ออกแบบสีสันของกรุงเทพฯ แบบที่คุณอยากเห็น กับ ‘กรุงสี’ by กรุงศรี
ออกแบบสีสันของกรุงเทพฯ แบบที่คุณอยากเห็น กับ ‘กรุงสี’ by กรุงศรี หากถามว่า “กรุงเทพฯ ในแบบของคุณเป็นสีอะไร?” แน่นอนว่าคำตอบของแต่ละคนคงแตกต่างกันไป เพราะเราทุกคนต่างมีประสบการณ์และความทรงจำเกี่ยวกับกรุงเทพฯ ในแบบฉบับของตัวเอง และตีความเรื่องราวเหล่านั้นออกมาเป็นสีสันที่หลากหลายไม่ซ้ำกันแน่ๆและจะเป็นอย่างไร หากเราสามารถออกแบบสีสันให้กรุงเทพฯ ตามที่อยากให้เป็นได้? ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ‘กรุงศรี’ มาพร้อมแนวคิด Make Life Simple ชีวิตง่ายได้ทุกวัน สร้างสรรค์เป็นกิจกรรมพิเศษที่ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง ภายใต้คอนเซปต์ ‘กรุงสี by กรุงศรี’ หรือ ‘The City of Colours’ ที่ต้อนรับทุกคนด้วยคาแรกเตอร์ ‘น้องกล้วยกรุงศรี’ ที่เห็นแล้วต้องยิ้ม เลือกสีที่ใช่ ออกแบบเมืองที่ชอบ ในแบบของคุณผู้เข้าชมงานสามารถร่วมตอบคำถามในโซนกิจกรรมถ่ายภาพ จากนั้นก็เพลิดเพลินไปกับการถ่ายภาพเก๋ๆ พร้อมเลือกสีสันของกรุงเทพฯ ที่คุณอยากเห็น พร้อมรับภาพถ่ายทั้งแบบพรินต์และไฟล์เก็บไว้เป็นที่ระลึก นำไปแชร์ผ่านสื่อโซเชียลได้เลย นอกจากนั้นเรายังจะได้เห็นคำตอบของทุกคนแบบเรียลไทม์ว่า ผู้เข้าร่วมเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ อยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นสีอะไร สีไหนมีคนเลือกมากที่สุด เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่ทุกคนมีต่อเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่ กรุงศรีมีความเชื่อว่าจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากกิจกรรมง่ายๆ เหล่านี้ ช่วยเปิดโอกาสให้เราทุกคนได้ขยายมุมมอง เพื่อฉุกคิดถึงภาพเมืองน่าอยู่ในแบบที่เราอยากให้เกิดขึ้น ซึ่งสามารถกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งต่อพลังสร้างสรรค์และต่อยอดไปสู่การลงมือทำให้กรุงเทพฯ สดใสน่าอยู่ยิ่งขึ้นได้ ความสุขเกิดขึ้นได้ เมื่อชีวิตง่ายขึ้นใจความสำคัญที่กรุงศรีต้องการสื่อสารผ่านกิจกรรมภายในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ คือ เราอยากให้ทุกคนใช้ชีวิตในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ได้สะดวกสบายและง่ายขึ้น เมื่อชีวิตง่ายขึ้น ทุกคนก็จะมีความสุขกันมากขึ้น จึงต้องการสร้างแรงบันดาลใจผ่านการสื่อสารที่สนุกสนานและเข้าใจง่าย รวมถึงอยากมอบช่วงเวลาดีๆ ให้ทุกคนได้มาเปิดประสบการณ์ร่วมกันในเทศกาลฯ ที่มีจุดประสงค์หลักในการพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ เอื้อประโยชน์และส่งเสริมการใช้ชีวิตของผู้คนทุกกลุ่มทุกวัยอย่างครอบคลุมดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/92332–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
พื้นที่สนุกๆ ที่ชวนมาฟังไอเดีย ‘ชีวิตที่ดี’ โดย centralwOrld และ CENTRAL PATTANA
พื้นที่สนุกๆ ที่ชวนมาฟังไอเดีย ‘ชีวิตที่ดี’ จากคนทุกเจเนอเรชัน โดย centralwOrld และ CENTRAL PATTANA“สำหรับคุณ… ชีวิตที่ดีต้องเป็นอย่างไร?” หากถามคำถามนี้กับเด็ก วัยรุ่น คนทำงาน หรือผู้สูงวัย คำตอบที่ได้คงไม่เหมือนกัน และจะเป็นอย่างไร หากเรามีโอกาสฟังไอเดียนี้จากคนทุกเจเนอเรชัน ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ปีนี้ เซ็นทรัลพัฒนา และเซ็นทรัลเวิลด์ สร้างสรรค์พื้นที่ให้เรามาค้นหาความหมาย ด้วยความเชื่อที่ว่า งานดีไซน์มีพลังช่วยสร้างสรรค์เมืองให้น่าอยู่ขึ้น พร้อมสนุกไปกับการเซลฟี่กับ Giant Characters ในโปรเจกต์ Friends of Bangkok x Co-Creating City บริเวณลานหน้าอาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง ผลงานการออกแบบโดย projecttSTUDIO สตูดิโอออกแบบที่โดดเด่นเรื่องความครีเอทีฟที่เป็นเอกลักษณ์ และ Glow Creative เอเจนซี่นักเล่าเรื่องที่สร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการทำความเข้าใจมนุษย์ พร้อมพาร์ตเนอร์อย่างทีม IDF ที่มาร่วมกันสร้างพื้นที่แห่งศิลปะที่มีความหมายให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นค้นหาตัวตนใน ‘โลก’ แห่งการใช้ชีวิตที่น่าอยู่โซนแรก “Friends of Bangkok” ต้อนรับทุกคนด้วย Giant Characters คาแรกเตอร์ขนาดยักษ์ที่ยกขบวนกันมาสร้างความคึกคักให้คุณได้เซลฟี่กันจนเมมเต็ม พร้อมทั้งบอกเล่าการใช้ชีวิตที่น่าอยู่ในไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง ในโซนนี้คุณจะได้ค้นหาตัวตนจากการเลือกตัวต่อ 3 ชิ้นที่บ่งบอกความเป็นคุณ และนำไปประกอบรวมกับเพื่อนเจนเดียวกันตลอด 9 วัน เสมือนเป็นงานศิลปะ Data Visualization ชิ้นใหญ่ที่สะท้อนตัวตนของคนทุกวัยในเมืองนี้แชร์ไอเดีย ‘ชีวิตดีๆ’ ในแบบของคุณโซนที่สอง “Co-Creating City” เซ็นทรัลพัฒนาชวนคุณมาแชร์ไอเดีย ‘ชีวิตดีๆ’ ในแบบของตัวเองผ่านกิจกรรม Interactive ที่คุณจะได้เลือกภาพพื้นที่ที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ และตอบคำถามว่า “สำหรับคุณ… ชีวิตที่ดีต้องเป็นอย่างไร?” ก่อนที่ทุกข้อความจะไปปรากฏอยู่บน Interactive Wall เมืองน่าอยู่ ให้คุณได้มองเห็นและรับฟังเรื่องราวและไลฟ์สไตล์ของเพื่อนร่วมเมือง ไม่ว่าจะเป็น บรรยากาศการนั่งล้อมวงกินอาหาร, คนรักสัตว์จูงสุนัขเดินเล่นในสวน, สายปาร์ตี้ที่ครื้นเครงไปกับเสียงดนตรี, ศิลปินที่เพลิดเพลินกับการสร้างสรรค์ผลงาน, คนรักสุขภาพที่ออกไปวิ่ง และถ่ายภาพคู่ไอเดียของคุณแชร์ในโซเชียลออกแบบเมืองที่น่าอยู่ด้วยการฟังเสียงของผู้คนเซ็นทรัลพัฒนาและเซ็นทรัลเวิลด์มีเป้าหมายในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนให้กับผู้คน โดยเชื่อว่า พื้นที่ที่ดีต่อการใช้ชีวิตนั้นต้องเกิดจากการฟังเสียงของทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับความตั้งใจของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ที่ต้องการสร้างเมืองให้ ‘น่าอยู่’ โปรเจกต์นี้จึงเป็นเสมือนพื้นที่ที่ให้ทุกคนมาร่วมออกแบบเมืองร่วมกัน เพื่อเห็นศักยภาพของงานออกแบบที่ช่วยสะท้อนความต้องการที่หลากหลายและสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เมืองของเราได้–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
เบื้องหลังการปรับดีไซน์ ‘พัดลมไทย’ โดย ฮาตาริ และ Habits Design Studio
เบื้องหลังการปรับดีไซน์ ‘พัดลมไทย’ ให้ชีวิตประจำวันรื่นรมย์ขึ้น โดย ฮาตาริ และ Habits Design Studioประเทศเมืองร้อนอย่างเรา ‘พัดลม’ คือของคู่บ้านที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะมีไลฟ์สไตล์แบบไหน พัดลมถือเป็นหนึ่งในงานออกแบบที่แฝงตัวอยู่ในชีวิตประจำวันจนเราอาจไม่ทันได้สังเกต และพาลไม่เคยตั้งคำถามว่า เบื้องหลังกว่าที่พัดลมตัวหนึ่งจะถูกออกแบบ ผลิต จนถึงมาตั้งคลายความร้อนในบ้านเรานั้นมีเส้นทางเป็นอย่างไรในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ฮาตาริ แบรนด์พัดลมที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 30 ปีจึงถือโอกาสนี้เปิดบ้าน เผยเบื้องหลังกว่าจะเป็นพัดลมหนึ่งตัว ตั้งแต่คอนเซปต์ กระบวนการออกแบบ ให้ตรงความต้องการผู้คน ไปจนถึงการทำการตลาดเพื่อสื่อสารให้ไปถึงใจผู้บริโภค ผ่านประสบการณ์การทำงานกว่า 5 ปี ร่วมกับ Habits Design Studio สตูดิโอออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นนำจากอิตาลี นักออกแบบที่อยากเติมไฟ หรือคนทั่วไปที่อยากเปิดโลกการออกแบบโดยเริ่มต้นจากของใกล้ตัว เราขอชวนปักหมุดนิทรรศการ Hatari x Habits Design Studio: Designing the Wind ณ บ้านตรอกถั่วงอก เมื่อเทรนด์เปลี่ยน พัดลมจึงต้องปรับแม้ฮาตาริจะเป็นแบรนด์พัดลมคู่คนไทยมายาวนานกว่า 30 ปีที่ขึ้นชื่อเรื่องความอึด ถึก ทน จนกลายเป็นยี่ห้อพัดลมที่ต้องมีในทุกบ้าน แต่เมื่อโลกหมุนไป ไลฟ์สไตล์ผู้คนเปลี่ยนตาม ที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนจากบ้านกลายเป็นคอนโด ดีไซน์และการแต่งบ้านคือเรื่องใหญ่ที่คนให้ความสำคัญ แบรนด์พัดลมที่เคยเน้นจุดขายเรื่องฟังก์ชั่นมายาวนานอย่างฮาตาริ ก็ถึงคราวต้องปรับตัวตามด้วยเหตุนี้เอง ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ฮาตาริจึงเริ่มต้นจับมือกับ Habits Design Studio สตูดิโอออกแบบจากอิตาลีที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และมีประสบการณ์ออกแบบให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมาแล้วมากมาย ซึ่งพวกเขาเพิ่งโยกย้ายเข้ามาตั้งสาขาในกรุงเทพฯ เพื่อใช้ ‘การออกแบบ’ เป็นสะพานเชื่อมระหว่างองค์ความรู้ดั้งเดิมของฮาตาริด้านการผลิตสินค้าที่เข้าใจคนไทย เข้ากับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการออกแบบ พลิกโฉมแบรนด์ให้กลายเป็นมากกว่าแค่ผู้ผลิต แต่กลายเป็น ‘นักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์’ ที่เข้าใจคนรุ่นใหม่ เบื้องหลังการ ‘ออกแบบสายลม’ เพื่อคนไทยเรื่องราวตลอดเส้นทางการทำงานร่วมกันของฮาตาริและ Habits Design Studio เพื่อ ‘ออกแบบสายลม’ ให้คนไทย คือสิ่งที่เราจะได้สำรวจไปด้วยกันในนิทรรศการครั้งนี้ โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 4 โซน มีรูปแบบการจัดแสดงเป็นบริเวณชั้น 1: ‘WIND EMOTION’ พบกับ PANORAMA แผงไฟ LED ขนาดใหญ่ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชมบริเวณชั้น 2: ‘TECHNOLOGICAL HEART’ ที่จะเล่าเรื่องราวของขบวนการวิจัยและพัฒนา กว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสายลมแห่งความสุขบริเวณชั้น 3: ‘PERFORMING WIND’ งานศิลปะติดตั้งที่ได้แรงบันดาลใจจาก Colosseum ผู้เข้าเยี่ยมชมจะได้พบกับ Interactive Art จากพัดลมฮาตาริรุ่นใหม่ล่าสุดบริเวณชั้น 4: ‘DESIGN FOR MODERN LIVING’ เป็นชั้นที่ตีแผ่คอลเล็กชันผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ Hatari และ Habits Design Studio เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ทั้งนี้ภายในนิทรรศการยังมีกิจกรรมน่าสนใจที่ซ่อนอยู่อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมุมถ่ายรูปสุดพิเศษ กิจกรรมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ และ Customized พัดลมรุ่นใหม่จากฮาตาริในเแบบของคุณเข้าใจคุณค่าของการ ‘ออกแบบดี’ ผ่านพัดลมในฐานะนักออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีทุกบ้าน ฮาตาริ มองว่า ‘พัดลม’ คือสื่อใกล้ตัวที่สามารถบอกเล่าถึงความสำคัญของการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ได้ หากคนเข้าใจว่า การออกแบบที่ดีสร้างคุณค่าให้พัดลมหนึ่งตัวอย่างไร อาจขยายมุมมองไปสู่ความเข้าใจในระดับที่ใหญ่ขึ้น อย่างการออกแบบเมืองที่ดี ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ในปีนี้ ที่ชวนทุกคนมาคิดร่วมกัน–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
ExperienceScape โดย Urban Ally และ DecideKit ร่วมกับ LPN
ExperienceScape สร้างภาพจำใหม่ให้เมืองเก่า ‘พระนคร’ ต่อยอดสู่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดย Urban Ally และ DecideKit ร่วมกับ LPNเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ครั้งนี้ นับเป็นปีที่ 3 ที่ศูนย์มิตรเมือง หรือ Urban Ally โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รับหน้าที่เป็นโฮสต์ประจำย่านพระนคร โดยใช้ชื่อเทศกาลว่า ‘มิตรบำรุงเมือง LIVE’ ภายใต้แนวคิด Everyday-life Festival ซึ่งนำเสนอแนวทางการใช้พื้นที่เมืองเก่าอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างภาพจำใหม่ให้ย่านพระนครคึกคักมีสีสันและน่าอยู่น่าเที่ยวมากยิ่งขึ้น โดยไอเดียจุดประกายการพัฒนาพื้นที่ย่านพระนครเหล่านี้ สอดคล้องกับแนวคิด ‘Livable Living Experience’ ของ LPN ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพ รวมถึงให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมดี สังคมน่าอยู่ และสร้างสุขภาวะที่ีดีทั้งทางกายและทางใจ โปรเจกต์ ExperienceScape จึงเกิดขึ้นจากการจับมือกันระหว่าง Urban Ally, DecideKit และ LPN เชิญชวนศิลปินแถวหน้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มาร่วมผลิตผลงานศิลปะ New Media Art และ Projection Mapping เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะ ฟื้นพื้นที่ที่เคยปิดร้าง และมรดกทางสถาปัตยกรรมเก่าแก่ประจำย่าน ให้กลายเป็นแหล่งรวมงานสร้างสรรค์ที่มอบประสบการณ์ใหม่ในการอยู่อาศัยให้กับผู้คนในย่านเก่า และนี่คือตัวอย่างผลงานบางส่วนที่เราจะได้พบภายในเทศกาลฯ ทั่วย่านพระนคร – Back to the Past โดย Kor.Bor.Vor ณ ประปาแม้นศรี ผลงาน Projection Mapping ที่เล่าเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘แทงค์’ อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ผ่านกาลเวลามายาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ‘แทงค์’ สะสมความทรงจำล้ำค่าไว้มากมาย และวันนี้ พร้อมแล้วที่จะบอกเล่าให้เราได้รับรู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/73204 – From Now to Future โดย DecideKit ณ ประปาแม้นศรี ผลงาน Projection Mapping ที่สื่อสารประเด็นการมองเห็นคุณค่าในตัวเองผ่านพื้นที่ของแทงค์ ที่กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการเปิดรับสิ่งใหม่ และเรียนรู้โลกใบนี้อีกครั้ง ผ่านการกลั่นกรองประสบการณ์ที่สั่งสม นำมาพัฒนา ‘แก่น’ ของเราให้แข็งแกร่งอย่างยั่งยืนดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/73204 – Join (joy) together โดย The Motion House ณ ป้อมมหากาฬ เมื่อศิลปะของศิลปินท้องถิ่นออกมาเคลื่อนไหวด้วยเทคนิค Projection Mapping ในธีม ‘Living in a Color’ โดยใช้เทคนิคภาพลวงตาเป็นลูกเล่นดึงดูดใจ ประกอบด้วยพื้นที่หลากหลายโซนให้เดินชมได้อย่างจุใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/76265– Call Me Susan โดย Yellaban Creative Media Studio ณ สวนรมณีนาถ ประกอบไปด้วยผลงานสองส่วน ส่วนแรกคือ Projection Mapping ที่บอกเล่าเรื่องราวของสถาปัตยกรรมในพื้นที่แห่งนี้ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และสิ่งที่กำลังจะเป็นไปในอนาคต ส่วนที่สองคือการนำอาคารเฝ้าระวังกลางน้ำ สัญลักษณ์ประจำสวนรมณีนาถ มาสร้างเป็นคาแรกเตอร์ ‘ซูซาน’ ที่จะมาเป็นไกด์นำเที่ยวย่านพระนคร สามารถติดตามเธอได้ที่ IG: callme.susannnดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/86893 – Night Blooming โดย Yimsamer ณ หอพระ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ผลงาน Projection Mapping ที่นำดอกบัวสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และการตื่นรู้ มาบอกเล่าเรื่องราวการเจริญเติบโตจากโคลนตมที่เปรียบเทียบได้กับการเดินทางของจิตวิญญาณตามความเชื่อของชาวตะวันออกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/86918 เมืองจะ ‘น่าอยู่’ ได้ต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายในปีที่ผ่านๆ มาโครงการพัฒนาย่านพระนครโดย Urban Ally ประสบความสำเร็จและได้รับการพูดถึงผ่านสื่อต่างๆ อย่างแพร่หลาย และเพื่อต่อยอดให้ผลงานที่เกิดขึ้นจากเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ นำพาย่านนี้ไปสู่การเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ พวกเขาจึงยังคงระดมไอเดียร่วมกับพาร์ตเนอร์มาสร้างสรรค์สิ่งใหม่กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในย่านและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย มองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ในการแต่งเติมสีสันและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ในย่านเก่าแก่นี้ LPN ในฐานะผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพมาตลอด 34 ปี และกำลังเข้าสู่ปีที่ 35 จึงอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีภายในชุมชนย่านเมืองเก่า ด้วยการแบ่งปันแนวคิด ‘Livable Living Experience’ รวมถึงสนับสนุนทรัพยากรให้แก่กลุ่มศิลปิน นักออกแบบ และนักวิชาการด้านการพัฒนาเมือง ให้สามารถปลดปล่อยจินตนาการออกมาผ่านผลงานได้อย่างเต็มที่ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการส่งต่อแรงบันดาลใจให้คนในพื้นที่เล็งเห็นความสำคัญของงานศิลปะและไอเดียใหม่ๆ ในการก่อร่างสร้างเมือง–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
รู้จักย่านสร้างสรรค์ ก่อนงาน BKKDW2024 : บางมด
รู้จักย่านสร้างสรรค์ ก่อนงาน BKKDW2024 : บางมดการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลของธรรมชาติ ผู้คน และวัฒนธรรมอันหลากหลาย ที่เชื่อมผ่านกระแสน้ำของคลองบางมดถ้าหากถามถึงชื่อชุมชนสร้างสรรค์สักหนึ่งแห่งที่นอกจากจะมีความเข้มแข็งแล้วยังเริ่มก่อร่างสร้างตัวมาจากคนในชุมชนเอง ‘ย่านบางมด’ คงเป็นหนึ่งในคำตอบที่ใครหลายคนนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ ไม่ผิดแน่ จากการทำงานพัฒนาพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 ปี และรายนามบรรดาเครือข่ายสร้างสรรค์หลากหลายกลุ่มที่ยาวเป็นหางว่าวและวันนี้ ในที่สุดย่านท่องเที่ยวชุมชนสุดแกร่งแห่งนี้ก็ตัดสินใจก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นด้วยการสมัครเข้าร่วมเป็นผู้จัดเทศกาล Bangkok Design Week อันเป็นเหมือนความฝันสูงสุดของใครหลายคนที่ทำงานพัฒนาชุมชนที่อยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลสักครั้งการออกแบบเมืองให้เป็น livable scape ในแบบชาวบางมดจะเป็นอย่างไร ตามไปหาคำตอบด้วยกันกับ ‘อาจารย์นิศากร เพ็ญสมบูรณ์’ จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเอกสตรีตอาร์ตและการออกแบบเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ในฐานะ Co-Host ของเทศกาล Bangkok Design Week 2024 ย่านบางมดการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติและผู้คนอาจารย์นิศากร อธิบายว่า ‘บางมด’ คือหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ยังคงธรรมชาติดั้งเดิมของย่านและความอุดมสมบูรณ์เอาไว้อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตริมคลอง การสัญจรทางเรือ รวมถึงการปลูกพืชแบบร่องสวน เช่น สวนมะพร้าว และสวนส้มบางมด ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่สำคัญของย่าน นอกจากนี้ยังเป็นดินแดนพหุวัฒนธรรม ที่มีทั้งคนไทยเชื้อสายจีน คนไทยพุทธ และชาวมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกันแต่ยิ่งไปกว่านั้น เสน่ห์ที่บางมดมีอยู่ไม่แพ้ใครคือ ‘ความน่ารัก’ ของผู้คนในย่าน“มิติกายภาพพื้นที่ของย่านบางมดจะเป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันในเชิงของธรรมชาติกับผู้คนที่เป็นลักษณะวิถีดั้งเดิม อย่างเช่น เมื่อเข้าไปในย่าน เราก็จะได้เห็นว่าที่นี่มีคลอง มีสวน มีธรรมชาติ การสัญจรทางเรือ เมื่อก่อนก็จะมีการทำนา และเคยมีการปลูกสวนส้ม ที่ดังๆ ก็จะมีส้มบางมด ซึ่งตอนนี้ก็จะก้าวเข้าสู่ 100 ปีแล้วของสวนส้มบางมดที่อยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้ก็มีการปลูกต้นมะพร้าว ซึ่งเป็นการปรับตัวจากที่ปลูกส้มได้ยากอีกทีนึงมิติในเชิงวัฒนธรรม ที่นี่เป็นพหุวัฒนธรรม มีทั้งคนไทยเชื้อสายจีน คนไทยนับถือศาสนาพุทธ มีวัดดังๆ ที่อยู่ในพื้นที่ริมคลองเยอะ เช่น วัดพุทธบูชา วัดบัวผัน รวมไปถึงมีมัสยิดที่อยู่บริเวณริมคลองหลายแห่ง ผู้คนก็มีการอยู่ร่วมกันในเชิงพหุวัฒนธรรมแต่สุดท้ายความโดดเด่นของย่านบางมดเนี่ย มันคือความน่ารักของผู้คนที่อยู่ในย่าน วิถีของคนที่เขาอยู่จริงๆ เหมือนเป็นเครือญาติพี่น้องร่วมกัน รวมไปถึงบรรยากาศที่ทำให้การแข่งขันหรือลักษณะที่มีความเร่งรีบมันดูลดน้อยลง พอเข้าไปในพื้นที่เราจะรู้สึกถึงความ slow life พื้นที่เองก็ทำให้ผู้คนรู้สึกได้พักผ่อน เหมือนพอเราเดินทางมาถึงย่านบางมด เราจะรู้สึกผ่อนคลาย”จากความร่วมมือของคนในย่าน ต่อยอดความฝันสู่ Bangkok Design Weekอย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าบางมดเป็นย่านเก่าแก่ที่มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายและลงมือทำงานพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยมีหลายภาคส่วนที่เข้ามาร่วมมือร่วมใจกัน ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันอาศรมศิลป์ เซฟติสท์ฟาร์ม (SAFETist Farm) บ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์ และบ้านไร่อารียาเมตายา กลุ่มพหุวัฒนธรรมตลาดมดตะนอย รวมไปถึงผู้ประกอบการต่างๆ ผู้ที่อาศัยอยู่ภายในย่าน และอื่นๆ อีกมากมาย โดยอาจารย์นิศากรอธิบายว่าเบื้องหลังในการพัฒนาบางมดให้เข้มแข็งเหมือนอย่างทุกวันนี้ก็มีที่มาจากการที่เครือข่ายภาคการศึกษาเข้ามาทำงานกับชุมชนและร่วมต่อยอดผลลัพธ์ไปสู่การจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องนั่นเอง“มันเป็นการทำอย่างต่อเนื่องค่ะ เหมือนกับว่าเราไม่ได้ทำครั้งเดียวแล้วหยุดไป เราลองเปลี่ยนวิธีการ ให้ผู้คนเข้ามาในตัวชุมชนหรือพื้นที่ที่มันมีประสบการณ์ที่ดูแตกต่างกันบ้าง หลายๆ ครั้งก็จะมีโปรแกรม One Day Trip หรือมีการล่องเรือ มีการพาวอล์กกิ้งทัวร์ในเชิงพหุวัฒนธรรม มีการพูดคุยกันไปด้วย ลองทำหลายๆ รูปแบบเหมือนกับความเข้มแข็งของย่านมันก็มาจากการที่สถาบันการศึกษาเข้าไปให้ข้อมูล เข้าไปกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการตระหนักว่าสินทรัพย์ที่ตัวเองมีมันมีมูลค่า และพอลองเอาไปทดลองทำจริงซ้ำๆ เขาก็เริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ เริ่มมองเห็นว่ามันสามารถกระตุ้นรายได้และทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้จริง เขาก็เห็นศักยภาพในตัวเอง”เมื่อชุมชนเข้มแข็งแล้ว ก้าวต่อไปของบางมดจึงเป็นการ Step up ตัวเองในฐานะย่านสร้างสรรค์ไปสู่ความท้าทายใหม่ๆ และความท้าทายที่ว่าก็คือการเข้าร่วมกับเทศกาล Bangkok Design Week นั่นเอง“บางมดมีการรวมกลุ่มและทำงานกันมาตลอดอยู่แล้ว อย่างบางมดเฟสนี่ทำมา 5 ครั้งแล้วนะคะ 4 ครั้งที่ผ่านมาชุมชนเป็นผู้ผลักดันให้เกิดกิจกรรม และอีกหนึ่งครั้งก็เป็นการเข้าร่วมกับตัว กทม. ก็คือเป็นย่านสร้างสรรค์เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ก็จะนับว่าเป็นครั้งที่ 6 แล้วที่จะเข้าไปอยู่ใน Bangkok Design Weekคือหลังจากปีที่แล้วที่เราได้ไปเข้าร่วมเป็นย่านสร้างสรรค์ของ กทม. เราก็ได้มาพูดคุยกันว่า เรารู้สึกว่าการทำงานร่วมกันของเรา ประสบการณ์ของเรา เครือข่ายของเรามันพร้อมแล้วประมาณนึง ดังนั้นปีนี้เรามาลองเข้าร่วม Bangkok Design Week กันดีไหม เพราะว่าเรามีทีมที่เข้มแข็ง และทำงานกับพื้นที่อยู่แล้ว ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะลองมาเข้าร่วม Bangkok Design Week ในครั้งนี้ค่ะ” พลิกปัญหาให้กลายเป็นอัตลักษณ์ย่านด้วยความคิดสร้างสรรค์หลักใหญ่ในกระบวนการออกแบบกิจกรรมของย่านบางมดในครั้งนี้คือการผสมผสานระหว่างการ ‘แก้ปัญหาเมือง’ และ ‘ความน่าสนใจของพื้นที่’ เข้าไว้ด้วยกัน พวกเขาจึงพยายามนำปัญหาที่เกิดขึ้นจริงภายในย่านมาเป็นตัวตั้ง และออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ให้สามารถแก้ปัญหานั้นๆ ได้จริง พร้อมกับต่อยอดอัตลักษณ์ของย่านไปในเวลาเดียวกัน“พอมีเรื่องคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี เรื่องของกายภาพดี ดีต่อใจ ดีไซน์ดี รวมไปถึงย่านบางมดเอง เราไปจับประเด็นของ Hack BKK เพิ่มเติม คือประเด็น ‘หน้าบ้านน่ามอง เปลี่ยนคลองเป็นหน้าบ้าน’ ประเด็นนี้มันมีเรื่องราวว่า พอเราเข้าไปดูในการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ สมัยก่อนจริงๆ ปกติเขาก็จะเดินทางด้วยเรือกัน แต่พอเมืองขยาย มันก็ลดน้อยลง แต่ตัวพื้นที่บางมดเองยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตในรูปแบบนี้ค่อนข้างมาก เช่น การเดินทางทางเรือ ถามว่าตรงนี้เป็นจุดเด่นไหม ถือว่าเป็นจุดเด่น แต่ในทางกลับกันก็เป็นจุดด้อยด้วยเหมือนกัน เพราะกลายเป็นว่าการเข้าถึงย่านก็จะมีข้อจำกัดมากขึ้น เราก็เลยเอามาเป็นประเด็นในการแก้ปัญหาในโปรแกรมต่างๆ ด้วยหรือการที่ในย่านมันมีวิถีชีวิตที่เป็นคนเมืองแนวชนบท คือช่วงเย็นๆ ก็จะค่อนข้างเงียบแล้ว พอมืดแล้วทุกคนก็ปิดบ้าน ซึ่งก็จะแตกต่างจากย่านอื่นๆ ที่อยู่ใจกลางเมือง รวมถึงเรื่องแสงสว่างที่มันไม่ได้มีมากอยู่แล้ว เราก็จะพบว่าในชุมชนก็ค่อนข้างที่จะมืด คือเกือบๆ มืดสนิทเลยน่ะค่ะ ดังนั้นลักษณะของตัวโปรแกรม เราก็มุ่งไปที่เรื่องของการทำให้ตัวพื้นที่มันสว่างเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การเดินทางไปยังแต่ละจุดของเราในเทศกาล หรือแม้กระทั่งการเดินทางในชีวิตประจำวันของคนในชุมชนเองก็จะมีแสงสว่างเพิ่มมากขึ้น”Grow with the Flow‘Grow with the Flow’ (งอกงามตามกระแส) คือชื่อคอนเซปต์ของโปรแกรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในงาน Bangkok Design Week ในครั้งนี้ ซึ่งงดงามสมกับความเป็นบางมดเป็นอย่างยิ่ง เพราะคอนเซปต์นี้กำลังพูดถึงการพัฒนาย่านให้เติบโตงอกงามโดยไม่เร่งรัดและเร่งเร้า แต่เป็นการเติบโตในจังหวะเวลาที่เหมาะสมกับตัวเองเสมือนการไหลไปตามกระแสของน้ำในคลองบางมดที่พวกเขาคุ้นเคย“Grow ในที่นี้เป็นเรื่องของความเติบโต งอกงาม เราก็คิดว่า ลักษณะพื้นที่ของเราเนี่ย คนเข้ามาเราก็อยากให้มันเป็นเรื่องของกระแสน้ำ เพราะเราอยู่ริมน้ำ เรียบๆ ง่ายๆ เลยรู้สึกว่าตัวคอนเซปต์ Grow with the Flow งอกงามตามกระแสเนี่ย เราอยากพูดถึงโลกภายนอกที่มันอาจจะบีบบังคับให้เราต้องเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่พอเข้ามาในพื้นที่นี้ เราจะรู้สึกว่าเหมือนเรา slow life ลง โดยเราจะคิดโปรแกรมให้คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ กรุงเทพฯ ชั้นใน หรือพื้นที่ต่างๆ ที่เข้ามาได้รู้สึกว่าพื้นที่บางมดเป็นเหมือนพื้นที่ต่างจังหวัดในกรุงเทพฯ ที่ทุกคนได้เข้ามาพักผ่อนและปล่อยวางความเครียดลงไป”สำหรับสถานที่ในการจัดงาน อาจารย์นิศากรบอกว่าจะตั้งอยู่ในจุดต่างๆ ตลอด 7 กิโลเมตรสองฝั่งคลองบางมด ซึ่งจะมีทั้งจุดที่สามารถเดินเชื่อมต่อกันได้ และจุดที่มีเรือโดยสารให้บริการ และเรือโดยสารที่ว่านี้ก็เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ทางทีมออกแบบเอาไว้เช่นกัน โดยมีกิจกรรมไฮไลต์ต่างๆ อย่างเช่น“โปรแกรมกำแพงเรืองแสง เพื่อตอบโจทย์ปัญหาความมืดในชุมชน ก็จะเป็นกำแพงหนึ่งที่เราซึ่งเป็นคนทำงานสตรีตอาร์ตอยู่แล้ว ปกติเราจะเห็นสีสันสดใสที่อยู่บนกำแพง แต่ตอนนี้เราจะใช้ผงสีเรืองแสงเพิ่มเข้าไป โดยตัวผงสีเรืองแสงมันก็ส่องสว่างในช่วงพลบค่ำ ก็คือช่วงที่บรรยากาศค่อนข้างมืด เสร็จแล้วกลางวันก็จะเห็นเป็นอีกลวดลายนึง กลางคืนก็จะเห็นเป็นอีกลวดลายนึง ซึ่งนอกจากจะสร้างสีสันให้กับตัวพื้นที่แล้ว มันก็ยังเข้าไปแก้ปัญหาในเรื่องของความมืดบางส่วนด้วย โปรแกรมล่องเรือง จริงๆ แล้วเป็นโปรแกรมล่องเรือนี่แหละค่ะ แต่เราเล่นคำว่าเรืองด้วย มาจากเรืองแสง คืออย่างที่บอกว่าเรามีปัญหาเรื่องระยะทางและการเชื่อมต่อกันระหว่างแต่ละจุดของตัวโปรแกรม ซึ่งมันมีระยะทางถึง 7 กิโลเมตรเลย เราเลยคิดว่าเรือนี่แหละคือประสบการณ์นึงที่น่าสนใจ ดังนั้นเราก็เลยทำโปรแกรมในเรื่องของการประดับหลังคาเรือ ตรงผ้าใบเรือให้เป็นลวดลายวิถีชีวิต ดึงเอางานศิลปะที่อยู่ในพื้นที่มาใส่ในตัวลวดลายที่อยู่ข้างบน รวมถึงมีการประดับไฟด้วย ก็คือนอกจากจะเป็นเรือที่ใช้เดินทางระหว่างจุดโปรแกรมแล้ว คนที่เข้ามานั่งเรือเขาก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในงานศิลปะด้วยนอกจากนี้ก็มีโปรแกรมของน้องๆ จาก KMUTT (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) เป็นงานโปรเจกต์ของน้องๆ ที่จะเล่นเรื่องของการนำเอาวิทยาศาสตร์ ระดับน้ำ ความหนาแน่นของน้ำ มาแก้ปัญหาเรื่องน้ำเพื่อให้ปลาสามารถอยู่ได้ เป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักออกแบบคลอง โดยนอกจากการแก้เชิงวิทยาศาสตร์แล้ว ก็จะถูกถ่ายทอดออกมาเป็นงาน Installation ในตัวพื้นที่ในประเด็นเดียวกันนี้ด้วย และเราก็ยังมีอีกหนึ่งโปรแกรมที่เชื่อมโยงกันคืองานจากศิลปินเซรามิกที่โตมาในย่านบางมด โดยเขาบอกว่าจริงๆ ในคลองบางมดมันมีอะไรที่อยู่ใต้น้ำเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์จริงๆ สิ่งของ หรือความทรงจำที่อยู่ร่วมกันในกระแสน้ำ ซึ่งเขาก็เอามาทำเป็นตัวเซรามิกที่เป็นรูปทรงต่างๆ แล้ว exhibit ไว้ที่ใต้สะพานหนึ่งที่อยู่ในคลองบางมด เหมือนกับว่าเรายกสิ่งที่มีคุณค่าใต้น้ำขึ้นมาข้างบนให้คนได้เห็น”“ปิดท้ายที่เซฟติสท์ฟาร์ม ซึ่งเขาเป็นพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ มีบ่อน้ำที่อยู่ตรงกลาง มีเลี้ยงปลา มีทำเกษตรอย่างเต็มรูปแบบเลย ในครั้งนี้เขาคิดมาเป็นการดูหนังกลางบ่อ ก็จะเป็นการฉายหนังกลางแปลง แต่เรามีบ่อน้ำตรงกลาง ก็เรียกหนังกลางบ่อรวมถึงไฮไลต์อีกอย่างของเซฟติสท์ฟาร์มเองก็จะเป็น ‘นากน้อยแห่งคลองบางมด’ คือบางมดยังมีตัวนากอยู่นะคะ ตัวนากเนี่ย เขาเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของความสมบูรณ์นะ คือมีเขาแสดงว่าเรามีความอุดมสมบูรณ์ในตัวพื้นที่ ฉะนั้นเราก็เหมือนเอาเขามาเป็นคาแรกเตอร์นึงในการนำเสนอตัวพื้นที่บางมดที่ยังคงสมบูรณ์ไปด้วยวิถีธรรมชาติอยู่ค่ะ ใครที่แวะมาดูหนังก็อาจจะได้มาเจอน้องนากตัวเป็นๆ ด้วย”เข้ามาพักผ่อนใจไปกับกระแสน้ำของคลองบางมดและติดตามก้าวต่อไปในฐานะย่านสร้างสรรค์ในงาน Bangkok Design Week ครั้งแรกของย่านบางมดไปด้วยกันได้วันที่ 27 ม.ค. – 4 ก.พ. นี้รู้จักกับ ‘ย่านบางมด’ มากยิ่งขึ้นผ่านโปรแกรมแนะนำประจำย่านGrow and Glowwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/70777 ล่อง-เรือ(ง)www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/70848 ความร่วมมือนักวิทยาศาสตร์-นักออกแบบ:ซัสตาโลมwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/71570 นากน้อยแห่งคลองบางมดwww.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program/71157 คลิกเพื่อดูโปรแกรมทั้งหมดของย่านบางมด ที่นี่ : www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2024/program?nbh=84251 –Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
ดีไซน์วีคแล้วไปไหน
ดีไซน์วีคแล้วไปไหน จากความตั้งใจของเทศกาลฯ ที่ให้โจทย์จริงจากกรุงเทพมหานคร (HACKBKK) และเปิด opencall เพื่อชวนนักสร้างสรรค์ มาร่วมกันคิด ทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาในมิติต่างๆ เพื่อให้เมืองน่าอยู่ยิ่งขึ้น มีหลากหลายผลงานนำเสนอแนวทางที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง จุดเสี่ยงภัย พื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ ขยะ มลพิษ กลุ่มเปราะบาง ไปจนถึงชุมชนเข้มแข็ง และสร้างจุดเด่นของย่านทาง Bangkok Design Week จึงได้ส่งต่อให้กับทาง Bangkok City Lab ของกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาต่อให้เกิดการใช้งานจริง โดยทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไป 1. การเดินทาง Go Go Bus บริการเดินรถไฟฟ้าขนาด 20 ที่นั่ง ที่มีการสำรวจเส้นทางใหม่เพื่อเชื่อมย่านเมืองเก่าจากเจริญกรุง-เยาวราช-พระนคร-นางเลิ้ง-ปากคลองตลาด ช่วยลดการใช้รถยนต์ในเขตเมืองเก่าที่มีที่จอดรถจำกัดและช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด โดยเป็นความร่วมมือของกลุ่มนักออกแบบMayday เครือข่ายบัสซิ่งจากขอนแก่น และบริษัท อรุณพลัส จำกัดที่พัก และป้ายบอกคิววินมอเตอร์ไซค์ มอเตอร์ไซค์เป็นการขนส่งที่เป็นเหมือนเส้นเลือดของการเดินทางในกรุงเทพฯ จึงมีผู้ให้บริการกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ และมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เป็นที่มาของแนวคิดการปรับปรุงจุดพักคอยผู้ขับและผู้ใช้เพื่อความสะดวกและเกิดทัศนียภาพที่สวยงาม บริเวณซอยสุขุมวิท 26 โดยกลุ่มสถาปนิกและนักออกแบบ A49 & Friends และการพัฒนาป้ายบอกคิวใช้บริการที่วินมอเตอร์ไซค์ คลองบางบัว โดย City Lab กรุงเทพมหานครระบบป้ายนำทางจักรยาน สภาพถนนของกรุงเทพฯ มีความหลากหลายสูง ทำให้การออกแบบเส้นทางสัญจรด้วยจักรยานในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน บางจุดควรเลี่ยงการปั่นบนถนนใหญ่ไปมุดตามซอกซอย บางจุดควรขึ้นบนฟุตบาท เป็นต้น ทำให้เกิดการทำลองทำข้อมูลเส้นทาง ข้อเสนอรูปแบบป้ายที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่แต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งรับความคิดเห็นจากผู้ชม แล้วให้ข้อมูลเส้นทาง + ทำป้ายสัญลักษณ์จริงเพื่อชวนให้ผู้ใช้จักรยาน (ทั้งที่เอามาเอง และใช้ bike sharing ที่กทม.กำลังจะติดตั้ง) เดินทางในพื้นที่ที่กำหนดภายในเทศกาลเพื่อทดลองและรับ feedback และนำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาต่อไป2. การทดลองปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ การทดลองใช้งานพื้นที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า เป็นพื้นที่สาธารณะ จากนโยบายการย้ายสำนักงานศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จากเสาชิงช้าไปที่ทำการดินแดง กลุ่ม Urban Ally จึงทดลองทำพื้นที่สาธารณะให้มีการใช้งานที่หลากหลาย นอกเหนือจากการปรับปรุงพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยติดตั้ง People Pavilion – the elevated ground โดยกลุ่ม SP/N x Nerd studio ไว้ในพื้นที่ส่วนกลางของศาลาว่าการฯ เพื่อเป็นพื้นที่นั่งเล่นพักผ่อนและทำกิจกรรม สนามเดินเล่นแบบถอดประกอบได้ การออกแบบพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างสำหรับปีนป่ายหรือเดินเล่นจากวัสดุที่สามารถถอดประกอบและปรับขนาดได้ตามพื้นที่ โดยกลุ่ม A49& Friend เพื่อให้ทางกรุงเทพมหานคร สามารถนำไปทดลองใช้งานในพื้นที่อื่น ๆ ที่ต้องการสิ่งปลูกสร้างที่ยืดหยุ่นตามขนาดพื้นที่และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โต๊ะพับ พร้อมร่ม ความร่วมมือระหว่างร้านผลิตร่ม ศิลป์เมือง และนักออกแบบ ease studio ภายใต้โครงการ Made in Hualampong โดยการเพิ่มฟังก์ชันให้เป็นที่นั่งที่ช่วยน้ำหนักขาตั้งของร่ม จึงไม่ต้องใช้แท่งปูนเป็นที่เสียบร่ม เมื่อร้านค้าริมทางเก็บร้าน จึงไม่เหลือแท่งปูนทิ้งไว้บนฟุตบาทหรือถนน เป็นทางเลือกสำหรับการพัฒนาร้านค้าริมทาง Pocket oasis gardenแนวคิดในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนหย่อมขนาดเล็ก ผนวกกับ Street Furniture ใช้งานในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้สามารถ ติดตั้ง เคลื่อนย้ายได้สะดวก มีการออกแบบโครงสร้างรองรับไม้เลื้อย เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตจนปกคลุมโครงสร้างทำให้เกิด Green shading ที่ทำหน้าที่ช่วยบังแดดและ สร้างสภาวะน่าสบายให้กับพื้นที่ใช้งานด้านล่าง ซึ่งเหมาะสมกับสภาพอากาศแบบเมืองร้อนของประเทศไทยPuppup space (ปุ๊บปั๊บสเปซ) The live parklet (Intervention) การทดลองออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กบนพื้นที่จอดรถ 2 – 3 ช่อง ภายใต้แนวคิด “การคืนพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า” โดยการเปลี่ยนพื้นที่ของรถให้กลายเป็นพื้นที่กิจกรรมของชุมชน หรือพื้นที่สาธารณะชั่วคราว สำหรับการพักผ่อน เป็นโครงการต่อยอดมาจากงานทดลองปรับปรุงพื้นที่ให้เอื้อต่อการเดินและการใช้จักรยาน โดยเพิ่มพื้นที่ทางเดิน กำหนดช่องจราจรให้ชัดเจน ช่วยลดความเร็วจราจรเพื่อความปลอดภัย ในชุมชนย่านเขตพระนคร3. การอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ อัณฑะเหมียวครองเมือง โดยจรจัดสรร นิทรรศการงานศิลปะเพื่อจัดการปัญหาน้องแมวจร โดยกลุ่มจรจัดสรร ที่นอกจากจะช่วยสร้างการรับรู้ถึงความจำเป็นในการทำหมันเพื่อคุมกำเนิดจำนวนประชากรแล้ว แต่ยังสามารถระดมทุนและช่วยหาบ้านอุปการะให้กับแมวอีกหลายตัว เป็นรูปแบบกิจกรรมที่กรุงเทพมหานครสามารถนำไปส่งเสริมให้เกิดขึ้นอีกในหลายพื้นที่บ้านนกบ้านกระรอก ถนนในกรุงเทพมหานครที่มีต้นไม้สองข้างทางมักเป็นที่อยู่ของนก กระรอก หรือสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ในเมือง A49& Friend จึงออกแบบบ้านเล็กๆ ที่ห้อยอยู่ตามต้นไม้ เพื่อเป็นที่อยู่ของสัตว์ตัวน้อยและสร้างความรื่นรมย์ให้กับผู้เดินเท้า–Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design matters27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
RUNIVERSE BKK 2592
RUNIVERSE BKK 2592เบื้องหลังภารกิจวิ่งเพื่อกอบกู้กรุงเทพฯ ให้รอดในอีก 30 ปีข้างหน้า หากอยากเริ่มต้นออกกำลังกาย ‘การวิ่ง’ คงเป็นสิ่งแรกที่หลายคนนึกถึง เพราะเป็นกีฬาที่ไม่ต้องใช้ทักษะเฉพาะตัวและอุปกรณ์มากนัก สำหรับมือใหม่ขอแค่มีรองเท้าผ้าใบกับใจถึงๆ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว เฟียต-ธนพงศ์ พานิชชอบ ผู้ร่วมก่อตั้ง YIMSAMER สตูดิโอออกแบบประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับศิลปะและการออกแบบ ก็เป็นคนหนึ่งที่เข้าสู่วงการวิ่งแบบเตาะแตะ ก่อนจะเอาจริงเอาจังมากขึ้น จนนำมาสู่การพัฒนาโปรเจกต์ RUNIVERSE BKK 2592 ที่เชิญชวนทุกคนมายืดเส้นยืดสายร่วมกันในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ครั้งนี้แต่ไม่ใช่งานวิ่งธรรมดา เพราะเป็นการวิ่งสำรวจกรุงเทพฯ ในอีก 30 ปีข้างหน้าที่ถูกเนรมิตขึ้นโดยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องสวมบทบาทเป็นหน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กร Bangkok Risk Zero ที่เดินทางไปยังโลกอนาคตในปี พ.ศ. 2592 เพื่อค้นหางานวิจัยที่สูญหายและหาวิธีกอบกู้เมืองจากวิกฤติสิ่งแวดล้อม ทั้งความแออัดของเมือง ภาวะโลกร้อน ปัญหาฝุ่น PM 2.5 พื้นที่ที่กลายเป็นชุมชนใต้น้ำ ซึ่งมีต้นตอมาจากการกระทำของพวกเราทุกคนที่จะส่งผลกระทบไปถึงอนาคตนักออกแบบที่ออกวิ่งเพื่อเยียวยาร่างกายและจิตใจ“ก่อนหน้านี้เฟียตทำงานหนักแล้วร่างกายกับสุขภาพจิตพังมาก จนกระทั่งเมื่อสามปีที่แล้วมีเพื่อนคนหนึ่งชวนไปวิ่ง ครั้งแรกวิ่งได้ประมาณสองกิโล เพซ 8-9 บางคนเดินยังไวกว่า แต่เราก็ซ้อมมาเรื่อยๆ และเริ่มจริงจังขึ้นในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เฟียตหันมาวิ่งเทรลและค้นพบว่ามันช่วยเติมพลังให้กับเราในหลายมิติ เลยอยากใช้งานนี้สื่อสารไปถึงเพื่อนๆ ศิลปินและนักออกแบบให้หันมาดูแลสุขภาพตัวเองกันบ้าง”“ตอนแรกเฟียตอยากจัดงานวิ่งในย่านเจริญกรุงแล้วมีภารกิจให้คนร่วมสนุก แต่จัดซิตี้รันไม่ได้เพราะมีฝุ่น PM 2.5 เลยเกิดไอเดียในการนำประเด็นนี้มาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเอาการวิ่งมารวมกับประสบการณ์อิมเมอร์ซีฟผ่านภาพเคลื่อนไหวและมัลติมีเดีย แล้วเฟียตก็ไปเจองานวิจัยของหน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เขาคาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ ในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเป็นยังไง ซึ่ง รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย เขายินดีสนับสนุนข้อมูลส่วนนี้ ให้เราเอามาทำเป็นงานออกแบบประสบการณ์แบบที่เราถนัดได้”ร่วมกับพาร์ตเนอร์ที่ทำให้วิ่งไปได้ไกลขึ้น“ชื่อเต็มๆ ของงานนี้คือ RUNIVERSE – IMMERSIVE RUNNING EXPERIENCE Powered by Amino Vital ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากบริษัทที่ผลิตเจลเพิ่มพลังงานสำหรับนักวิ่ง เขาฟังโปรเจกต์แล้วซื้อเลย เขาอยากช่วยผลักดันให้โปรเจกต์นี้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะอยากสร้างความตระหนักในกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนที่เป็นนักออกแบบ ให้หันมาเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย”“ผู้สนับสนุนรายต่อมาคือ Fitness First ฟังปุ๊บเขายินดีสนับสนุนลู่วิ่งทันทีเลยเหมือนกัน เพราะพวกศิลปินนักออกแบบเป็นกลุ่มที่เข้าถึงยากจริงๆ คนพวกนี้ดื้อมากหากจะชวนไปออกกำลังกายโดยไม่มีอะไรล่อ รูปแบบกิจกรรมจึงออกมาเป็นฟิตเนสเธียเตอร์ ที่เอาเรื่องการออกกำลังกายมาผนวกเข้ากับละครเวที ในห้อง Virtual Media Lab ของ CEA ซึ่งมีจอขนาดใหญ่มากๆ ที่วางระบบแสง สี เสียงเอาไว้ เราก็เอาลู่วิ่งเข้าไปวางและมีเทรนเนอร์มืออาชีพจาก Fitness First คอยนำกิจกรรมว่าตอนนี้ต้องวิ่งด้วยความเร็วเท่าไร ใช้ค่าความชันเท่าไร” “และเพื่อให้การสวมบทบาทเป็นหน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น เฟียตเลยชวนคุณงิ่ง-รัชชัย รุจิวิพัฒน์ จากคณะละครใบ้ Babymime มาช่วยเป็นแอ็กติ้งโค้ชให้กับเหล่าเทรนเนอร์ เพื่อให้เขาเข้าใจวิธีการสื่อสารแบบละครเวทีมากขึ้น นอกจากนี้ยังมี AssetWise ที่สนับสนุนงบประมาณและภาพอาคารต่างๆ ที่เรานำมาใช้ประกอบฉากด้วย”RUNIVERSE ยังคงรันต่อบนความเป็นไปได้ใหม่ๆ“โปรเจกต์นี้ถูกคิดเมื่อเดือนตุลาคม 2566 แล้วจะต้องเกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2567 เป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก ถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือจากผู้สนับสนุนและทีมเบื้องหลังที่เก่งขนาดนี้ คงเป็นไปได้ยากมากที่จะเอาประสบการณ์อิมเมอร์ซีฟมาผสมผสานกับกีฬาและละครเวที สิ่งหนึ่งที่อยากแชร์ในฐานะนักออกแบบ คือ ถ้าเรารู้จักเครือข่ายต่างๆ ในวงกว้างมากขึ้น สิ่งนี้จะสามารถเพิ่ม Potential ให้กับนักออกแบบหน้าใหม่ได้ เฟียตดีใจมากที่มันเกิดขึ้นแล้ว”“เฟียตมีโอกาสคุยกับผู้สนับสนุนบางท่านว่าโปรเจกต์นี้จะต่อยอดไปในทิศทางไหน อาจจะเป็นแอปพลิเคชันที่สร้างประสบการณ์อิมเมอร์ซีฟ หรือประยุกต์ไปเป็นคลาสออกกำลังกาย ซึ่งส่วนใหญ่เราคุยกันในแง่ของเครื่องมือ โดยที่คอนเทนต์ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่อง BKK 2592 เพราะคำว่า RUNIVERSE มันจะเป็นเวิร์สของยุคหิน ยุคไดโนเสาร์ หรือเวิร์สของอะไรก็ได้”ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/yimsamer–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
ExperienceScape ชุบชีวิตเมืองเก่าย่านพระนคร โดย Urban Ally และ DecideKit
ExperienceScape ชุบชีวิตเมืองเก่าย่านพระนคร สร้างความเป็นไปได้ใหม่ในการพัฒนาพื้นที่ โดย Urban Ally และ DecideKit‘ย่านพระนคร’ ถือเป็นอีกหนึ่งย่านที่โดดเด่นและถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ หลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ Urban Ally หรือ ศูนย์มิตรเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 ทางศูนย์ได้ทำการศึกษาวิจัยและลงพื้นที่สำรวจเมืองอย่างจริงจัง อีกทั้งยังจับมือกับพันธมิตรหลายฝ่าย ร่วมกันออกแบบเมืองให้น่าอยู่และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ย่านประวัติศาสตร์ ผ่านโปรเจกต์พัฒนาเมืองหลากหลายรูปแบบ รวมถึงรับหน้าที่เป็นโฮสต์ประจำย่านพระนคร ซึ่งครั้งนี้ Urban Ally ใช้ชื่อเทศกาลว่า ‘มิตรบำรุงเมือง LIVE’ ภายใต้ธีม Everyday-life Festival โดยมีจุดจัดกิจกรรมกระจายตัวรอบย่านพระนครมากถึง 19 สถานที่ จากกิจกรรมมากมายที่ Urban Ally ตะลุยทำทั่วย่านพระนคร ไฮไลต์สำคัญที่โดดเด่นจนไม่พูดถึงไม่ได้ คือ ‘ExperienceScape’ โปรเจกต์สร้างสีสันให้กับสถาปัตยกรรมและพื้นที่รกร้างในย่านเมืองเก่า ให้พื้นที่เหล่านี้กลับมามีชีวิตชีวาและได้รับความสนใจจากผู้คนอีกครั้ง ผ่านงานศิลปะ New Media Art และ Projection Mapping โดยมี DecideKit บริษัทออกแบบโมชันกราฟิกสัญชาติไทยที่โด่งดังไกลระดับโลกมาร่วมเป็นคิวเรเตอร์ รวมถึงได้รับความร่วมมือจากสตูดิโออื่นๆ อีกหลายแห่ง อาทิ Kor.Bor.Vor, The Motion House, Yellaban, Yimsamer และดีไซเนอร์ต่างชาติทั้งจากฝรั่งเศส มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ไฮไลต์สำคัญที่โดดเด่นจนไม่พูดถึงไม่ได้ของย่านพระนครในปีนี้ คือ ‘ExperienceScape’ โปรเจกต์สร้างสีสันให้กับสถาปัตยกรรมและพื้นที่รกร้างในย่านเมืองเก่า เปลี่ยนประสบการณ์เมืองเก่า สร้างบทสนทนาใหม่เรื่อง ‘พื้นที่สาธารณะ’อาจารย์พี – ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์มิตรเมือง เผยถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์ ExperienceScape ว่า “โปรเจกต์นี้เราทำขึ้นจากสองมุมมอง มุมแรกคือทำยังไงให้พื้นที่ในชีวิตประจำวันมีเสน่ห์มากขึ้น เราสามารถยืดเวลาการใช้งานสวนสาธารณะตอนกลางคืนได้ไหม ส่วนอีกมุมคือเราอยากทำให้คนสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ปิดร้างอย่างประปาแม้นศรี หรือพื้นที่ราชการบางแห่ง เราสามารถทำให้เป็นพื้นที่พลเมืองนอกเวลาราชการได้ไหม เราจึงทดลองผ่านเทศกาลว่าจะนำพื้นที่เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ยังไงบ้าง” “จุดมุ่งหมายของ ExperienceScape คือเราต้องการสร้างภาพจำและประสบการณ์ใหม่ให้กับย่านพระนคร โดยยังยึดโยงอยู่กับประวัติศาสตร์เดิมของพื้นที่ ซึ่ง Urban Ally รับหน้าที่รวบรวมเนื้อหาและวิเคราะห์คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม ส่วนบทบาทการคิวเรตจะเป็นทีม DecideKit กับ Kor.Bor.Vor ที่ชักชวนเครือข่ายศิลปินมาร่วมงาน เนื้อหาของแต่ละสถานที่ก็จะพูดถึงอดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่ศิลปินนำมาขยายความหรือตีความใหม่”“แนวคิดการพัฒนาเมืองผ่านเทศกาลทำให้เราเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อคนทั่วไปมากขึ้น เทศกาลเปิดโอกาสให้เราได้ทดลองสิ่งใหม่ๆ ในพื้นที่เหล่านี้ได้ อย่างศาลาว่าการกรุงเทพมหานครที่เป็นพื้นที่ปิด แต่เทศกาลทำให้เราเข้าไปจัดกิจกรรมในนั้นได้และสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับพื้นที่เมืองได้มากขึ้น” เล่าประวัติศาสตร์พื้นที่ด้วยศิลปะและเทคโนโลยีจิ๊บ – จันทร์เพ็ญ กูลแก้ว ผู้ก่อตั้ง DecideKit เล่าเสริมในมุมของการเป็นคิวเรเตอร์ผู้คัดสรรผลงานศิลปะ New Media Art และ Projection Mapping ในโปรเจกต์นี้ว่า “ปีนี้เรามีหัวเรือใหญ่อีกคนที่ทำงานร่วมกันคือ กบ Kor.Bor.Vor (พงษ์ภาสกร กุลถิรธรรม) และเราก็เลือกกลุ่มศิลปินที่ทำ Projection Mapping ทั้งในแง่คอมเมอร์เชียลและสายประกวดในต่างประเทศมาร่วมงาน ซึ่งแต่ละทีมมีคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันและเก่งทุกทีม ถ้าเขาทำงานไปโชว์ในต่างประเทศได้ ก็น่าจะมีพื้นที่ให้เขาได้โชว์งานในประเทศด้วยเหมือนกัน อย่าง DecideKit เราลองทำงานในตลาดต่างประเทศมาหลายปี เวลาเอางานไปโชว์ที่ต่างประเทศ คนมาดูงานกันเยอะมาก ในญี่ปุ่นขายบัตรก็เต็มทุกรอบ ยุโรปคนก็มาดูกันหนาแน่นทุกประเทศ ซึ่งคนไทยก็น่าจะอยากดูงานแบบนี้แต่ไม่ค่อยมีศิลปะให้เสพ เราเลยอยากกลับมาทำให้คนไทยเสพบ้าง” “ศิลปินแต่ละคนเขาพยายามเอาประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่มาสร้างงานเพื่อส่งต่ออนาคต อย่างเช่น ป้อมมหากาฬ The Motion House ก็ไปรีเสิร์ชมาว่าตรงนี้เคยเป็นโรงลิเก ผลงานเขาก็จะใช้แรงบันดาลใจจากสีของลิเก หรืออย่างอีกโปรเจกต์ที่เราทำร่วม Urban Ally ที่จังหวัดตรัง เราก็เอาเรื่องราวในท้องถิ่นขึ้นมาชู ทำให้คนที่มาดูงานสัมผัสได้เข้าใจง่าย ไม่แอ็บสแตร็กต์เกินจนเข้าไม่ถึง วันหนึ่งเราอาจจะทำงานที่หลากหลายกว่านี้ได้ แต่วันนี้ที่เราเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน การสื่อสารแบบตรงไปตรงมาน่าจะช่วยเปิดใจผู้รับสารได้มากกว่า” เรียนรู้อดีตเพื่อส่งต่ออนาคตเมื่อถามถึงครั้งแรกที่ลงพื้นที่ประปาแม้นศรี และได้เห็นหอเก็บน้ำคู่ที่ถูกปิดร้างมานาน ในมุมมองของนักออกแบบมีความรู้สึกอย่างไร จิ๊บตอบทันทีว่า “ทำเถอะ มันยูนีคมาก มันไม่ใช่โบสถ์ ไม่ใช่ตึก แต่เป็นสัญลักษณ์ที่เจ๋งมาก เราไม่เคยรู้เลยว่าตรงนี้มีแท็งก์ประปาสองแท็งก์ ถ้าอาจารย์พีไม่ชวนเข้ามาดู พอนั่งอ่านประวัติยิ่งทำให้รู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่างให้คนรับรู้ ที่นี่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ถึงเราสร้างสถาปัตยกรรมแบบนี้ขึ้นมาใหม่ก็ไม่ได้มีเรื่องราวและคุณค่าแบบนี้” “อย่างน้อยการเปิดพื้นที่นี้ขึ้นมาก็ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่ารากเหง้าของเราเป็นยังไง ถ้าเราเข้าใจรากเหง้าของตัวเองดี เราก็จะส่งต่อไปถึงอนาคตได้ดี สถานที่ทุกแห่งในเมืองเก่ามีคุณค่ามาก เพียงแค่เรามองเห็นหรือเปล่า เราเคยหันกลับไปมองไหม คุณค่าของสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถใช้เงินสร้างได้ มันคือเรื่องราวที่ผ่านกาลเวลา แล้วเวลาเป็นสิ่งที่ซื้อไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่สามารถสร้างสถานที่ที่มีความหมายแบบนี้ขึ้นมาได้”–Bangkok Design Week 2024Livable Scapeคนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape