BANGKOK DESIGN WEEK 2024, 27 JAN–4 FEB

อัพเดทและเที่ยวชมงาน

‘สำรับบ้านครัว’: เปิดบ้านชุมชนมุสลิมเก่าแก่

‘สำรับบ้านครัว’: เปิดบ้านชุมชนมุสลิมเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยของอร่อยและประวัติศาสตร์แขกจามไม่ไกลจากแหล่งรวมวัยรุ่นอย่างสยามสแควร์เป็นที่ตั้งของ ‘ชุมชนบ้านครัว’ ชุมชนมุสลิมเก่าแก่เชื้อสายแขกจามอายุกว่า 235 ปี ซึ่งพี่ติ๋ม – สุพิชฌาย์ วงศ์ยุติธรรม ประธานกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนบ้านครัว และรองประธานอนุสตรีประจำมัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ ให้คำนิยามชุมชนที่เธออยู่มาตั้งแต่เกิดว่า “พวกเราคือชาวจามและเป็นนักสู้” หากย้อนประวัติศาสตร์กลับไปสมัยต้นรัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษของชาวชุมชนบ้านครัวคือ ‘กองอาสาแขกจาม’ ที่ร่วมรบปกป้องดินแดนสยามในสงครามเก้าทัพ จึงได้รับพระราชทานที่ดินจากรัชกาลที่ 1 และเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐานบริเวณเชิงสะพานเจริญผลมาจนถึงปัจจุบัน เวลาต่อมาชาวชุมชนบ้านครัวต้องลุกขึ้นต่อสู้อีกครั้ง เพื่อปกป้องบ้านของตนจากการถูกเวนคืนพื้นที่สร้างทางด่วนซึ่งยืดเยื้อยาวนานถึง 28 ปี และปัจจุบันพวกเขาก็กำลังต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ที่ค่อยๆ กลืนกินวิถีชีวิตดั้งเดิมให้สูญหาย จึงเกิดเป็นโครงการฟื้นฟูคุณค่าพัฒนาชุมชนที่ทางสถาบันอาศรมศิลป์ทำร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และต่อยอดมาสู่กิจกรรมเปิดบ้านต้อนรับผู้มาเยือนทุกศาสนาทุกความเชื่อที่สนใจศึกษาเรียนรู้อัตลักษณ์ของชาวชุมชนบ้านครัว สัมผัสเสน่ห์ชุมชนเก่าและเรื่องราวเล่าขานกิจกรรม ‘สำรับบ้านครัว’ ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันระหว่างคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, สถาบันอาศรมศิลป์, อุทยานการเรียนรู้ TK Park, GalileOasis และชุมชนบ้านครัว โดยมีทั้งหมด 18 โปรแกรมที่นำเสนอทั้งนิทรรศการ การแสดงศิลปวัฒนธรรม เวิร์กชอปทำอาหาร ทัวร์นำเที่ยว และสำรับอาหารพื้นถิ่นมุสลิมจาม ไฮไลต์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือกิจกรรม ‘เดินเที่ยว…ย้อนรอยตำนานผ้าไหมบ้านครัว’ ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า ยุคแรกเริ่มที่ ‘จิม ทอมป์สัน’ ก่อตั้งธุรกิจผ้าไหม ช่างทอผ้าในชุมชนบ้านครัวคือกำลังสำคัญที่ทำให้ผ้าไหมไทยมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยพี่ติ๋มบอกเล่าว่า “ตอนพี่ติ๋มเป็นเด็กเดินไปตรงไหนก็จะได้ยินเสียงกี่กระตุกจากการทอผ้าไหม พายเรือผ่านจะเห็นโรงย้อมตากไหมหลากสีสัน เราเลยนำเรื่องราวนี้กลับมาเล่าใหม่อีกครั้ง พี่ติ๋มดีใจนะที่มีคนมาเดินทัวร์กับเรา แล้วเขากลับมาทำเวิร์กชอปอีก มีคนนึงมาสามวันเลยเขาบอกว่าอาหารอร่อย ผู้คนอบอุ่นน่ารัก เวลาพาเดินทัวร์เราใส่ชุดชาวจามนุ่งผ้าถุงคลุมฮิญาบ ร้องเพลงสนุกสนานเป็นกันเอง แล้วพอเขากลับมาอีกครั้ง เขาก็ใส่ผ้าปาเต๊ะมาให้เข้ากับเราด้วย” “เราต้อนรับทุกคนแบบเป็นธรรมชาติ เล่าประวัติศาสตร์ในสไตล์เรา พาไปกินอาหารและขนมที่ไม่เหมือนที่อื่น มีทั้งข้าวแขก แกงส้มเขมร บอบอสะแด๊ก ก๋วยเตี๋ยวแกง น้ำอินทผลัม” พี่ติ๋มบรรยายถึงเมนูบางส่วนที่จัดเสิร์ฟในช่วงเทศกาล โดยมีการนำเสนอ ‘สำรับบ้านครัว’ ทั้งบริเวณงานระดมทุนการกุศลประจำปีที่มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ เรือนแม่ทรัพย์ ร้านอาหารไทยมุสลิมในเรือนไม้เก่าอายุ 200 กว่าปี ร้านบังมินที่สืบทอดสะเต๊ะสูตรเด็ดกันมานับร้อยปี และร้านอื่นๆ อีกมากมายที่กระจายตัวอยู่ทั่วชุมชนอันรุ่มรวยทางวัฒนธรรมอาหารแห่งนี้ ส่วนในแง่ของการพัฒนาชุมชน โปรแกรมสำรับบ้านครัวยังมี Youth Photo Exhibition ‘Signature of Bankrua’ ที่อุทยานการเรียนรู้ TK Park ร่วมกับ The Momentum ชวนเด็กๆ ในชุมชนมาจัดนิทรรศการภาพถ่าย และต่อยอดไปสู่การจัดวงเสวนาเรื่องเล่าหลังภาพถ่าย โดยพี่ติ๋มมองว่ากิจกรรมนี้ไม่ใช่แค่การปลูกฝังให้เยาวชนมีความรู้สึกผูกพันกับชุมชนเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใหญ่ได้รับรู้ด้วยว่าเด็กมองภาพชุมชนของตัวเองยังไง ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญในการสร้างกระบวนการส่งต่อชุมชนให้กับคนรุ่นต่อไป เปิดประตูสู่พื้นที่ใหม่เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกจากกิจกรรมหลักส่วนใหญ่ที่กระจายตัวอยู่รอบชุมชนบ้านครัวแล้ว ยังมีอีก 4 โปรแกรมที่ขยับขยายมาจัดบริเวณ GalileOasis ครีเอทีฟสเปซเพื่อนบ้านของชุมชน ได้แก่ ตลาดแห่งศรัทธา, เวิร์กชอปสอนเขียนอักษรอารบิก, มุสลิม มุ-สลิม YOGA คลาสโยคะสำหรับคนในชุมชน และนิทรรศการศิลปะ กาล(ะ) | สถาน(ะ) ซึ่งนับเป็นการเชื่อมประสานพื้นที่ทำกิจกรรมที่เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ากับการวัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยดา – ณัฐพร ธนะไพรินทร์ ผู้ดูแลกิจกรรมประจำ GalileOasis บอกเล่าถึงการทำโปรเจกต์ร่วมกับชุมชนบ้านครัวว่า “เราอยากให้คนในชุมชนรู้สึกว่าเขาสามารถมาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้ ก่อนหน้านี้เราก็เคยชวนร้านในชุมชนมาขายของในโครงการ แนะนำลูกค้าที่เช่าสถานที่ให้ใช้บริการของว่างจากชุมชน และในดีไซน์วีคเราก็มีตลาดแห่งศรัทธา ซึ่งปกติกาลิเลโอจัดตลาดทุกเดือนอยู่แล้วโดยเปลี่ยนธีมไปไม่ซ้ำกัน เดือนที่มีเทศกาลดีไซน์วีคเราเลยจัดธีม ‘ตลาดแห่งศรัทธา’ เพราะเรามองว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชนบ้านครัวเป็นมุสลิม แต่ละแวกโดยรอบก็มีผู้คนหลายความเชื่อหลายศาสนา เลยลองทำเป็นตลาดที่รวบรวมสินค้าสายมูทุกความเชื่อ และเชิญร้านขนมของพี่ๆ ในชุมชนบ้านครัวเข้าร่วมมาด้วย” “หรืออย่างกิจกรรม มุสลิม มุ-สลิม YOGA เราก็ต้องการเน้นให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจริงๆ ที่มัสยิดเขามีการออกกำลังกายอย่างโยคะ แอโรบิกกันอยู่แล้ว แต่กลุ่มพี่ๆ ที่มาเข้าร่วมจะค่อนข้างใหม่กับการเล่นโยคะและปกติไม่ค่อยออกกำลังกาย เราเลยอยากชวนเขามายืดเส้นยืดสาย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการออกกำลังกายโดยไม่ขัดต่อหลักศาสนา แล้วเราก็มีเสื่อโยคะให้เขานำกลับไปฝึกต่อที่บ้านด้วย” “ส่วนเวิร์กชอปเขียนอักษรอารบิกจะสอนโดยพี่ป่องจากชุมชนบ้านครัว ซึ่งในมุมนึงวิทยากรเขาก็ได้มาสัมผัสมุมมองใหม่ๆ จากวัยรุ่น ส่วนคนที่มาเรียนก็ได้รู้จักภาษาใหม่ที่ไม่คุ้นเคยและได้ฝึกสมาธิ เพราะพี่ป่องเขาจะสอนตัดสติกเกอร์ด้วย หรือถ้าเป็นคนที่เรียนดีไซน์มาก็สามารถนำสิ่งนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานไทโปหรืองานออกแบบอื่นๆ ได้ สามารถมองให้เป็นงานศิลปะได้” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/BankruaOfficial–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

Bangkok​ Design​ Week​ x​ ผู้ขับเคลื่อน​ย่านทั้ง​ 12​ ย่าน​ x​ กทม.

ทีมจัดงาน Bangkok Design Week 2024 ระดมกำลังจัดเตรียมงานใหญ่อย่างแข็งขัน โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA – Creative Economy Agency ได้จัดการประชุมครั้งแรกร่วมกับกทม. เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเทศกาลสุดคึกคักใน 12 ย่านหลัก และย่านอื่นๆ รวม 13 ย่านทั่วกรุงเทพฯในปีนี้เราจะได้เห็นผลงานจากนักออกแบบและคนทำงานสร้างสรรค์หลากหลายสาขาอาชีพ ที่ศึกษาโจทย์ของเมืองและนโยบายกทม. เพื่อนำมาเป็นไอเดียตั้งต้นในการสร้างสรรค์งานออกแบบให้สอดคล้องกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้กับเมือง ซึ่งแต่ละโปรแกรมจะได้ทดลองติดตั้งในพื้นที่จริง เปิดโอกาสให้ชุมชนโดยรอบและผู้มาเที่ยวชมงานได้มีส่วนร่วมในการทดลองใช้และให้ฟีดแบคเพื่อการพัฒนา ในปีนี้ เรามั่นใจได้ว่า บรรยากาศสุดคึกคักของเทศกาลฯ โอบล้อมทั่วกรุงเทพฯ อย่างแน่นอน เพราะทางกทม. สนับสนุนโดยการให้สำนักงานเขตในแต่ละย่านช่วยประสานงานกับกลุ่มผู้ขับเคลื่อนย่าน เพื่อให้คำแนะนำการติดตั้งผลงานในพื้นที่สาธารณะ สนับสนุนเรื่องพื้นที่จัดงาน รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ในการจัดเทศกาลฯ และเพื่อให้ข่าวสารของ Bangkok Design Week แพร่กระจายไปสู่ผู้คนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ทางกทม.ยังพร้อมช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ผ่านสื่อของกทม.ตลอดระยะเวลาการจัดเทศกาล นับว่าเป็นความร่วมมือที่จะส่งผลดีทั้งต่อผู้จัดกิจกรรมและผู้ที่สนใจมาเยี่ยมชมงานไม่ใช่แค่นักออกแบบและหน่วยงานต่างๆ เท่านั้นที่สามารถมีส่วนร่วมกับเทศกาลนี้ได้ แต่ทุกคนสามารถร่วมกันค้นหาแรงบันดาลใจ เพื่อลงมือเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่ น่าลงทุน และน่าเที่ยว ไปพร้อมๆ กับเราได้ รอติดตามกันได้เลยว่าเมืองของเราจะดียิ่งขึ้นได้ด้วยแนวคิดและวิธีการอะไรบ้างBangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

CHANGE by CEA MARKET Open Call

CHANGE by CEA Market Open Call for Vendorเปิดรับสมัครร้านค้าที่มีสินค้าสุดครีเอต มาร่วมออกตลาดสร้างสรรค์ใน Bangkok Design Week 2024Apply Now – 22 Dec 2023ครั้งแรกกับการเปิดตลาด CHANGE by CEA Market CHANGE by CEA  ขอเชิญชวนร้านค้าและผู้ประกอบการเข้าร่วมออกตลาด ภายในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) ในวันที่ 27 – 30 มกราคม 2567 เวลา 11.00 – 22.00 น. ณ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรักหากคุณมีสินค้าสร้างสรรค์ใน 5 หมวดดังต่อไปนี้ อย่าพลาดโอกาสได้รับคัดเลือกเป็นส่วนหนึ่งในตลาด CHANGE by CEA Market 1. Scent & Sensibility ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม น้ำหอม เทียน ฯลฯ เพื่อการสร้างบรรยากาศห้อง/สถานที่2. Trendy Fashion & Accessories  สินค้าไลฟ์สไตล์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ กระเป๋าอินเทรนด์3. Pet-Friendly Heaven สินค้าเพื่อสัตว์เลี้ยงสุดเลิฟ 4. Hobby Happiness  ไอเท็มเพื่องานอดิเรกฮีลใจ ประกอบด้วยHome Decor ของแต่งบ้านขนาดเล็ก/ใหญ่Music & Board Game สินค้าเกี่ยวกับดนตรี/เกมStationery สินค้าเครื่องเขียน ของใช้กระจุกกระจิก5. Wish Me Luck  สินค้าเสริมดวง โชคลาภ และบริการทำนายดวงชะตา_____สำหรับร้านค้าที่สนใจสามารถดูวิธีการสมัครเข้าร่วมโปรแกรมตลาดได้ที่ PDF Fileและสมัคร ได้ที่ bangkokdesignweek.com/applyเปิดรับสมัครวันนี้ – 22 ธันวาคม 2566  นี้ เท่านั้น!ประกาศรายชื่อร้านค้าที่ผ่านการคัดเลือกวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ทาง facebook.com/CHANGE by CEA_____สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CHANGE by CEA Market ได้ที่ cbd@cea.or.th

เมืองสร้างเรา - เราสร้างเมือง

เมืองสร้างเรา – เราสร้างเมือง :เมื่อเมืองทำให้เราป่วย เครียด เหงา เราจะทำอะไรได้บ้าง ?เวลาเดินทางไปต่างประเทศ หรือมีโอกาสได้พบเจอผู้คนจากเมืองอื่นๆ ในโลก เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมคนจากต่างเมือง ถึงได้มีวิถีชีวิต บุคลิก หรือมุมมองความคิดแตกต่างกันอย่างเหลือเชื่อทำไมคนเมืองนี้ถึงดูแข็งแรง สุขภาพกายดีกว่าเราที่อายุเท่ากันแบบถนัดตา ทำไมคนบางเมืองถึงดูสุขภาพจิตดี มีอารมณ์ขัน ในขณะที่คนกรุงเทพฯ อย่างเราทั้งเครียดทั้งเหงา หรือทำไมคนบางเมืองใส่ใจกับบางเรื่อง ที่คนในเมืองของเราอาจไม่เคยให้ความสำคัญก่อนเดินทางไปถึงเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2567 เราอยากชวนมองเส้นความสัมพันธ์ระหว่าง ‘คน’ และ ‘เมือง’ ผ่าน 3 เรื่องราวที่ฉายให้เห็นว่า เมืองสร้างเรามากกว่าที่เราคิด เพราะเมืองไม่ใช่แค่พื้นที่ใช้ชีวิต แต่เมืองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบความคิด วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ เศรษฐกิจ และสังคม และในทางกลับกัน คนก็มีบทบาทสำคัญในการร่วมก่อร่างสร้างเมืองให้ดีขึ้นได้เช่นกัน เราจะถอดบทเรียนเหล่านี้มาเปลี่ยนแปลงเมืองที่เราอยู่อย่าง ‘กรุงเทพมหานคร’ ให้ดีต่อกาย ดีต่อใจ และน่าอยู่มากขึ้นได้อย่างไร ?สุขภาพดีได้ ด้วยการเปลี่ยนเมืองทำไมฉันถึงป่วยบ่อย เพราะสุขภาพไม่ดี หรือเมืองมันไม่ดีกันแน่นะ ? ตั้งแต่เราลืมตาตื่น เรากำลังสูดหายใจเอาอากาศของเมือง เดินไปทำงานบนฟุตบาธของเมือง ขากลับบ้านแวะพักผ่อนในสวนสาธาณะของเมือง ในหนึ่งวัน ร่างกายของเราปฏิสัมพันธ์กับเมืองมากกว่าที่คิด นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า เมืองคือปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ในการกำหนดสุขภาพกายของคนอยู่หลายปีก่อน เมืองบาร์เซโลนา (Barcelona) ประเทศสเปน เคยประสบปัญหามลภาวะทางอากาศจนส่งผลกระทบให้สุขภาพของคนในเมืองย่ำแย่ หลากหลายภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนในย่าน Eixample จึงลุกขึ้นปักหมุดให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลาสิบปี ด้วยการสร้างจัตุรัสสาธารณะ 21 จุด ให้ชาวเมืองทุกคนเข้าถึงสวนสาธารณะขนาดเล็กได้ในระยะทางไม่เกิน 200 เมตรนอกจากเปลี่ยนเมือง ยังเปลี่ยนที่คนด้วยการส่งเสริมให้คนเดินเท้าและปั่นจักรยานแทนการใช้รถยนต์ นอกจากจะทำให้มลภาวะลดลง ยังเอื้อให้คนมีสุขภาพกายที่ดีขึ้นผ่านการเดินและพื้นที่ออกกำลังกายที่เพียงพอ สิ่งที่ตามมาก็คือสุขภาพกายและใจดีขึ้น ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากขึ้น และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจตามมา โดยโครงการนี้คาดว่าจะสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2030 ต้องลองติดตามกันดูว่าเมืองที่เปลี่ยนไป จะเปลี่ยนผู้คนให้สุขภาพกายดีขึ้นอย่างไรได้บ้างทำเมืองที่รักคน ทำคนให้รักเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ ‘ความเหงา’ เป็นภัยคุกคามทางสาธารณสุขของโลก แล้วเราเคยสังเกตมั้ยว่า เมืองที่เราอยู่ สัมพันธ์กับความโดดเดี่ยว ความเครียด และสุขภาพใจของเราในภาพรวมยังไง ? สิงคโปร์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่พร้อมด้วยจุดแข็งเรื่องเศรษฐกิจและนวัตกรรม แถมยังพร้อมด้วยผังเมืองที่เอื้อให้สุขภาพกายแข็งแรง แต่กลับกัน สิ่งที่ขาดหายไปเมืองนี้คือการปฏิสัมพันธ์ของผู้คนและความผูกพันระหว่างคนกับเมือง ด้วยความที่กิจกรรมส่วนใหญ่ในเมืองเน้นหนักไปที่เรื่องเศรษฐกิจ และไม่มีวัฒนธรรมร่วมให้คนในเมืองรู้สึกเชื่อมโยงกัน ซึ่งปรากฎการณ์นี้กำลังส่งผลกับสุขภาพใจของคนในเมืองอย่างช้าๆ โครงการ Loveable Singapore Project จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความผูกพันระหว่างคนกับคน และคนกับเมืองให้แข็งแรง ผ่านคอนเซ็ปต์ที่ว่า “เราจะส่งต่อความรักให้กับเมืองได้อย่างไร” ด้วยการเปิดพื้นที่ให้คนทุกช่วงวัยได้มีช่วงเวลาดีๆ ผ่านหลากหลายกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศแห่งความสุขให้เกิดขึ้นในเมือง เช่น นิทรรศการในตึกเก่าที่จัดแสดงสิ่งของแห่งความทรงจำที่ทำให้เกิดความรู้สึกเชื่อมโยงจากรุ่นสู่รุ่น, การจัดเวิร์กช็อปด้านการออกแบบในชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนกันว่า “เรารักอะไรในสิงคโปร์ และอะไรที่จะทำให้เรารักเมืองนี้มากขึ้น” โปรเจคต์นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนในเมืองเริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ต่อกันและต่อเมือง ที่ในระยะยาวอาจต่อยอดให้เกิดวัฒนธรรมที่แข็งแรงและส่งผลดีกับสุขภาพใจของคนได้ไม่มากก็น้อยคนต่อยอด เมืองเติบโต ด้วยการออกแบบเมื่อเราอยู่ในเมืองที่ดีพร้อมทั้งกายและใจ สเต็ปต่อไปคือการต่อยอดให้ทั้งเราและเมืองเติบโตขึ้น และหนึ่งหัวใจสำคัญที่จะทำให้เมืองไปได้ไกลขึ้น คือ ‘การออกแบบ’เมืองอะซาฮิกาวา (Asahikawa) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นจากการมีชื่อเสียงด้านป่าไม้เป็นทุนเดิม และนำการออกแบบมาส่งเสริมจุดแข็งนี้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ภายใต้แนวคิด Forest of Design เช่น จัดการแข่งขันออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากไม้เพื่อกระตุ้นให้คนในเมืองเห็นความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือจัดพื้นที่สร้างเป็นวิทยาเขตศึกษางานออกแบบใจกลางเมือง เพื่อบ่มเพาะคนในเมืองให้มีพื้นฐานความคิดด้านการออกแบบและเห็นคุณค่าของป่าไม้ไปด้วยกัน ทั้งหมดนี้ทำให้อะซาฮิกาวาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก สาขาการออกแบบ ในปี 2019 และกลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่คนที่สนใจด้านการออกแบบและงานไม้จากทั่วโลกต้องเข้าไปศึกษาจาก 3 เรื่องราวของเมืองที่ทำให้กายดี เมืองที่ทำให้ใจดี และเมืองที่ไปได้ไกลขึ้นด้วยการออกแบบ สิ่งหนึ่งที่ทุกเมืองมีเหมือนกันคือการที่ทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และผู้คนในเมืองต่าง ‘ขยับ’ และลงมือทำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กัน หากคุณมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘เมืองน่าอยู่’ ยิ่งขึ้นกว่าเดิม เตรียมพลังความคิดสร้างสรรค์ไว้ให้พร้อม Bangkok Design Week ในฐานะแพลตฟอร์มทางความคิดสร้างสรรค์และการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านเมือง (Festivalisation) ขอทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้คนและหน่วยงานต่างๆ ที่มีความสนใจร่วมพัฒนาเมืองในแบบที่เราอยากใช้ชีวิตไปด้วยกัน ซึ่งทุกคนสามารถลงมือทำได้โดยริเริ่มจากสิ่งเล็กๆ รอบตัว เพียงแค่ปรับเปลี่ยนมุมมองและมีความตั้งใจอยากช่วยพัฒนาสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม เท่านี้คุณก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ได้แล้ว–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

‘เมืองน่าอยู่’ ได้ด้วย 3 หัวใจสำคัญ

ในโอกาสที่เทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2567 กำลังจะกลับมาในธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ เราอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ 3 หัวใจสำคัญที่จะเปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่ารัก ที่ทั้งน่าอยู่ น่าลงทุน และน่าเที่ยวมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งประกอบไปด้วยHARD MATTERS : เมืองดีต่อกาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาวะของคนในเมือง อาศัยอยู่แล้วไม่ป่วยง่าย มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอายุยืนยาวอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/content/67490HEART MATTERS : เมืองดีต่อใจ ใช้ชีวิตแล้วไม่เครียด ไม่เหงา ไม่เศร้า เป็นเมืองที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์หลากหลาย ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล และมีวัฒนธรรมชุมชนที่แข็งแรงอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/content/67508DESIGN MATTERS : เมืองออกแบบดี ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดสองปัจจัยแรกนั่นคืออยู่แล้วสุขภาพดีและมีความสุข รวมถึงเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการต่อยอดพัฒนาให้เติบโตทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/content/67509มาร่วมกันตั้งคำถามและค้นหาคำตอบไปพร้อมกันว่า “เราจะทำเมืองให้น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไรบ้าง?” ในเทศกาลฯ ที่กำลังจะมาถึงนี้–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024 #BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

การประชุมเตรียมความพร้อมสู่งาน Bangkok Design Week 2024

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA จัดการประชุมออนไลน์เนื้อหาเข้มข้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเหล่านักสร้างสรรค์ผู้ร่วมจัดงาน Bangkok Design Week 2024 ใน 12 ย่านหลัก และย่านอื่นๆ รวม 13 ย่านทั่วกรุงเทพฯ โดยงานนี้นอกจากจะเป็นการพบปะหารือและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่างๆ แล้ว ยังมี Creative Business Charger Session กิจกรรมสุดพิเศษที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ให้กับผู้จัดแสดงงาน ในหัวข้อสำคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ 4 เรื่อง จาก 4 ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่1. Trend 2024: REMADE ANEW สำรวจแนวโน้ม ความท้าทาย และความเคลื่อนไหวของภาคธุรกิจสร้างสรรค์ รวมถึงเจาะลึกเทรนด์ไลฟ์สไตล์หลากหลายมิติที่กำลังจะเกิดขึ้น2. Up Skill with Canva เรียนรู้ฟีเจอร์ใหม่ของแพลตฟอร์มผลิตสื่อยอดนิยม ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับการทำคอนเทนต์และการโปรโมตธุรกิจ3. การตลาดยุคใหม่ x มูเต (Muketing) เพิ่มความปังมัดใจผู้บริโภคด้วยการนำศาสตร์มูเตลูมาเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ทางการตลาดสุดเจ๋ง4. รู้ทันเรื่องลิขสิทธิ์ นักสร้างสรรค์มีสิทธิ์ไหมคะ? ไขข้อสงสัยและทำความเข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ใกล้ถึงเวลาแล้วที่ผู้ร่วมจัดเทศกาลฯ จากทั่วทุกมุมของกรุงเทพฯ จะได้ปลดปล่อยศักยภาพผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบมากกว่า 500 โปรแกรม รอติดตามกันได้เลยว่า แต่ละไอเดียในการสร้าง ‘เมืองน่าอยู่’ จะเจ๋งแค่ไหน–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

‘เทศกาล’ ช่วยขับเคลื่อนเมืองให้ดีขึ้นได้จริงหรือ?

หลายคนที่ติดตาม Bangkok Design Week มาตลอด อาจมีคำถามอยู่ในใจว่า ‘การจัดเทศกาล’ ที่เกิดขึ้นในทุกปี นอกจากช่วยแต่งเติมชีวิตชีวาให้กับเมืองและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายในชุมชนในช่วงเวลาที่จัดงานแล้ว ยังมีประโยชน์อะไรอีก?ก่อนจะเดินทางไปถึง Bangkok Design Week ในปีนี้ เราขอชวนมาทำความรู้จักกับคำว่า ‘Festivalisation’ หรือการนำแนวคิดและวิธีสร้างประสบการณ์แบบเทศกาลมาใช้ในการขับเคลื่อนเมือง โดยมีเป้าหมายคือสร้างประโยชน์ที่ยั่งยืนหลังจบเทศกาล โดยไม่ใช่เพียงอีเวนต์รายครั้งที่จัดแล้วจบไป แต่ช่วยจุดประกายให้ผู้คนและย่านเกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อในระยะยาว ซึ่งเป็นสิ่งที่ Bangkok Design Week ทำมาโดยตลอด ‘เทศกาล’ ช่วยปลุกชีวิตพื้นที่ทิ้งร้างด้วยเรื่องราวใหม่หนึ่งในวิธีการของเทศกาลคือสร้างประสบการณ์ใหม่ให้พื้นที่เดิม หลายปีที่ผ่านมามีพื้นที่มากมายในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจ แต่กลับถูกปล่อยละเลยไว้อย่างน่าเสียดาย หนึ่งในนั้นคือหอเก็บน้ำประปาแห่งแรกในประเทศไทยบริเวณแยกแม้นศรีที่ถูกทิ้งร้างมานานกว่า 20 ปี ทว่าพื้นที่แห่งนี้กลับมีคุณค่าน่าสนใจอย่างมากในเชิงประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม โปรเจกต์ ‘ประปาแม้นศรี’ โดยกลุ่ม Urban Ally เปิดพื้นที่ให้คนในย่านและนอกย่านได้มามีปฏิสัมพันธ์กัน และใช้แนวคิด Festivalisation ในการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่พื้นที่สาธารณะในเมืองที่ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม โปรเจกต์นี้นอกจากจะทำให้พื้นที่ทิ้งร้างได้รับการปลุกชีวิตขึ้นมาใหม่ในช่วงวันงาน ยังทำให้หลายคนเห็นศักยภาพของพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ในฐานะหมุดหมายสำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมกรุงเทพกลางแปลง ที่นอกจากจะช่วยดึงดูดผู้คนและเปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับย่านแล้ว ยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างความผูกพันระหว่างคนกับเมืองได้มากทีเดียว‘เทศกาล’ ช่วยเชื่อมต่อคน เพื่อขับเคลื่อนคุณค่าในย่านหัวใจของการจัดเทศกาลคือการเป็นพื้นที่สื่อกลางที่เชื่อมโยงผู้คนหลากหลาย ทั้งนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ รวมทั้งผู้คนที่ใช้ชีวิตในย่าน มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นำไอเดียเหล่านั้นไปสร้างคุณค่าให้ย่าน และทำให้ย่านต่างๆ เริ่มต้นขับเคลื่อนพื้นที่ของตัวเองในระยะยาว อย่างเช่นย่าน ‘ปากคลองตลาด’ ที่เดิมทีเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายดอกไม้ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ ซึ่งอาจารย์หน่อง-ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้พื้นที่นี้เป็นโจทย์สำหรับวิชาอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและพัฒนาชุมชน และมีการก่อตั้งเพจ Humans of Flower Market : มนุษย์ปากคลองฯ ไว้อยู่แล้ว เมื่อมีการจัดเทศกาลจึงเป็นโอกาสดีในการนำโปรเจกต์ดังกล่าวมาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Bangkok Design Week เพื่อต่อยอดการทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบพัฒนาเมืองกับชุมชน จนเกิดเป็น ‘ปากคลอง Pop-Up’ ที่มีการจัดแสดงงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ อาทิ ศิลปะจัดวาง นิทรรศการภาพถ่าย สื่อผสมจากเทคโนโลยี AR โดยมีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาชมงานออกแบบ แล้วแวะซื้อดอกไม้จากร้านค้าในปากคลองตลาดกลับไป เปิดความเป็นไปได้ และสร้างคุณค่าใหม่ ที่ทำให้ย่านนั้นเชื่อมโยงกับผู้คนได้หลากหลายมิติมากกว่าแค่พื้นที่การค้า‘เทศกาล’ ช่วยระดมไอเดีย ทำเมืองให้น่าอยู่ขึ้นเป้าหมายของ Bangkok Design Week ไม่ใช่เทศกาลที่มอบแค่ความสนุกสนานและประสบการณ์ที่น่าประทับใจเท่านั้น แต่เทศกาลยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้บทสนทนาเรื่องการออกแบบและพัฒนาเมือง ขยายวงออกไปไกลว่าแค่ในวงการออกแบบ และทำให้ประเด็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบถูกเข้าถึงได้ง่ายจากคนหลากหลายโปรเจกต์ Re-Vendor เจริญกรุง 32 โมเดลทดลองการจัดการสตรีทฟู้ดริมทางย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซอยเจริญกรุง 32 ที่นำทีมโดย Cloud-floor (คลาวด์ฟลอร์) บริษัทสถาปนิกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองและพื้นที่สาธารณะ ใช้โอกาสของเทศกาลชักชวน Stakeholders ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสตรีทฟู้ดเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ตัวแทนเทศกิจ ตัวแทนผู้ค้า และตัวแทนผู้ซื้อ และนำไอเดียจากทุกฝ่ายมาสร้างเป็นโมเดลทดลองในซอยเจริญกรุง 32 ช่วงที่มีการจัดเทศกาล คนที่แวะมาเที่ยวในเทศกาลก็มีโอกาสได้ทดลองผลงานต้นแบบและให้ฟีดแบ็กเพื่อปรับปรุงโปรเจกต์ให้ดียิ่งขึ้น เทศกาลจึงช่วยสร้างการมีส่วนร่วมให้ไอเดียการพัฒนาเมือง ไม่ได้จบอยู่เพียงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้‘เทศกาล’ ฟื้นฟูภูมิปัญญาใกล้สูญหาย ให้กลับมาเข้าถึงง่ายคุณค่าอย่างหนึ่งที่แฝงอยู่ในการจัดเทศกาลคือ การทำให้มรดกทางวัฒนธรรมภายในชุมชนที่ใกล้สูญหายไปตามกาลเวลากลับมาเป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกครั้ง เช่น กิจกรรมของกลุ่ม Sense of Nang Loeng ที่นำละครชาตรี ศิลปะการละครอันทรงคุณค่าของชุมชนตลาดนางเลิ้ง ตลาดบกแห่งแรกของไทยที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาจัดแสดงในรูปแบบร่วมสมัย เพื่อรื้อฟื้นอัตลักษณ์ย่านนางเลิ้งที่เป็นบ้านครูดนตรีไทยและคณะละครในอดีตขึ้นมาใหม่ และดึงดูดความสนใจให้คนรุ่นใหม่หันมาทำความรู้จักนางเลิ้งในอีกแง่มุมหนึ่งกันมากขึ้นทั้งยังมีการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นนิทรรศการชั่วคราว และต่อยอดชื่อเสียงในด้านอาหารอร่อยของดีประจำย่าน โดยเชิญนักออกแบบและนักสร้างสรรค์มืออาชีพเข้ามาร่วมคิดร่วมลงมือทำไปพร้อมๆ กับคนในชุมชน  เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินท้องถิ่นและบรรดาพ่อค้าแม่ค้าได้มีช่องทางแสดงออก มีโอกาสหารายได้ ทั้งในระหว่างเทศกาลและต่อยอดไปสู่การทำโปรเจกต์พัฒนาชุมชนในระยะยาว ให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม‘เทศกาล’ สร้างเครือข่าย เชื่อมนักสร้างสรรค์มาจอยกันการจัดเทศกาลยังเป็นเวทีสำคัญให้คนทำงานสร้างสรรค์ทุกวงการได้มาพบปะและแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดตเทรนด์และแนวคิดใหม่ๆ ทิศทางการออกแบบในอนาค หรือโปรเจกต์ที่น่าสนใจที่นักออกแบบแต่ละคน/สตูดิโอกำลังทำ นำไปสู่การสร้างเครือข่าย เรียนรู้ และต่อยอดความร่วมมือในอนาคตสิ่งสำคัญคือ Bangkok Design Week ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแวดวงนักออกแบบเท่านั้น แต่คนทั่วไปก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ เทศกาลจึงช่วยทำให้องค์ความรู้และความเคลื่อนไหวในวงการออกแบบกระเพื่อมไกลออกไปสู่สังคมวงกว้าง เมื่อเกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้น การออกแบบและการสร้างสรรค์จึงไม่ใช่เรื่องของแค่คนใดคนหนึ่ง แต่ทุกคนในสังคมสามารถร่วมกันคิด-ร่วมกันทำได้นี่คือผลลัพธ์ส่วนหนึ่งที่เกิดจากแนวคิดการจัดเทศกาลที่ Bangkok Design Week พยายามขับเคลื่อนมาโดยตลอด รวมถึงในปี 2024 ที่จะถึงนี้ เราจึงกลับมาพร้อมกับธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ซึ่งอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมกันประกอบสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘เมืองที่น่าอยู่’ กว่าที่เคย ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หากมีใจอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเมือง เราเชื่อว่าทุกคนสามารถเริ่มลงมือทำได้จากเรื่องเล็กๆ ใกล้ตัว–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape

ส่งต่อแรงบันดาลใจในการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ผ่าน Key Visual ของ BKKDW2024

ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ทุกปี ‘Key Visual’ ถือเป็นประตูด่านแรกในการสื่อสารแนวคิดและหัวใจสำคัญออกไปสู่ผู้คนในวงกว้างผ่านการออกแบบกราฟิกและงานภาพ ซึ่งในปีนี้ผู้ที่รับบทบาทสำคัญนี้คือ DUCTSTORE the design guru สตูดิโอออกแบบที่ขับเคลื่อนวงการกราฟิกไทยมากว่า 22 ปี และสร้างสรรค์ผลงานสำคัญระดับประเทศมาแล้วมากมาย เช่น JORAKAY PAVILION ASA 2023 ที่คว้ารางวัล Golden Pin Design Award สาขา Spatial Design จากประเทศไต้หวัน, Key Visual งานสถาปนิก’65, Key Visual งานสถาปนิก’67 รวมถึงเป็นเจ้าของ IAMEVERYTHING สื่อเกี่ยวกับงานดีไซน์ แฟชั่น และครีเอทีฟไลฟ์สไตล์งานกราฟิกที่เรียบเท่แต่แฝงไว้ซึ่งความจัดจ้านและลูกเล่นสะดุดตาภายใต้ธีม ‘Livable Scape’ ในปีนี้มีที่มาอย่างไร วันนี้เราขอชวนมาฟัง หมู-นนทวัฒน์ เจริญชาศรี หัวเรือใหญ่ของสตูดิโอ เล่าเรื่องราวเบื้องหลังการออกแบบ Key Visual ประจำปีนี้ ตั้งแต่มุมมองที่เขามีต่อเมืองกรุงเทพฯ, บทบาทของนักสร้างสรรค์ ไปจนถึงการผสานแนวคิด Graphitecture หรือ Graphic + Architecture ต่อยอดไอเดียจนกลายเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่ออกสู่สายตานักออกแบบและผู้มาร่วมงานทุกคนในปีนี้เพราะ ‘ครีเอทีฟ’ ของคนตัวเล็กๆ ช่วยพัฒนาเมืองในภาพใหญ่“Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี เป็นการพูดถึงภาพรวมของเมือง การพัฒนาเมือง การวางผังเมือง การใช้ชีวิตในเมือง เราต้องการสื่อสารว่าอยู่ที่ไหนคุณก็ทำงานสร้างสรรค์ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ย่านเจริญกรุงที่เป็นพื้นที่หลักในการจัดงานหรืออยู่ย่านใจกลางเมือง งานครีเอทีฟสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ เรามองว่าครีเอทีฟคือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การที่คนจะครีเอทีฟได้ต้องเริ่มจากการไม่ถูกบังคับ คนที่ไม่ได้ทำงานออกแบบหรืองานครีเอทีฟในเชิงวิชาชีพ เขาสามารถมีความครีเอทีฟในชีวิตประจำวันได้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งของ Bangkok Design Week คือเราอยากจุดประกายให้คนทั่วไปมี Creative Thinking โดยไม่จำเป็นต้องทำงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความคิดสร้างสรรค์ก็ได้ ไม่ว่าจะลงมือทำอะไร ค้าขายอะไร แต่งตัวยังไง เดินทางไปไหน เราใช้ความครีเอทีฟกับเรื่องเหล่านี้ได้ทั้งหมดธีมในปีนี้เราจึงพยายามสื่อสารในลักษณะของการเชิญชวนให้คนลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างในแง่ปัจเจกก็ได้ แล้วพอคนลงมือทำกันเยอะๆ ก็จะกลายเป็นการพัฒนาเมืองในภาพใหญ่”จับแผนที่กรุงเทพฯ มาบอกเล่าความซับซ้อนแต่สนุก!“Key Visual คือการตีความคอนเซปต์ของงานให้ออกมาเป็นภาษาภาพหรือกราฟิก เป็นการสื่อสารที่เราสามารถซ่อนลูกเล่นบางอย่างให้คนเห็นแล้วคิดตามหรือเอาไปคิดต่อยอดได้” “เริ่มต้นจากย่านในเมืองของเรามันแทบไม่มีตรงไหนโล่งๆ เลย เอกลักษณ์กรุงเทพฯ คือความ Chaos ความ Massive เมื่อเรามองธีมงานปีนี้ผ่านสายตาสถาปนิกด้วยแนวคิดของกราฟิกแบบ แนวคิด Graphitecture (Graphic + Architecture) หรือการผสานมุมมองแบบกราฟิกและสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน เราจึงนำแผนที่กรุงเทพฯ มาออกแบบให้เป็นฟอร์มที่ซ้อนทับ เหลื่อมกัน เกิดเป็นฟอร์มใหม่ มีการเล่นกับ Figure and Ground (การตัดกันของภาพและพื้นหลัง)พวกเส้นต่างๆ เราต้องการสื่อถึงถนนและย่านที่จัดงาน โดยเริ่มจากไปดูแผนที่แต่ละย่านที่จัดงานก่อนว่าหน้าตาเป็นยังไง แล้วนำมาปรับฟอร์มและวางซ้อนทับลงบนแผนที่กรุงเทพฯ มีการนำองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมในแต่ละย่านเข้ามาประกอบด้วย เพื่อให้คนเห็นแล้วรู้สึกถึงความซับซ้อน ความยุ่งเหยิง รวมถึงเอกลักษณ์ความเป็นย่านนั้นๆ” “ส่วน Sub Key Visual และเทมเพลตสำหรับสื่อต่างๆ พยายามออกแบบให้คนอื่นเอาไปทำงานต่อได้ง่ายด้วย เลยกำหนดเป็นสี Solid ชัดเจนที่สื่อถึงแต่ละย่าน และมีลูกเล่นให้ดีไซเนอร์คนอื่นๆ เอาไปเล่นต่อได้หลายแบบ คุณสนุกกับมันได้ เล่นกับองค์ประกอบต่างๆ ได้ ไม่ใช่ CI (Corporate Identity) ที่มีกรอบบังคับตายตัว”เพราะเมืองยังไม่ดี ดีไซน์จึงยิ่งสำคัญ“ส่วนตัวคิดว่าเมืองที่น่าอยู่ควรเป็นเมืองที่ทุกคนใช้ชีวิตได้สะดวก ไม่ต้องรู้สึกเครียดกับชีวิตประจำวัน โจทย์ Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี จึงเกิดขึ้น เพราะทุกวันนี้เมืองของเรายังไม่ค่อยดี แต่ถ้าช่วยกันลงมือทำ วันข้างหน้าเมืองจะยิ่งดี เรื่องสาธารณูปโภค ไลฟ์สไตล์ อาชีพ องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกันหมด ไม่ใช่แค่ออกแบบเมืองให้สวยแล้วมันจะน่าอยู่ เมืองสวยแต่ไม่สร้างรายได้ ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดี ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก แบบนี้ก็ไม่ตอบโจทย์ เราอยากอยู่ในเมืองที่ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งรายได้ การเดินทางที่สะดวก และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้”“กรุงเทพฯ มีความมั่ว ความเละเทะ แต่ก็มีเสน่ห์ในความวุ่นวายของมัน ชีวิตในกรุงเทพฯ คือความดิ้นรน เป็นเมืองที่อยู่แล้วเหนื่อย เวลาจะทำอะไรต้องคิดก่อน จะไปไหนกี่โมงต้องวางแผนล่วงหน้าเผื่อเวลารถติด ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบชิลล์ๆ แต่ถ้ามันดีทุกอย่างแล้วก็คงไม่มีใครลุกขึ้นมาทำอะไรหรอก การแก้ปัญหาของเมืองก็คือการดีไซน์ ซึ่งก่อให้เกิด Creative Thinking ที่ทำให้เราต้องเอาตัวรอด สิ่งเหล่านี้คือวัตถุดิบที่หยิบจับมาทำงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมืองได้”“Bangkok Design Week จึงเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นที่ทำให้เมืองเกิดมูฟเมนต์ ทำให้ผู้คนคึกคักตื่นตัว เราว่าการมีอยู่ของสิ่งนี้ดีกว่าไม่มี หลายเมืองในโลกเขาก็มีเทศกาลเกี่ยวกับดีไซน์ เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่หรือนักออกแบบหน้าใหม่ได้มีพื้นที่แสดงศักยภาพ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดคอมมูนิตี้ ทำให้คนที่อยากพัฒนาเมืองได้มาสร้างเครือข่ายร่วมกัน”–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape