ท่านกำลังเยี่ยมชมเทศกาลที่ผ่านมา เยี่ยมชมเทศกาลปัจจุบัน

ดีไซน์วีคแล้วไปไหน

เผยแพร่เมื่อ 10 months ago

ดีไซน์วีคแล้วไปไหน 

จากความตั้งใจของเทศกาลฯ ที่ให้โจทย์จริงจากกรุงเทพมหานคร (HACKBKK) และเปิด opencall เพื่อชวนนักสร้างสรรค์ มาร่วมกันคิด ทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาในมิติต่างๆ เพื่อให้เมืองน่าอยู่ยิ่งขึ้น มีหลากหลายผลงานนำเสนอแนวทางที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง จุดเสี่ยงภัย พื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ ขยะ มลพิษ กลุ่มเปราะบาง ไปจนถึงชุมชนเข้มแข็ง และสร้างจุดเด่นของย่าน

ทาง Bangkok Design Week จึงได้ส่งต่อให้กับทาง Bangkok City Lab ของกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาต่อให้เกิดการใช้งานจริง โดยทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไป 


1. การเดินทาง 


Go Go Bus 

บริการเดินรถไฟฟ้าขนาด 20 ที่นั่ง ที่มีการสำรวจเส้นทางใหม่เพื่อเชื่อมย่านเมืองเก่าจากเจริญกรุง-เยาวราช-พระนคร-นางเลิ้ง-ปากคลองตลาด ช่วยลดการใช้รถยนต์ในเขตเมืองเก่าที่มีที่จอดรถจำกัดและช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด โดยเป็นความร่วมมือของกลุ่มนักออกแบบMayday เครือข่ายบัสซิ่งจากขอนแก่น และบริษัท อรุณพลัส จำกัด


ที่พัก และป้ายบอกคิววินมอเตอร์ไซค์ 

มอเตอร์ไซค์เป็นการขนส่งที่เป็นเหมือนเส้นเลือดของการเดินทางในกรุงเทพฯ จึงมีผู้ให้บริการกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ และมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เป็นที่มาของแนวคิดการปรับปรุงจุดพักคอยผู้ขับและผู้ใช้เพื่อความสะดวกและเกิดทัศนียภาพที่สวยงาม บริเวณซอยสุขุมวิท 26 โดยกลุ่มสถาปนิกและนักออกแบบ A49 & Friends และการพัฒนาป้ายบอกคิวใช้บริการที่วินมอเตอร์ไซค์ คลองบางบัว โดย City Lab กรุงเทพมหานคร


ระบบป้ายนำทางจักรยาน

สภาพถนนของกรุงเทพฯ มีความหลากหลายสูง ทำให้การออกแบบเส้นทางสัญจรด้วยจักรยานในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน บางจุดควรเลี่ยงการปั่นบนถนนใหญ่ไปมุดตามซอกซอย บางจุดควรขึ้นบนฟุตบาท เป็นต้น ทำให้เกิดการทำลองทำข้อมูลเส้นทาง ข้อเสนอรูปแบบป้ายที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่แต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งรับความคิดเห็นจากผู้ชม แล้วให้ข้อมูลเส้นทาง + ทำป้ายสัญลักษณ์จริงเพื่อชวนให้ผู้ใช้จักรยาน (ทั้งที่เอามาเอง และใช้ bike sharing ที่กทม.กำลังจะติดตั้ง) เดินทางในพื้นที่ที่กำหนดภายในเทศกาลเพื่อทดลองและรับ feedback และนำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาต่อไป


2. การทดลองปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ 


การทดลองใช้งานพื้นที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า เป็นพื้นที่สาธารณะ

จากนโยบายการย้ายสำนักงานศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จากเสาชิงช้าไปที่ทำการดินแดง กลุ่ม Urban Ally จึงทดลองทำพื้นที่สาธารณะให้มีการใช้งานที่หลากหลาย นอกเหนือจากการปรับปรุงพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยติดตั้ง People Pavilion – the elevated ground โดยกลุ่ม SP/N x Nerd studio ไว้ในพื้นที่ส่วนกลางของศาลาว่าการฯ เพื่อเป็นพื้นที่นั่งเล่นพักผ่อนและทำกิจกรรม


สนามเดินเล่นแบบถอดประกอบได้

การออกแบบพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างสำหรับปีนป่ายหรือเดินเล่นจากวัสดุที่สามารถถอดประกอบและปรับขนาดได้ตามพื้นที่ โดยกลุ่ม A49& Friend เพื่อให้ทางกรุงเทพมหานคร สามารถนำไปทดลองใช้งานในพื้นที่อื่น ๆ ที่ต้องการสิ่งปลูกสร้างที่ยืดหยุ่นตามขนาดพื้นที่และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้


โต๊ะพับ พร้อมร่ม 

ความร่วมมือระหว่างร้านผลิตร่ม ศิลป์เมือง และนักออกแบบ ease studio ภายใต้โครงการ Made in Hualampong โดยการเพิ่มฟังก์ชันให้เป็นที่นั่งที่ช่วยน้ำหนักขาตั้งของร่ม จึงไม่ต้องใช้แท่งปูนเป็นที่เสียบร่ม เมื่อร้านค้าริมทางเก็บร้าน จึงไม่เหลือแท่งปูนทิ้งไว้บนฟุตบาทหรือถนน เป็นทางเลือกสำหรับการพัฒนาร้านค้าริมทาง


Pocket oasis garden

แนวคิดในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนหย่อมขนาดเล็ก ผนวกกับ Street Furniture ใช้งานในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้สามารถ ติดตั้ง เคลื่อนย้ายได้สะดวก มีการออกแบบโครงสร้างรองรับไม้เลื้อย เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตจนปกคลุมโครงสร้างทำให้เกิด Green shading ที่ทำหน้าที่ช่วยบังแดดและ สร้างสภาวะน่าสบายให้กับพื้นที่ใช้งานด้านล่าง ซึ่งเหมาะสมกับสภาพอากาศแบบเมืองร้อนของประเทศไทย


Puppup space (ปุ๊บปั๊บสเปซ) The live parklet (Intervention)

การทดลองออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กบนพื้นที่จอดรถ 2 – 3 ช่อง ภายใต้แนวคิด “การคืนพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า” โดยการเปลี่ยนพื้นที่ของรถให้กลายเป็นพื้นที่กิจกรรมของชุมชน หรือพื้นที่สาธารณะชั่วคราว สำหรับการพักผ่อน เป็นโครงการต่อยอดมาจากงานทดลองปรับปรุงพื้นที่ให้เอื้อต่อการเดินและการใช้จักรยาน โดยเพิ่มพื้นที่ทางเดิน กำหนดช่องจราจรให้ชัดเจน ช่วยลดความเร็วจราจรเพื่อความปลอดภัย ในชุมชนย่านเขตพระนคร


3. การอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ 


อัณฑะเหมียวครองเมือง โดยจรจัดสรร 

นิทรรศการงานศิลปะเพื่อจัดการปัญหาน้องแมวจร โดยกลุ่มจรจัดสรร ที่นอกจากจะช่วยสร้างการรับรู้ถึงความจำเป็นในการทำหมันเพื่อคุมกำเนิดจำนวนประชากรแล้ว แต่ยังสามารถระดมทุนและช่วยหาบ้านอุปการะให้กับแมวอีกหลายตัว เป็นรูปแบบกิจกรรมที่กรุงเทพมหานครสามารถนำไปส่งเสริมให้เกิดขึ้นอีกในหลายพื้นที่


บ้านนกบ้านกระรอก 

ถนนในกรุงเทพมหานครที่มีต้นไม้สองข้างทางมักเป็นที่อยู่ของนก กระรอก หรือสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ในเมือง A49& Friend จึงออกแบบบ้านเล็กๆ ที่ห้อยอยู่ตามต้นไม้ เพื่อเป็นที่อยู่ของสัตว์ตัวน้อยและสร้างความรื่นรมย์ให้กับผู้เดินเท้า


Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี

hard matters . heart matters . design matters

27 Jan – 4 Feb 2024


#BKKDW2024

#BangkokDesignWeek

#LivableScape




แชร์