็กำลังมองๆ กิจกรรมเหล่านี้อยู่ ซึ่งนำมาสู่การสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อไปและยังมีกิจกรรมอื่นๆ ของทางมหาวิทยาลัย ที่เป็นเรื่องของการอนุรักษ์บ้านบุคลากรเก่าตั้งแต่ปี 2500 ที่กำลังจะถูกรื้อ จัดโดยอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่กำลังทำเรื่องการอนุรักษ์อยู่ เพราะอาคารนี้จริงๆ ก็อยู่ติดกับชุมชนในพื้นที่ เราเลยอยากทำให้คนทั้งภายในและภายนอกได้เห็นถึงความสำคัญของมันเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ต่อไป อย่างตรงบางบัวเอง จะเป็นคอนเซปต์เรื่อง Third place – ความเป็นไปได้ใหม่ของการเป็นพื้นที่สันทนาการ ก็จะเป็นกิจกรรมเชิงไลฟ์สไตล์ของพาร์ตเนอร์ คือ ม.ศรีปทุม และ SC ASSET ที่เป็นการจัดแสดง Lighting Installation ตรงนี้ก็จะเป็นอีกกลุ่มกิจกรรมค่อนข้างใหญ่เลยที่มีภาคเอกชนมาร่วมมือในการพัฒนาเราอยากเห็นความร่วมมือกันและกันของคนในพื้นที่ และอยากเห็นคนที่มาร่วมงานได้มา connect กันมากขึ้น อย่างคนนอกที่เข้าชมงาน BKKDW ก็อาจจะได้มาเจอกับชุมชน ก็อาจจะมี connection ต่อกันที่ไม่ใช่แค่ในย่าน แต่กระจายไปสู่คนจากพื้นที่อื่นหรือนักสร้างสรรค์คนอื่นๆ ในอนาคตที่อาจจะสนใจเข้ามาทำให้เกษตรมีความเป็นย่านสร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อประกาศว่าเกษตรกำลังเปิดรับบางอย่างอยู่ และหวังว่าชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมก็จะได้อะไรกลับไปเช่นกัน”คณะก่อการย่านเกษตรปิดท้ายว่า การเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมที่หลากหลายเหล่านี้ในพื้นที่เดียว อาจจะกลายมาเป็นอัตลักษณ์ใหม่ของย่านเกษตรในอนาคตก็เป็นได้ แล้วคุณล่ะคิดอย่างไร? มาร่วมสร้างสรรค์คำนิยามใหม่ๆ ให้กับย่านเกษตรได้ที่งาน Bangkok Design Week 2024รู้จักกับ ‘ย่านเกษตรฯ – บางบัว’ มากยิ่งขึ้นผ่านโปรแกรมแนะนำประจำย่านตลาดผูกปิ่นโต Fairwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/70548 BAMBOO MACHE MODULARwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/87919 LiVELY STREET FURNITURE 01 by Bangkok City Labwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/programกาลครั้งหนึ่ง ณ บางเขนwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/70495 คลิกเพื่อดูโปรแกรมทั้งหมดของย่านเกษตรฯ – บางบัว ที่นี่ : www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program?nbh=49824    –Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

BKKDW2024 กับกว่า 900 โปรแกรม ที่พร้อมช่วยกันทำให้ ‘เมืองยิ่งดี’

ครั้งแรกของงานเทศกาล Bangkok Design Week ที่มีโปรแกรมเข้าร่วมการพิจารณางานสร้างสรรค์มากถึง 915 โปรแกรม ทั้งในระดับย่าน สถานที่ โครงการ และชิ้นงาน สู่การคัดเลือกให้เหลือกว่า 400 โปรแกรมที่เหมาะสมกับเมืองมากที่สุดเนื่องจากในปีนี้มีโปรแกรมในการเข้าร่วมงานเทศกาลฯ มากกว่าทุกปี ทำให้ทีมผู้พิจารณาต้องมีการรวมตัวกันเป็นการเฉพาะกิจเพื่อช่วยกันพิจารณาคัดเลือกโปรแกรมแต่ละโปรแกรมด้วยความละเอียดถี่ถ้วนเป็นพิเศษในวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยทีมผู้พิจารณาในวันนั้นประกอบไปด้วยคณะกรรมการหลัก อาทิ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร ผู้แทนจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และสื่อมวลชน และยังมีผู้แทนในการขับเคลื่อนแต่ละย่านรวม 10 ย่านเข้าร่วมเพื่อช่วยกันระดมความคิดและมองหาความเป็นไปได้ในแต่ละโปรแกรม นำเสนอย่านที่มีบริบทที่เหมาะสมกับโปรแกรมนั้นๆ พร้อมร่วมคัดเลือก 50 โปรแกรมสุดท้ายที่จะได้มีโอกาสในการนำเสนอต่อกรรมการแบบตัวต่อตัว หรือ ‘Presentation Day’ เพื่อรับการสนับสนุนจากงานเทศกาลฯ ทั้งในด้านงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายและคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ‘Presentation Day’ หรือการนำเสนอแบบตัวต่อตัวมีขึ้นในวันที่ 17-18 ตุลาคมที่ผ่านมา นอกจากจะมีการนำเสนอผลงานโดยผู้สร้างสรรค์แล้ว แต่ละโครงการยังได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ที่สามารถนำไปต่อยอดให้โครงการมีความสมบูรณ์มากขึ้นได้จากคณะกรรมการ ทั้งในภาพรวม การดำเนินการ รวมถึงไอเดียใหม่ๆ ที่จะทำให้แต่ละโครงการเกิดขึ้นได้จริงและมีความน่าสนใจมากขึ้นบรรยากาศของกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอนนั้นเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้เมืองของเราดียิ่งขึ้นจากทั้งผู้สร้างสรรค์และคณะกรรมการตัดสินที่ช่วยกันระดมความคิด มองหาโอกาสในทุกความเป็นไปได้ พยายามต่อยอดทุกโครงการให้ตอบโจทย์กับเมืองตามหัวใจหลักของธีมงานเทศกาลฯ ในปีนี้‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’พบกับโปรแกรมที่จะช่วยให้เมืองเราดียิ่งขึ้นในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2567–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

Announcement of Participant

ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมจัดเทศกาลฯBangkok Design Week ขอบคุณนักสร้างสรรค์ทุกท่านที่สนใจสมัครเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลงานออกแบบฯ เพื่อขับเคลื่อนวงการออกแบบและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโตไปด้วยกันรายชื่อผู้เข้าร่วมจัดเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567Exhibition (การจัดแสดง)พื้นที่เทศกาลฯ (Festival Venue)3 nai 4ABSOLUTBEGINNERAdapter Digital GroupAIBELLEALT AlternateAmileenARCANEArisara StudioArt-Design for Wider world / A Charity Art and Design ExhibiAustralian Embassy ThailandBarry MacdonaldBe WorkshopBigknitBlue BangkokBosai +CapyperCavekin x Blue BangkokCEACHANACHERINADDED Collective LungconsciousCPAC 3D Printing SolutionCre8 StudioCROCHETLADang Diep Thao NguyenDECAAR by SCGDemark AwardDinDa & MinDaDOTSEP studioFind the blob (กลุ่มศิลปินอิสระ)GadhouseGLISTENglomglomDINDA ProgrameJockey – Tschumi and Co.KANZ BY THAITORLamitakLANTARAYLEENONLivable City for WildlifeLive Life DetailloqaLUCKY.KLUKYANGMahasanmapmap GO!MMYNmo.paintbookmoonlerMuvMiNATPICHAIRAToncebkkOne BangkokP.H.I. InteriorPDM BrandPHAYANCHANAPILYNNPlace/narrative studio และ Phasom.Arom Design StudiosPlural DesignsPomelo FashionPoroXitypraanQUALYReMIXRTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอกSALETESalt and Pepper StudioSalt and Pepper Studio X FriendsSARNSARDSchool of Design and Architecture, Sripatum UniversitySleepy Pansy StudioSpirographStudio DialogueStudio ThalamusSUNTUDIOTAKANAO TODO DESIGNTERMTEM STUDIOThailand Sport Center for Blind AthleteThe Panic SquadTHNUD STUDIOtinyTyvek® UNDP ThailandVICHITRvowselectedWOODDENZIPPER BAGครามสกลคอมม่อน คลองนนนา นนยา สตูดิโอพัสตราภรณ์ 25มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์อภิเษก สตูดิโอExhibition (การจัดแสดง)พื้นที่ของตนเอง (Your Own Venue)1128 SPACE1932 in Space27 June Studio X Human of Flower Market3D Design Team49&FRIENDS85mm. Studio & House90 ปี สถาปัตย์จุฬาฯA thing that is piecesA49AMA Design StudioAMP PUTTIPONGartXityArun Amarin 23 Art SpaceATTA Gallery       Autosave StudioBangkok Archive // บางกอกรำลึกBangpho Wood StreetBHIRAJ BURI GROUPBigkritCHANINTRCHAT ArchitectsCloud 11COMMUNITY LABCreative Soul StudioCROSSsCtrl+R CollectiveDecideKitDROP BY DOUGH x Teaspoon StudioEveryday Architect & Design StudioFactory 01Flower in Hand by P.FOS Lighting DesignFotoclub BKKGalileOasis กาลิเลโอ โอเอซิสGreydient LabGUSS DAMN GOODHeritage HabitatsHouse of Upa-InHumans of Flower MarketHumans of Flower Marketxกลุ่มสาธารณศิลป์เพื่อนิเวศน์สุนทรีย์INDAInwood GardenISR-SRIPATUM UNIVERSITYJINJERJTKT Co., Ltd.KIDICIAKoyori Project 2023LightIS and FriendsLOU HIEB SENGMagnolia Quality Development Corporation (MQDC)MASIERIMuang Thai Life AssuranceNO.9noble PLAYOnce Upon a TImePeople of AriPony FoundPRYNWANRiver City BangkokRT StudioRudy Meyer StudioSAFETist FarmSaratta SpaceSATARANASP/NStreetArt_DruSUPERFORM x HAWAII THAIThe contextualTOAxGRATITUDE DESIGNTVBGTwodoors Studio Co.,LtdUrban AllyUrban SenseUrban Studies LabVaslab ArchitectureWhen Life Gives You LemonsWhitesensoryXD49กรกช สุขทรัพย์วศิน จรจัดสรร Stand for Straysใจดีสตูดิโอนัวเนื้อหอม คาเฟ่บ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์พรีเชียสพลาสติกแบงค็อก ย่านเขียวเกษตรริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces Bangkok)วันใหม่ นิยมสถาบันอาศรมศิลป์___________________________________Talk (เสวนา) พื้นที่เทศกาลฯ (Festival Venue)CEAComputational Life Sciences ThailandJoy Ride ลูกรับจ้างหลานจำเป็นLove Wildlife FoundationMultidisciplinaryNABA RoundaboutSalmon PodcastThailand Sport Center for Blind Athleteย่านเขียวเกษตรพื้นที่ของตนเอง (Your Own Venue)CLOU architects (Online Only)VLab (Online Only)Creative LabCROSSsMQDC IdylliasTrue Digital ParkTVBGวันใหม่ นิยม___________________________________Workshop (เวิร์กช็อป) พื้นที่เทศกาลฯ (Festival Venue)artaround studioBananaBlood CHECQO.honnanhoodhumemeJINNY X POLAROIDLUKYANGPi Concept SolutionsQUT X CUSchool of Design and Architecture, Sripatum UniversityStudio DialogueTASTEBUD LABThai FitTiger cf Workshop To Every Breather นนนา นนยา สตูดิโอบ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์ย่านเขียวเกษตรพื้นที่ของตนเอง (Your Own Venue)A FLOWER SAYSBaojai Family X ห้องเรียน Palliative CareBUNKAFASHIONSCHOOLChia TaiCROSSsGEPP SA-ARDGoodSoul.Jitjaideehandmade inhalerHANDS ODORISR-SRIPATUM UNIVERSITYLittle Steps Big CityLove Wildlife FoundationMaLet’sMon Studio One Upon a TimePhotography workshop by Manny LibrodoQraft by AQUASAFETist FarmSATARANATaibanTermStaionToday at AppleUnboxing Your PresentYep Yep HandicraftZEQUENZกลุ่มนักศิลปะบำบัดแนวมนุษยปรัชญา Rattayakom school of Art Therapyเนื้อหอม คาเฟ่บ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์ริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces Bangkok)สถาบันอาศรมศิลป์___________________________________Event (อีเวนต์) พื้นที่เทศกาลฯ (Festival Venue)BANGKOK STREET PERFORMERมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์พื้นที่ของตนเอง (Your Own Venue)1128 Space49&FRIENDS A49 (KHON KAEN) / A49 (PHUKET) / G49 / GA49AFTER.BKKARCHITECTS 49 HOUSE DESIGN LIMITEDBOOKS & BELONGINGSCharoenkrung’s GalleryCreative LabDesigner of the YearDoitungDot Line PlaneFILM free FORMFlowers in the MistGalileOasis กาลิเลโอ โอเอซิสInsight Wat PhoInterior Architects 49Inwood GardenISR-SRIPATUM UNIVERSITYKMUTTL49MappaMayday!Night at CharoenkrungOMPOn SquareOne Upon a TimeSPCSStoried PlaceStudio of Architecture and EnvironmentSUPH Art SpaceThe Hop BangkokUrban Allyเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทยรองเมืองเรืองยิ้ม___________________________________Music & Performing (ดนตรีและการแสดง) พื้นที่เทศกาลฯ (Festival Venue)Dee-ng TheatreHelicopter SecondhandMicroboat On MarsOpposite otter with daisy theatrePathorn SrikaranondaRAW Object of BKKRNYROCK ME BANDRocketmanSalinSchool of Design and Architecture, Sripatum UniversitySCNWKwhosaidiwanttoliveYamaha Music School Thailand ZYYOD (คณะดนตรี สีหยด)ย่านเขียวเกษตรพื้นที่ของตนเอง (Your Own Venue)CROSSsHeavenly Voice Nancy’s StudioISR-SRIPATUM UNIVERSITYPGVIMSAFETist FarmTVBGUrban Ally x สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา x คณะดุริยางคศาสตร์Yamaha Music School Thailand บ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์เพ้อฝันโปรดักชั่น (Perf Fun Production)วันใหม่ นิยมสำนักงานเขตพระโขนง___________________________________Tour (ทัวร์) พื้นที่เทศกาลฯ (Festival Venue)broooProducts Bangkok Salmon PodcastSchool of Design and Architecture, Sripatum UniversityStorywiseย่านเขียวเกษตรพื้นที่ของตนเอง (Your Own Venue)CROSSsDhurakij Pundit UniversityHeritage HabitatsHidden BangkokPlay SpaceSATARANASATARANAบ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์พลัดแต่ไม่หลง : บางพลัด UNLOSTริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces Bangkok)วันใหม่ นิยมสถาบันอาศรมศิลป์___________________________________Market (ตลาด)พื้นที่เทศกาลฯ (Festival Venue)AIBELLEaircraft colaBASIC TEEORYBlue BangkokCOMMA ORIGINALCROCHETLAekkoHeadkhe CraftsodahumemeinboxStreetwear JIIRAJongklomKaptor StoreKarameruLANTARAYLuak La MianManyMuchMoremarionsiamMAT ARCHERmek OortMonjeed (ม่อนจี๊ด)MoreovermormormorMr.Omeletpalinipeeti studioPHAYANCHANAPlay a lotPPLADYProdPran CraftSALETESARNSARDSarr.raiSHOUXCLAIRSmall Things MatterSPACE MAKERsuns TEA BARTermtem studiotwenty​ fingersTwo in RowVaangVECTORWA.Sculpture StudioWe-In-C craft studioZayanZEBRAZ ครัวแม่ศรีเจริญพุงโภชนานนนา นนยา สตูดิโอเปา เหล่า กงมัดใจ สตูดิโอสารัตถะอภิเษก สตูดิโออาหารทะเล หมึกย่างเจ้าสำราญพื้นที่ของตนเอง (Your Own Venue)49&FRIENDS BHIRAJ BURI GROUPFAC factory art centreFermented Market GalileOasis กาลิเลโอ โอเอซิสHumans of Flower MarketJTKT Co., Ltd.K village Sukhumvit 26กลุ่มคนรักตลาดน้อยย่านเขียวเกษตร___________________________________Promotion (โปรโมชัน) พื้นที่ของตนเอง (Your Own Venue)1128 SPACECharoenkrung 32 Street vendorFarm to Table, HideoutFarm to Table, Organic cafeitti homemade ice creamLI-ZENN PUBLISHINGUrban DecorationZEQUENZเนื้อหอม คาเฟ่double slash // coffee space___________________________________Bangkok Design Week 2024Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

Design Research Day Open Call

Design Research DayOpen Call for Participantsเปิดรับสมัครผู้นำเสนอโปรเจ็กต์หรือผลงานวิจัยApply Now – 30 Nov 2023Design Research Day เปิดรับสมัครผลงานเข้าร่วมนำเสนอในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567ขอเชิญชวนทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ หรือนักสร้างสรรค์ เข้าร่วมส่งผลงานโปรเจ็กต์หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ เพื่อร่วมถ่ายทอดผลงานและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ในรูปแบบการบรรยายเป็นเวลา 20 นาที บนเวที Design Research Day ภายใต้เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 หรือ Bangkok Design Week 2024 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2567       _____Design Research Day คือ วันแห่งการนำเสนอผลงานด้านการออกแบบหลากหลายสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในผลงาน ผ่านการนำเสนอโปรเจ็กต์หรืองานวิจัยในรูปแบบการบรรยายที่เป็นกันเองภายในเวลา 20 นาที_____ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกบรรยายในงาน Design Research Dayคุณธัญชนก ปมุติโตคุณธัญญา ศุภบัณฑิตย์กุลคุณธีร์ทัศน์ เจียรธีระกุล  คุณธนชาติ ครองยุติคุณเฉลิมพงศ์ อ่อนยอง   คุณปาณีกาญจน์ โหตระไวศยะคุณสราลี สิทธิการุณ คุณสุพัฒน์ กิจถาวรรัตน์คุณณัชชา ศิริขวัญชัยคุณญาณิศา เนียรนาทตระกูล สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 10 ท่าน เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อเเจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2566_____ร่วมส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 พฤศจิกายน 2566     ดูรายละเอียดการเข้าร่วม และสมัครได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeAy3-9AYuLuyko1Xbdic146M0EDbb_gLUtdz7mMJDzibP_Pw/viewform_____สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณวัชชพล หรั่งแพ อีเมล watchapon@cea.or.th หรือ โทร. 02-105-7400 ต่อ 204 (จันทร์-ศุกร์ / 10.00-17.30 น.)

Design Matters – เมืองออกแบบดี คือ อย่างไร

Design Matters – เมืองออกแบบดี คือ อย่างไรเรื่อง : ออพพอร์ทัสการออกแบบ (v.) ในนิยาม เป็นกระบวนการในการวางแผนและตัดสินใจว่าสิ่งนั้นจะมีหน้าตาและการทำงานเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่มักมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งการออกแบบที่ดีอาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการในการวางแผนและตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาของผู้คนและบริบทนั้น เพราะฉะนั้นงานออกแบบที่ดีในบริบทหนึ่งอาจไม่ใช่งานออกแบบที่ดีสำหรับอีกบริบทหนึ่งก็เป็นได้ หัวใจสำคัญและเป็นจุดตั้งต้นของงานออกแบบที่ดีจึงมักเริ่มต้นจากการหาโจทย์ที่เฉพาะเจาะจงกับผู้คนและบริบทนั้นให้เจอเมืองออกแบบดี จึงน่าจะเป็นเมืองที่ใช้กระบวนการออกแบบเข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองหรือย่านนั้นๆ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่อาศัย เอื้อต่อความอยู่ดีและให้ความพึงพอใจแก่ผู้คนในสังคมโจทย์ของการออกแบบเมืองจำเป็นต้องเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้คนในสังคม ต่างจากการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ที่ผ่านมาการออกแบบชุมชนเมืองจึงมีวิธีการหลายหลาย ตั้งแต่การศึกษาจิตวิทยาเกี่ยวกับธรรมชาติความต้องการที่มนุษย์ส่วนใหญ่มีเหมือนกันที่มีสาระสำคัญว่าด้วย สภาพแวดล้อมที่ตอบสนองพฤติกรรมของมนุษย์ (Sociogenic Environment) ตลอดจนการวางกระบวนการออกแบบชุมชนเมือง อย่างเป็นระบบยกตัวอย่างโจทย์การออกแบบเมืองหากลองตั้งโจทย์การออกแบบเมือง โดยยกตัวอย่างความต้องการของกลุ่มคนที่เข้ามาให้ความเห็นในเวิร์คชอปย่านพระนคร เกาะรัตนโกสินทร์ และวิเคราะห์ตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ สรุปความได้ว่าทุกกลุ่มต้องการสิ่งที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานด้านกายภาพ (Physiological needs) อย่างความสะดวกสบายในการเดินทาง มีที่จอดรถเพียงพอ มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (Safety & security needs) โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่ต้องการการเข้าถึงพื้นที่ เพิ่มโอกาสในการค้าขาย และการยอมรับของชุมชน (Affiliation needs) ส่วนนักท่องเที่ยวต้องการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ (Cognitive needs) ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวอย่างของข้อคำนึงถึงในการออกแบบสภาพแวดล้อมเมืองให้ตอบโจทย์คนทุกกลุ่มหัวใจในการพัฒนาพื้นที่ ชุมชนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์หากเราเริ่มจากทำความเข้าใจในผู้คนและบริบทนั้นอย่างลึกซึ้ง ตีความปัญหาและความต้องการ ศึกษาข้อมูลและสามารถสรุปออกมาได้เป็นโจทย์และเป้าหมายในการออกแบบเมืองได้แล้ว ถือว่าเป็นขั้นแรกของกระบวนการออกแบบและเป็นหัวใจในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมือง ขั้นตอนการพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างคำตอบหรือทางเลือกในการแก้ปัญหาก็จะสอดคล้องกับความต้องการของผู้คนในสังคมแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมืองออกแบบดีแล้ว คงต้องกลับไปถามความเห็นของผู้คนในพื้นที่นั้น ว่าหลังจากออกแบบเมืองแล้ว เมืองตอบโจทย์ของผู้อยู่ไหม ถ้าดีควรทำต่อไปหรือถ้าไม่ดีควรปรับปรุงตรงไหน อย่างไรเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ เป็นโอกาสในการเชิญชวนทุกคนมาลงมือเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมือง ‘น่าอยู่’ ‘น่าลงทุน’ และ ’น่าเที่ยว’ ที่ ‘น่ารัก’ กับทั้งผู้คนในเมือง นักลงทุน และผู้มาเยี่ยมเยือน โดยที่ไม่ได้อยู่แค่ในทฤษฎี แต่ลงมือทำได้จริง ไม่ว่าใครก็เริ่มต้นทำได้เพราะคนยิ่งทำ เมืองยิ่งน่าอยู่ ชีวิตยิ่งดีอ้างอิง1) กำธร กุลชล (2545) การออกแบบชุมชนเมืองคืออะไร- การติดตามหาคำตอบในรอบ 40 ปี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.2) Oxford Advanced Learner’s Dictionary England (2000) : Oxford University Press.3) Lang, J. (1994) Urban Design; The American Experience. Van Nostrand Reinhold, New York.4) The Stanford d.school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). An Introduction to Design Thinking. Retrieve from https://dschool.stanford.edu/resources/design-thinking-bootlegBangkok Design Week 2024Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design matters27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

Heart Matters – เมืองดีต่อใจ ใส่ใจผู้คน กิจกรรมหลากหลาย วัฒนธรรมแข็งแรง

Heart Matters – เมืองดีต่อใจ ใส่ใจผู้คน กิจกรรมหลากหลาย วัฒนธรรมแข็งแรงเรื่อง : ออพพอร์ทัส | ภาพปก : Urban Allyเมือง ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ หรือพื้นที่ทางกายภาพเท่านั้น เมืองยังเป็นสถานที่ที่ครบเครื่องด้วยความหลากหลายของคนและวัฒนธรรม ตลอดมาตั้งแต่อดีตที่ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเราจะมีเทคโนโลยีในการสื่อสารที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ตลอดเวลา แต่ความสำคัญของความใกล้ชิดในมิติทางสัมพันธ์ยังคงมีความสำคัญ ความใกล้ชิด (Proximity) นั้นแบ่งได้เป็นสองประเภท ความใกล้ชิดทางกายภาพ (Operational Proximity) เกิดขึ้นเมื่อผู้คนอยู่ใกล้ชิดกันในความเป็นจริง และความใกล้ชิดเชิงความสัมพันธ์ (Relational Proximity) ที่แม้ผู้คนไม่ได้อยู่ใกล้กันแต่รู้สึกใกล้ชิดกันและห่วงใยกัน เมื่อสองเงื่อนไขมาเจอกันนั้น จะก่อให้เกิด ความสัมพันธ์ของความห่วงใย (Relationships of care) และอาจกล่าวได้ว่าความใกล้ชิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของความห่วงใย (Proximity is Precondition of care)การสร้างเมืองที่สนับสนุนและสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความใกล้ชิดที่เกิดขึ้นนั้นจะสร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกห่วงใยระหว่างคนในเมือง (Proximity & Care) ได้มากขึ้นอีกด้วยความใกล้ชิดไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะในระยะทาง และไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะกับคนในระยะใกล้ตัว แต่ทุกส่วนของเมืองที่มีคนอาศัยอยู่สามารถเปิดโอกาสให้เกิดความใกล้ชิดและสนับสนุนการช่วยเหลือในทุกสถานการณ์ เช่นพื้นที่สวนสาธาณะที่เปิดโอกาสให้คนที่อาศัยอยู่ใกล้กันมาออกกำลังกายและทำความรู้จักกัน หรือพื้นที่ว่างของชุมชน ที่เด็กๆ มาเล่น ออกกำลังกายกัน หรือแม้แต่จะกลายเป็นพื้นที่จัดงานประจำปีของชุนนั้นๆ และช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคนในชุมชนได้ ดังนั้นการจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการที่เชื่อมโยงกลุ่มคนและส่งเสริมความสัมพันธ์เป็นหนึ่งในวิธีที่เราสามารถสร้างความใกล้ชิดในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ Bangkok Design Week 2024 จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความใกล้ชิดระหว่างคนในเมือง โดยนักออกแบบสามารถนำเสนอกิจกรรมและนิทรรศการที่ส่งเสริมให้ชาวเมืองมีโอกาสในการปฏิสัมพันธ์และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ นอกจากจะเป็นเทศกาลที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่น่าสนใจและสนุกได้ แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แบ่งปันความคิดและความสร้างสรรค์แบบใหม่ๆ ในเมืองที่เติบโตมากขึ้นทุกวันอีกด้วยตัวอย่าง เทรนด์การศึกษารายกรณี ผลงานออกแบบที่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ของคนในเมือง1. งานออกแบบส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองThe Goods LineASPECT Studios ร่วมมือกับ CHROFI เปลี่ยนเส้นทางรถไฟที่ไม่ได้ถูกใช้งานให้กลายเป็น The Goods Line ซึ่งตั้งอยู่บนจุดเชื่อมต่อเมืองในใจกลางซิดนีย์ พื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ทำหน้าที่เป็น “วิทยาเขตสาธารณะ” ที่เชื่อมโยงพื้นที่สำคัญๆ ของเมืองเข้าด้วยกันอย่างราบรื่น ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมชุมชนผ่านศิลปะ วัฒนธรรม และการศึกษาแนวทางใหม่ของนักออกแบบเกี่ยวกับการออกแบบ “ชานชาลา” ที่แตกต่างกันไปตามทางเดินรถไฟยกระดับ โดยนำเสนอพื้นที่ที่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อส่งเสริมการใช้งานหลากหลาย ทั้งกิจกรรมทางวัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ และการเรียนรู้ ด้วยการตีความประวัติศาสตร์ของรางรถไฟใหม่และผสมผสานวัสดุที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟ เช่น คอนกรีต เหล็ก และไม้ โครงการนี้ไม่เพียงแต่ระลึกถึงอดีตเท่านั้น แต่ยังสร้างเอกลักษณ์ที่สดใหม่ให้กับบริเวณนี้ด้วยASPECT และ CHROFI ดำเนินการออกแบบ ทำการสร้างแบบจำลอง และได้นำกระบวนการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปมาใช้งานเป็นจำนวนมาก ด้วยความทะเยอทะยานของพลเมืองและจุดประสงค์เพื่อสาธารณะ The Goods Line ได้รับการวางแผนและดำเนินการอย่างครอบคลุม แผงคอนกรีตสำเร็จรูป การติดตั้งไฟ การเลือกสรรค์พืชพรรณ หรือแม้กระทั่งเก้าอี้สตูลแต่ละชิ้นได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันจนถึงรายละเอียด ผลผลิตที่ได้นั้นเป็นสถานที่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมรูปแบบใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสมากมายในการพบปะ เล่น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเมืองThe goods line ที่มา: https://www.aspect-studios.com/projects/the-goods-line The goods line ที่มา: https://www.aspect-studios.com/projects/the-goods-lineThe goods line ที่มา: https://www.aspect-studios.com/projects/the-goods-line2. งานออกแบบส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชนเก่า Nantou Old Town Preservation and Regenerationต้นปี 2016 ทีมออกแบบและวิจัยของ Urbanus ได้มีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูหนานโถว ตรงกันข้ามกับตำนานเมืองเซินเจิ้นในฐานะ “หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ” แท้จริงแล้วเมืองเก่าหนานโถวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้นมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้มานานกว่า 1,700 ปี การขยายตัวของเมืองนำไปสู่การบูรณาการของหนานโถวภายในหมู่บ้านในเมือง ก่อให้เกิดรูปแบบของเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนUrbanus ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ในขณะเดียวกันก็สร้างชุมชนเมืองที่มีชีวิตชีวาซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่น หนานโถวถูกมองว่าเป็นเมืองมรดกทางประวัติศาสตร์ที่รวบรวมประวัติศาสตร์เกือบสองพันปี โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมและพื้นที่ของเซินเจิ้น หนานโถวกลายเป็นสถานที่หลักในการจัดงาน “2017 Shenzhen-Hong Kong Bi-city Biennale of Urbanism / Architecture” (UABB) ซึ่งแนวคิดเรื่องการแทรกแซงในเมืองสอดคล้องกับการฟื้นฟูเมืองเก่าการออกแบบที่สำคัญ ได้แก่ “Baode Square” บริเวณนี้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่เปิดโล่งเล็กๆ ในใจกลางเมืองเก่า ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่มีชีวิตชีวา ล้อมรอบด้วยอาคารเก่าแก่และโครงสร้างที่อยู่อาศัย มีสนามบาสเก็ตบอลและก่อนหน้านี้มีการใช้งานน้อยในช่วงกลางวันเนื่องจากความร้อน อย่างไรก็ตาม ที่นี่จะมีชีวิตชีวาขึ้นหลังจากฟ้ามืด โดยมีเด็ก ๆ เล่นกันอย่างคึกคักและผู้ใหญ่ก็เข้ารวมกลุ่มกันมากมาย เพิงโลหะสองหลังถูกรื้อออกและแทนที่ด้วยโครงสร้างใหม่ หลังคาได้รับการออกแบบให้มีขั้นบันไดเอียงเพื่อใช้เป็นที่นั่งทั้งสำหรับพักผ่อน ชมการเล่นกีฬา หรือชมการแสดง อาคารต่างๆ ปูด้วยกระเบื้องดินเผาตามที่ถูกออกแบบพิเศษ เพื่อกำหนดขอบเขตของจัตุรัสและเป็นที่ตั้งของศูนย์ข้อมูล ร้านหนังสือ และพื้นที่จัดกิจกรรม ช่วยเพิ่มพื้นที่รวมตัวกันของคนในชุมชนBaode Square หลังจากการปรับปรุง มุมมองจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ที่มา : http://www.urbanus.com.cn/uabb/uabb2017/exhibition-venue-design-concept/?lang=enBaode Square หลังจากการปรับปรุง มุมมองจากด้านบน ที่มา: http://www.urbanus.com.cn/uabb/uabb2017/exhibition-venue-design-concept/?lang=enBaode Square ก่อนการปรับปรุง มุมมองจากด้านบน ที่มา: http://www.urbanus.com.cn/uabb/uabb2017/exhibition-venue-design-concept/?lang=enBangkok Design Week 2024Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design matters27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

Hard Matters – เมื่อเมืองกายภาพดี คนก็ดี

Hard Matters – เมื่อเมืองกายภาพดี คนก็ดี เรื่อง : ออพพอร์ทัสคนร่วมกันสร้างเมืองและกายภาพเมืองก็ช่วยหล่อหลอมผู้คน เมืองที่น่าอยู่ต่อกายและใจจึงเป็นพื้นที่สังสรรค์ชั้นเลิศของการใช้งานหลากวัย จุดประกายความคิดริเริ่ม และสร้างให้ทุกคนรู้สึกยินดีที่จะอยู่อาศัยใช้ชีวิตในเมือง เมื่อเมืองน่าอยู่ เมืองก็น่ารัก สิ่งเหล่านี้ร่วมฟูมฟักความผูกพันและร่วมสร้างพลเมืองที่เอาใจใส่เมือง เมืองน่าอยู่และดีต่อกาย แนวคิดเมืองน่าอยู่ ริเริ่มจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) โดยแต่เดิมใช้คำว่า Healthy city ที่แปลว่า “เมืองสุขภาพดี” หรือ “เมืองสุขภาวะ” แต่เมื่อคำว่าสุขภาพดีนั้นมีความหลากมิติ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความมั่นคงทางใจ จึงมีการใช้คำว่า “เมืองน่าอยู่” (Livable city) ที่หมายถึง เมืองที่ผู้คนอยู่อาศัยได้ดีทั้งต่อกายและใจ เมืองกายภาพดี เข้าถึงง่าย เชื่อมโยงผู้คน ให้อยู่สบาย และมีสุขภาพดี กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างเมือง หลัก 10 ประการของเมืองน่าอยู่ [1] ได้แก่ Human scale การออกแบบให้พอดีกับมนุษย์ กระชับ เป็นมิตร เดินเหินได้ดีChoices ทางเลือกหลากหลายของการอยู่ อาศัย จับจ่าย และพักผ่อนของคนทุกเพศทุกวัยMixed-use กิจกรรมผสมผสานอยู่ในย่านเดียวกัน เมืองมีชีวิตและเป็นมิตรที่ดีUrban centers ซ่อมแซม ฟื้นฟู และเติมเต็มใจกลางเมืองVary transport ให้ความสำคัญกับการเดิน ปั่น และขนส่งสาธารณะVibrant spaces ดึงดูดผู้คนให้มาใช้งานพื้นที่สาธารณะ พบปะ ปฏิสังสรรค์ มีส่วนร่วมIdentity สร้างสำนึกต่อถิ่นที่ (Sense of place) มีอัตลักษณ์ สร้างความภูมิใจEnvironment สมดุลระหว่างสิ่งที่มนุษย์สร้างกับธรรมชาติ อนุบาลพื้นที่สีเขียวและแหล่งน้ำLandscape การอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม สร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับเมืองDesign matters การออกแบบช่วยเพิ่มความน่าอยู่ สร้างเมืองให้ดี คนก็ดีด้วยคุณภาพชีวิต เล็ก ๆ ค่อยทำ แม้ว่าเมืองน่าอยู่จะเกี่ยวข้องกับมิติจำนวนมากของกายภาพเมือง แต่การทำให้เกิดขึ้นจริงนั้นอาจจะเริ่มต้นที่กระบวนการเล็ก ๆ ในพื้นที่เล็ก ๆ เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมสร้างความน่าอยู่ให้เกิดขึ้นในจุดหนึ่ง แล้วเชื่อมโยงไปยังจุดอื่น ๆ ที่มิตรเมืองร่วมทำ ร่วมสะสม ร่วมต่อเนื่อง และเชื่อมโยงจนเป็นโครงข่ายย่านเมืองน่าอยู่ เมืองที่ดีต่อกาย ไม่ได้ชี้วัดจากเพียงแค่ทางกายภาพแต่บ่งชี้ได้ทางใจ เมืองที่เหมาะสมต่อ “การอยู่” ชี้วัดได้จากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพอากาศ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ความปลอดภัยและมั่นคง การเข้าถึงสถานที่ดูแลสุขภาพและพื้นที่เรียนรู้ แต่การชี้วัดเมืองน่าอยู่ที่ใกล้ตัวกว่านั้นคือทางใจ ด้วยคำถามง่าย ๆ ที่อาจนำไปสู่การสร้างทางเลือกใหม่ เช่น สิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัว การรับรู้ถึงจิตวิญญาณและความเป็นมาของละแวกบ้าน [2] ความรู้สึกเหล่านี้เป็นผลสะท้อนจากการใช้งานกายภาพเมือง เมืองน่าอยู่ที่ดีต่อกาย จึงควรเริ่มสร้างจากสิ่งเล็ก ๆ แต่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่ช่วยสร้างความหมายให้แก่คำว่า “น่าอยู่” ให้เกิดการตีความร่วมกันของกลุ่มคนและชุมชนในละแวก ปรับเปลี่ยนสิ่งเดิมหรือที่ใช้งานน้อยให้กลับมาเติมเต็มคุณภาพชีวิต ทั้งพื้นที่ว่างเปล่า ตรอก ซอก ซอย อาคารเก่า พื้นที่ทิ้งร้าง หรือสถานที่ใด ๆ จากนั้นเชื่อมโยงแต่ละสิ่งที่น่าอยู่ด้วยการเข้าถึงกันและกัน ขยายจนเป็นโครงข่ายเมืองที่ดี ให้เกิดขึ้นบนความท้าทายใหม่ของกรุงเทพ ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ แต่ควรใส่ใจและหาความเป็นไปได้ใหม่ในกายภาพเดิม น่าอยู่ที่เท่ากัน นักสร้างสรรค์ผลิตผลงานเพื่อชาวเมือง แล้วถ้าแต่ละคนแตกต่างกันล่ะ เราจะรังสรรค์ความน่าอยู่ให้คนทั้งมวลได้อย่างไร เมืองเป็นพื้นที่ชุมนุมทางความคิด การใช้งาน และความต้องการของคนต่างเพศ ต่างวัย ต่างสังคม ความ “น่าอยู่” และ “กายดี” ของเมืองจึงต้องตอบสนองคนทุกคนอย่างเท่าเทียม (Inclusiveness) เห็นความสำคัญในความหลากหลายของมนุษย์ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงสิ่งบริการต่าง ๆ ใส่ใจกลุ่มเปราะบางดีเท่ากับการต่อยอดกลุ่มที่เข้มแข็ง ทุกคนเท่าเทียมกันการอยู่ในเมือง เมืองน่าอยู่ที่เท่ากัน คือการเชื้อเชิญให้ทุกคนเข้าถึงเมืองกายภาพดี ร่วมมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งเด็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และผู้สูงวัย ได้รับประสบการณ์ที่ดีกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ได้ใช้งานพื้นที่สาธารณะที่มีชีวิต เดินเท้าเข้าถึงได้ นั่งพัก เอนหลัง และชื่นชมกิจกรรมเมือง ที่เปิดให้คนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัยมีประสบการณ์ได้อย่างเท่าเทียม [3] [4] ดีไซน์ความใกล้ ใส่ใจสารทุกข์สุขดิบ เมืองน่าอยู่แล้วรักเลยไหม เส้นแบ่งบาง ๆ ของคำตอบคือ “ความใกล้” สิ่งที่จะบ่มเพาะให้คนได้ประโยชน์จากเมืองน่าอยู่คือการเข้าถึงสิ่งเหล่านั้นได้ในระยะทางประจำวัน เมืองพอดี (City of proximity) คือกุญแจสำคัญของการทำให้เมืองกายดีที่น่าอยู่ และเท่าเทียมกับคนทุกกลุ่ม ความใกล้ก็คือระยะทางการเข้าถึงสิ่งบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม พื้นที่ และแหล่งชุมนุมชน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ในละแวกบ้าน ด้วยการเดินเท้าชีวิตประจำวันทั่วไปของพวกเขาเอง งานออกแบบที่ถูกออกแบบให้อยู่ใกล้ จึงเป็นวิสัยทัศน์ที่ช่วยให้ทุกคนมีสิทธิอย่างเท่ากัน ยุติธรรม มีคุณภาพ และมีสุขภาพดี มิติของความใกล้ยังเป็นการแทรกแซงและหนุนเสริมคุณภาพชีวิตเมือง ให้เมืองน่าอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะอยู่ใกล้จึงเท่าเทียม เมืองน่าอยู่ที่ลดทอนลงเป็นพื้นที่น่าอยู่ที่อยู่ใกล้ ๆ ตัว ความน่าอยู่ที่พบเจอได้ตั้งแต่หน้าบ้าน ซอย ชุมชน ละแวกบ้าน ย่านและเมือง การใส่ใจสารทุกข์สุขดิบ มีสินค้า บริการ กิจกรรมที่ตอบทุกความต้องการ ส่งเสริมการเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เชื่อมโยงผู้คนหลากหลายให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน เกิดการแลกเปลี่ยน ลงมือทำสิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัว ให้กรุงเทพมหานครเป็น “เมืองกายดีที่น่าอยู่” คนยิ่งทำ เมืองยิ่งน่าอยู่ ชีวิตยิ่งดี เราจึงชักชวนทุกคนมาร่วมทำเมืองให้ดี ทำทีละเล็ก เชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายที่น่าอยู่ สร้างความเท่าเทียม ให้เมืองดีต่อกายเป็นบ่อเกิดของความรักที่ทุกคนอยากเอา “ใจ” ใส่ลงใน “เมือง” อ้างอิง[1] American Institute of Architects (AIA). (2023). 10 Principles for Livable Communities. Retrieved from https://modestoartmuseum.files.wordpress.com/2017/04/liv_10principles_flyer-1.pdf[2] Oxford Big Ideas Humanities. (2023). Unit 2 Place and liveability: Liveable cities. Retrieved from https://www.oup.com.au/__data/assets/pdf_file/0030/58179/Chapter-5-Liveable-cities.pdf[3] Cities for All. (2019). Inclusive and Accessible Cities. Retrieved from https://www.uclg.org/sites/default/files/inclusive_accessible_cities_policypaper.pdf[4] Asian Development Bank. (2022). Inclusive Cities: Urban Area Guideline. Retrieved from https://www.adb.org/sites/default/files/publication/776806/inclusive-cities-urban-area-guidelines.pdfBangkok Design Week 2024Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design matters27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape