Sponsor Highlight #1 AP
AP Thai + Natureเจอนก JOURNEY ที่หย่อมป่าSpot the Birds at the Habitat Networkในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แค่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองก็ว่ายากแล้ว แต่สิ่งที่โครงการ ‘หย่อมป่า’ ของ AP Thai ตั้งใจทำมากไปกว่านั้นคือการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) โดยมีตัววัดผลง่าย ๆ คือการกลับมาของบรรดานกอพยพพันธุ์ต่าง ๆ ที่สูญหายไปจากท้องฟ้าของกรุงเทพฯ ยังก่อน สำหรับคอดูนกยังไม่จำเป็นต้องพกกล้องส่องทางไกลมาในงาน Bangkok Design Week (BKKDW) เพราะเราอาจต้องใช้เวลาในการปลุกปั้นหย่อมป่ากันอีกนิด แต่สิ่งที่ทุกคนจะได้พบแน่ ๆ ในงานนี้คือนิทรรศการที่จะเล่าให้เราฟังว่า 3 ปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการสร้างหย่อมป่าให้เกิดขึ้นจริงนั้นมีอะไรบ้างโดยทั้งหมดจะถูกนำเสนอผ่านกิจกรรม Edutainment Activity อย่าง ‘Layered Stamp Rally’ ให้ทุกคนได้เดินเก็บตราประทับแต่ละเลเยอร์จนครบ หรือ ‘หย่อมป่า Gashapon’ บรรจุโมเดลนกหลากสายพันธุ์พร้อมกับ mini bird map ที่บอกเล่าเส้นทางการอพยพของนก รวมถึงหย่อมป่าในจุดต่าง ๆ ที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในขณะนี้มาทำความรู้จักกับหย่อมป่า เพื่อเตรียมต้อนรับการกลับมาของนกบนท้องฟ้ากรุงเทพฯ กันได้ที่ Bangkok Design Week 2025 ‘Design Up+ Rising : ออกแบบพร้อมบวก+’ ณ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่วันที่ 8-16 กุมภาพันธ์ 2025 ดูข้อมูลเพิ่มเติมของ ‘หย่อมป่า’ ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/124900#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก
Influencer Pick #5 สาย Design
ในปัจจุบันงานดีไซน์และไลฟ์สไตล์ของผู้คน ถือเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เพราะดีไซน์ไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงามหรือฟังก์ชันการใช้งานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ของผู้คนในยุคปัจจุบัน และยังสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเรื่อง“สําหรับผมหัวใจของงานดีไซน์ มันเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์อยู่แล้ว แทบจะไม่ได้สั่นคลอนกับยุคสมัยเลย ตราบใดที่มนุษย์ยังเดินไปข้างหน้า เพื่อหาสิ่งที่ดีขึ้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นส่วนรวมหรือส่วนตัว”‘อาจารย์ติ๊ก’ หรือ ‘สันติ ลอรัชวี’ เล่าให้เราฟังถึงแนวคิดที่ว่าปัจจุบันงานดีไซน์และไลฟ์สไตล์นั้น ถูกเชื่อมโยงให้เข้ากับทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านแนวคิดและผลงานของเขาอยู่เสมอหากย้อนมองกลับไปตั้งแต่นิทรรศการ ผลงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา หรือการเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง PS±D Practical school of design เราก็จะพบว่าจุดประสงค์หรือแนวคิดของอาจารย์ติ๊กคือการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับทุกเรื่องได้ เช่นเดียวกันกับ Bangkok Design Week ปีนี้ที่อาจารย์ติ๊กก็ถือเป็นหนึ่งศิลปินที่มีส่วนร่วมในเทศกาลฯ เช่นกันโค้งสุดท้ายก่อนจะไปเริ่มบวก+ พร้อมกันในงานเทศกาลฯ เราจึงขอพาทุกคนไปพูดคุยกับอาจารย์ติ๊ก ถึงภาพรวมของวงการการออกแบบในไทย และเรียนรู้งานดีไซน์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ผ่านโปรแกรมใน Bangkok Design Week ที่คัดเลือกและร่วมสร้างสรรค์โดยอาจารย์ติ๊ก📍8-16 กุมภาพันธ์ ที่ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด, และพื้นที่อื่นๆ 📍15 – 23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านพระนคร, บางลำพู – ข้าวสาร, และพื้นที่อื่นๆ 📍เฉพาะเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านหัวลำโพง, บางโพ, และพื้นที่อื่นๆ#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวกในปัจจุบันวิถีชีวิตของมนุษย์มีความเร่งรีบมากขึ้น รวมถึงวิถีชีวิตที่ยึดติดกับเรื่องของเทคโนโลยีมากเกินไป จนลืมวิถีชีวิตดั้งเดิมและสิ่งรอบตัวไป สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจ ทั้งยังสะท้อนถึงความเครียดที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้เกิดโปรแกรมที่ชื่อว่า ‘Look Up’ ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่าง เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Fast Space Design และ PS±D Practical school of design“Look Up เป็นโปรแกรมที่พยายามจะให้เราได้ออกจากสิ่งที่รบกวนเรา ก็คือโทรศัพท์ โดยเฉพาะในโลกที่มันเปลี่ยนแปลงไปหลังโควิด แล้วก็ความเร่งรีบในการใช้ชีวิต พฤติกรรมของคนหรืออะไรต่าง ๆ เนี่ย เพราะฉะนั้น ในโปรแกรมมันก็จะมีกิจกรรมหรือกระบวนการในการออกแบบ ที่พยายามจะทําให้คนเข้ามาฟังหรือว่าคนเข้ามาร่วมเวิร์กช็อปเนี่ย ได้เห็นมุมมองในการที่พยายามจะกลับไปดีไซน์ชีวิตประจําวันตัวเองอย่างไร ให้มันสามารถที่จะควบคุมหรือว่ารับมือกับสิ่งที่เรียกร้องเราอยู่ตลอดเวลาได้”“โปรแกรมนี้เราทำร่วมกับ Fast Space Design ของ Ryosuke Ebisawa ซึ่งเขาก็จะมาแชร์เรื่องของมุมมองในการจัดการเรื่องชีวิตประจําวัน รวมถึงพื้นที่ในการทํางานที่เป็นบริบทของปัจจุบัน ส่วนผมก็จะพูดในมุมของ Graphic Design หรือ Communication Design ที่สิ่งเหล่านี้ก็มีผลสำคัญต่อไลฟ์สไตล์และการทำงานของผู้คนในปัจจุบันเหมือนกัน”ซึ่งอาจารย์ติ๊กมองว่างานดีไซน์ในปัจจุบัน นอกจากจะต้องสวยงามและตอบโจทย์ต่อการใช้งานแล้ว งานดีไซน์ที่ดีจะต้องสามารถตอบโจทย์ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ดังที่เราเห็นวิถีชีวิตของผู้คนในกรุงเทพฯ ที่เร่งรีบมากขึ้น และรวดเร็วมากขึ้น เพราะฉะนั้นนอกจากผู้คนในวงการดีไซน์จะต้องซัพพอร์ตไลฟ์สไตล์มนุษย์แล้ว ผู้คนเองก็ต้องสามารถดีไซน์ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ด้วยเช่นกัน📍LOOK UPFast Space Design + PS±D Practical school of designย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยTCDC กรุงเทพฯ15 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/106827ทุกปีที่ผ่านมา Bangkok Design Week เราได้พยายามที่จะแบ่งปันและนำเสนองานดีไซน์ ที่จะสามารถบอกเล่าถึงอดีตและปัจจุบัน รวมถึงสะท้อนเอกลักษณ์ของผู้คนในพื้นที่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงมักจะเห็นผลงานดีไซน์ที่หลากหลายผ่านโปรแกรมต่าง ๆ อยู่เสมอหนึ่งในนั้นคือโปรแกรมที่ชื่อว่า ‘จิบกาแฟฟังเรื่องเล่า ตามรอยอักษรจากงานเขียนสู่งานพิมพ์’ ที่เป็นการเสวนาแบ่งปันความรู้และมุมมองเกี่ยวกับการเดินทางของตัวอักษรไทย และสิ่งพิมพ์ กราฟฟิกต่าง ๆ ต้้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากวิธีเขียนด้วยมือมาสู่การพิมพ์ด้วยเครื่องจักร ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะทำให้เราเห็นว่าในเทศกาลฯนี้เราก็ยังคงให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของวงการการออกแบบในด้านต่าง ๆ อยู่“โปรแกรมของ Craftsman Roastery เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ดูน่าสนุก เพราะเราจะได้ฟังเรื่องเก่าต่าง ๆ ทั้งมุมมองและการเปลี่ยนแปลงไปของรูปแบบอักษรไทย และเชื่อมโยงมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งระหว่างฟังเราก็จิบกาแฟไปด้วย และนั่งฟังไปด้วยท่ามกลางบรรยากาศของคราฟส์แมนโรสเตอรี่ที่เชื่อมกันกับเรื่องราวที่เราจะเล่า”โดยในโปรแกรมนี้จะมีคุณเอนก นาวิกมูล มาแชร์มุมมองถึงจุดเชื่อมโยงระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ร่วมกันกับอาจารย์ติ๊ก โดยที่ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบตัวอักษรไทย และผลกระทบที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย📍จิบกาแฟฟังเรื่องเล่า “ตามรอยอักษรจากงานเขียนสู่งานพิมพ์”Craftsman Roasteryย่านพระนครคราฟส์แมนโรสเตอรี่ สาขาโอลด์ทาวน์16 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/123930“ผมคิดว่าน่าสนใจที่สมาคมนำโปรแกรมนี้กลับมานำเสนออีกครั้ง เพราะตั้งแต่สมาคมก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2552 ก็จะเห็นว่า ปัจจุบันนิยามของคำว่ากราฟิกดีไซน์มันถูกขยับขยายออกไปไกลมาก ๆ ในหลากหลายแง่มุม”อาจารย์ติ๊กเล่าให้เราฟังถึงโปรแกรมที่ชื่อว่า We are Thai Graphic Designers เป็นโปรแกรมที่ต่อยอดมาจาก ‘I am a Thai Graphic Designer’ ซึ่งเริ่มและดำเนินการโดย PRACTICAL Design Studio ในปี 2552 โดยชวนให้นักออกแบบกราฟิกไทยออกมานำเสนอตัวตนและการมีอยู่ของวิชาชีพกราฟิก และสื่อถึงความพร้อมของเครือข่ายนักออกแบบกราฟิก ที่นำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาชีพเพื่อเป็นกำลังสำคัญหนึ่งของสังคมต่อไปซึ่งแน่นอนว่าโปรแกรมนี้ นอกจากจะเป็นการที่เราจะได้เปิดรับมุมมองใหม่ ๆ ผ่านการนำเสนอตัวตนและการมีอยู่ของวิชาชีพกราฟิกแล้ว ยังทำให้เราสามารถมองเห็นถึงพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับวงการกราฟิกไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และในอนาคตจะมีแนวโน้มไปในทิศทางไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราจะได้เห็นใน Bangkok Design Week ที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน📍We are Thai Graphic DesignersThaiGaย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยอาคารเวิลด์ แทรเวล เซอร์วิส (ปันยารชุน)08 – 16 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/109616#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก
Visitor Guide
Visitor Guideแจกคู่มือเที่ยวชมงาน Bangkok Design Week 2025อีกไม่กี่วัน Bangkok Design Week 2025 ภายใต้ธีม ‘Design Up+ Rising : ออกแบบพร้อมบวก+’ ก็กำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว สำหรับใครที่ยังไม่พร้อมหรือไม่รู้จะเริ่มยังไง วันนี้เรามาแจก Visitor Guide คู่มือสำหรับเที่ยวชมงาน ให้ทุกคนได้พกเก็บไว้ก่อนลุย 7+ ย่านสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025เจอกับ Bangkok Design Week 2025 พร้อมกัน 8-23 กุมภาพันธ์นี้📌 8-16 กุมภาพันธ์ ที่ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด, และพื้นที่อื่น ๆ📌 15-23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านพระนคร, บางลำพู – ข้าวสาร, และพื้นที่อื่น ๆ📌 เฉพาะเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านหัวลำโพง, บางโพ, และพื้นที่อื่น ๆ#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวกพร้อมจัดเต็มเป็น 2 Phases ให้ทุกคนได้บวก+ ทุกงานดีไซน์อย่างทั่วถึงBangkok Design Week 2025 เราได้แบ่งช่วงเวลาของเทศกาลฯออกเป็น 2 Phase เพื่อให้ทุกคนได้เดินดูงานดีไซน์และลุยโปรแกรมต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง ตลอดระยะเวลาที่จัดงานเทศกาลฯตั้งแต่วันที่ 8-23 กุมภาพันธ์ นี้ โดยเราได้แบ่ง Phase และย่านออกเป็นดังนี้📌8-16 กุมภาพันธ์ 2568ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด, และพื้นที่อื่น ๆ📌15-23 กุมภาพันธ์ 2568ย่านพระนคร, บางลำพู – ข้าวสาร, และพื้นที่อื่น ๆ📌เฉพาะเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 กุมภาพันธ์ 2568ย่านหัวลำโพง, บางโพ, และพื้นที่อื่น ๆจัดเต็ม 7+ ย่านสร้างสรรค์เตรียมสำรวจงานออกแบบ พร้อมบวก+ทั่วกรุงเทพฯสำหรับ Bangkok Design Week ปีนี้ เรามีพื้นที่จัดเทศกาลฯ มากถึง 7+ ย่านสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละย่านก็จะรวบรวมงานดีไซน์และโปรแกรมไฮไลต์ที่ยังคงเอกลักษณ์ของย่านนั้น ๆ ไว้แบบจัดเต็ม ซึ่งสำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะไปบวก+ ที่ย่านไหน หรือยังไม่รู้ว่าย่านนั้นมีอะไรบ้าง ในโพสต์นี้เราได้พกลิงก์ของแต่ละย่านมาให้ทุกคนได้เช็กลิสต์ ก่อนจะไปลุยพร้อมกันในวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้📌เจริญกรุง – ตลาดน้อย (Charoenkrung – Talat Noi)https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program?nbh=280ติดตามเรื่องราวของย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย ได้ที่:Follow the story of Charoenkrung-Talat Noi District hereCharoenkrung Creative Districtwww.facebook.com/CharoenkrungCDTalatnoi Community – วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย www.facebook.com/taladnoijourneyตะลักเกี้ยะ Friendly Market www.facebook.com/talakkia.friendlymarketสำนักงานเขตบางรัก BangRak District Office www.facebook.com/BangkokBangRak📌เยาวราช – ทรงวาด (Yaowarat – Song Wat)https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program?nbh=49827ติดตามเรื่องราวของย่านเยาวราช – ทรงวาด ได้ที่:Follow the story of Yaowarat – Song Wat District hereMade in Song Wat www.facebook.com/profile.php?id=100086192092116Trawell Thailandhttps://www.facebook.com/TrawellthailandSTRN Citizen Labhttps://www.facebook.com/share/1Q8itPoAMT/?mibextid=wwXIfr 📌ปากคลองตลาด (Pak Khlong Talat)https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program?nbh=50632ติดตามเรื่องราวของย่านปากคลองตลาด ได้ที่:Follow the story of Pak Khlong Talat District hereHumans of Flower Market : มนุษย์ปากคลองฯhttps://www.facebook.com/manuspakkhlong📌พระนคร (Phra Nakhon)https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program?nbh=49828ติดตามเรื่องราวของย่านพระนคร ได้ที่Follow the story of Phra Nakhon District hereUrban Allyhttps://www.facebook.com/UrbanAlly.SU📌บางลำพู – ข้าวสาร (Bang Lamphu – Khao San)https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program?nbh=106531ติดตามเรื่องราวของย่านบางลำพู – ข้าวสาร ได้ที่:Follow the story of Bang Lamphu – Khao San District hereเสน่ห์บางลำพู https://www.facebook.com/sanaebanglamphu📌หัวลำโพง (Hua Lamphong)https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program?nbh=49826ติดตามเรื่องราวของย่านหัวลำโพง ได้ที่:Follow the story of Hua Lamphong District hereRTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอก https://www.facebook.com/rtusbangkok📌บางโพ (Bang Pho)https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program?nbh=49831ติดตามเรื่องราวของย่านบางโพ ได้ที่:Follow the story of Bang Pho District hereBangphowoodstreethttps://www.facebook.com/bangphowoodstreet.thพื้นที่อื่น ๆ (Others)https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/guide/venues-bkkdw?nbh=284 ค้นหาโปรแกรมน่าบวก+ได้ง่ายๆด้วยฟิลเตอร์บนเว็บไซต์ Bangkok Design WeekBangkok Design Week ธีม ‘Design Up+ Rising : ออกแบบพร้อมบวก+’ เราพกโปรแกรมน่าสนใจมามากกว่า 350+ โปรแกรม ใน 7 ย่านหลักและพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็น การจัดแสดงและนิทรรศการ เสวนา ตลาดงานดีไซน์ ดนตรีและการแสดง ทัวร์ อีเวนท์ โปรโมชั่น และสารพัดเวิร์กช็อปสำหรับทุกคนเข้าไปดูรายละเอียดแต่ละโปรแกรมได้ที่ https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/programโดยคุณสามารถใช้ฟิลเตอร์เลือกค้นหาโปรแกรมต่าง ๆ ตามที่สนใจได้อย่างง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น• วันที่และเวลาที่สนใจ (ตั้งแต่วันที่ 8-23 กุมภาพันธ์ 2025 เท่านั้นนะ)• ประเภทของกิจกรรม• สถานที่จัดงาน 7 ย่านหลัก และพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพฯเลือกเซฟโปรแกรม Bangkok Design Week 2025 ที่ถูกใจด้วยการใช้ฟีเจอร์ MY PLAN ❤︎– เข้าไปที่เว็บไซต์ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/programแล้วมองหาโปรแกรมที่ถูกใจ โดยการเลือกจากวันที่จัด ประเภทงาน สถานที่ หรือค้นหาจากคีย์เวิร์ด– เมื่อเจอโปรแกรมที่ใช่แล้ว ให้กด ❤︎ เพื่อบันทึกโปรแกรมที่อยากบวก+ลงใน MY PLAN– กด ❤︎ มุมขวาบน เพื่อย้อนกลับไปดูโปรแกรมน่าบวก+ ที่เราบันทึกไว้ พร้อมเช็คโลเคชันที่เชื่อมต่อกับ Google Map– เท่านี้ก็สามารถเดินออกจากบ้าน ไปพร้อมบวก+งานที่ชอบได้อย่างง่าย ๆ ไม่มีหลงแผนที่ Interactive ใช้ง่าย ไม่หลง ไม่ต้องโหลดแอปด้วยแพลตฟอร์ม happining.city– กดเข้าแพลตฟอร์ม https://happinning.city/bkkdw/2025 และเลือกย่านที่อยากไปบนแผนที่ ซึ่งแผนที่จะโชว์ไอคอนที่บ่งบอกประเภทงาน โดยสามารถคลิกเข้าไปเพื่อดูภาพและอ่านรายละเอียดของแต่ละโปรแกรมได้ -หรือเลือกค้นหาโปรแกรมแบบเฉพาะเจาะจง โดยกดฟิลเตอร์ด้านขวาบน เช่น ตามประเภทงาน ตามวันที่ งานไฮไลท์ งานที่เกิดตอนนี้ ไปจนถึงโปรแกรมยอดฮิต– เรายังสามารถกดดูความรู้สึก ข้อเสนอแนะ การแจ้งเตือน และประสบการณ์ของผู้ชมในแต่ละสถานที่และโปรแกรมได้อีกด้วย พร้อมสามารถแชร์ประสบการณ์ร่วมกับคนอื่นได้ ไปจนถึงปักหมุดกิจกรรมเพื่อแจ้งกิจกรรมที่กำลังเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์รวมวิธีเดินทางเพื่อลุย 7 ย่านในเทศกาลฯผ่านรถไฟฟ้า รถใต้ดินและเรือโดยสารทั่วกรุงเทพฯเพียงแค่เซฟภาพนี้ไว้ คุณก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินทางไปยังย่านต่าง ๆ ในช่วงเทศกาล Bangkok Design Week 2025 อีกต่อไป โดยทุกย่านสามารถเดินทางได้ง่าย ๆ ผ่านรถไฟฟ้า BTS และ MRT หรือจะเป็นเรือโดยสารทั่วกรุงเทพฯรายละเอียดการเดินทางอื่น ๆ ดูเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์📌การเดินทางย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย (อาคารไปรษณีย์กลาง)Charoenkrung – Talat Noi (Bangkok Grand Postal Building)https://www.bangkokdesignweek.com/en/bkkdw2025/guide/venues?nbh=280📌การเดินทางย่านเยาวราช – ทรงวาดYaowarat – Song Wathttps://www.bangkokdesignweek.com/en/bkkdw2025/guide/venues?nbh=49827📌การเดินทางย่านปากคลองตลาดPak Khlong Talathttps://www.bangkokdesignweek.com/en/bkkdw2025/guide/venues?nbh=50632📌การเดินทางย่านพระนคร (มหาวิทยาลัยศิลปากร, ลานคนเมือง, ประปาแม้นศรี)Phra Nakhon (Silpakorn University, Lan Khon Mueang, The Maen Si Metropolitan Waterworks Authority Office)https://www.bangkokdesignweek.com/en/bkkdw2025/guide/venues?nbh=49828📌การเดินทางย่านบางลำพู – ข้าวสารBang Lamphu – Khao Sanhttps://www.bangkokdesignweek.com/en/bkkdw2025/guide/venues?nbh=106531📌การเดินทางย่านหัวลำโพงHua Lamphonghttps://www.bangkokdesignweek.com/en/bkkdw2025/guide/venues?nbh=49826📌การเดินทางย่านบางโพ Bang Phohttps://www.bangkokdesignweek.com/en/bkkdw2025/guide/venues?nbh=49831นอกจากนี้ยังมีบริการขนส่งอื่น ๆ ที่คอยให้บริการในทุกย่านที่จัดเทศกาลฯ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi รถขนส่งระดับย่าน Go Go Bus เช่าจักรยานที่สถานี Anywheel หรือจะปั่นตามกันแบบมีคนนำขบวนกับ Bike Bus ก็ถือเป็นอีกหลายทางเลือกสำหรับคนที่อยากมาบวก+ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ที่กำลังจะถึงนี้🚌 Free Shuttle Bus : บริการรถบัสรับส่งฟรี เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ร่วมชมงานให้สามารถเดินทางไปชมงานในเส้นทาง MMAD ศรีนครินทร์ ย่านหัวลำโพง ย่านทรงวาด และ TCDC กรุงเทพฯ โดยบริการเฉพาะทุกวันเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 ก.พ. เวลา 13.10-20.00 น. เท่านั้น📌จุดจอดที่ 1: MMAD ศรีนครินท์รอบรถออก 13.10 / 14.40 / 15.50 / 17.20 / 18.30 / 20.00 น.📌จุดจอดที่ 2: หัวลำโพงรอบรถออก 13.45 / 15.15 / 16.25 / 17.55 / 18.45 น.📌จุดจอดที่ 3: ถนนทรงวาดรอบรถออก 14.00 / 15.30 / 16.40 / 18.10 / 19.00 น.📌จุดจอดที่ 4: TCDC กรุงเทพฯรอบรถออก 13.35 / 14.45 / 16.15 / 17.25 / 18.55 / 19.45 น.พิเศษ! สำหรับผู้ใช้งาน MuvMi และ Anywheel วันนี้เรามีโปรโมชันพิเศษสำหรับใครที่กำลังเตรียมตัวไปงาน Bangkok Design Week ด้วย– ผู้ใช้ MuvMi สามารถใช้โค้ด BKKDW25 เพื่อรับส่วนลด 20% ต่อทริป สำหรับเดินทางไป Hop Point ในรัตนโกสินทร์ วงเวียนใหญ่ และบางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 8-23 ก.พ. 2568 นี้เท่านั้น!– ผู้ใช้ Anywheel สามารถรับคูปองและโค้ดส่วนลดได้ที่ Info Center เทศกาลฯ และแอปฯ Anywheel (จำนวนจำกัด)แผนที่ เจริญกรุง-ตลาดน้อย แผนที่ เยาวราช – ทรงวาด แผนที่ ปากคลองตลาด แผนที่ พระนครแผนที่ บางลำพู – ข้าวสาร แผนที่ หัวลำโพง แผนที่ บางโพย่านสร้างสรรค์อื่น ๆใน Bangkok Design Week 2025 นี้ เรามาพร้อมกับธีม ‘Design Up+ Rising : ออกแบบพร้อมบวก+’ เพื่อให้ทุกคนได้เดินดูงานดีไซน์ได้อย่างสร้างสรรค์แล้ว มาดูกันว่าเราจะเที่ยวงาน Bangkok Design Week อย่างไร ให้เกิดพลังบวก+ต่อสิ่งรอบตัวและคนรอบข้าง ได้บ้าง?🙏เรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลายเพราะเมืองของเราเต็มไปด้วยความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม การเรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิตที่แตกต่างกันในแต่ละสถานที่จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เราขอความร่วมมือในการแต่งกายด้วยชุดสุภาพหากต้องเดินเข้าชมงานในศาสนสถาน เพื่อเป็นการให้เกียรติสถานที่🚌ใช้ขนส่งสาธาณะ ลดมลภาวะสถานที่จัดงานบางจุดอาจเข้าถึงด้วยรถยนต์ยากสักหน่อย แต่คุ้มค่ากับการไปเยือนแน่นอน การใช้ขนส่งสาธารณะจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และช่วยลดปัญหามลพิษด้วยนะ🚶เดินบนเส้นทางที่กำหนด ไม่บุกรุกพื้นที่ส่วนตัวผู้อื่นหลายสถานที่จัดงานตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ดังนั้นการเข้าชมงานจึงควรเคารพความเป็นส่วนตัวของเจ้าบ้าน ระวังเรื่องการขวางทางเข้า-ออกและการรุกล้ำพื้นที่ส่วนบุคคลด้วย🗣️ไม่ส่งเสียงดังหลายสถานที่จัดงานตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ดังนั้นการเข้าชมงานจึงควรเคารพความเป็นส่วนตัวของเจ้าบ้าน เพราะฉะนั้นระวังการส่งเสียงดังรบกวนจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะหากสถานที่จัดงานใกล้กับศาสนสถาน🤳ไม่ถ่ายรูป-คลิปติดหน้าคนอื่นโดยไม่ได้รับการยินยอมเนื่องจากในปัจจุบันกฏหมายเรื่อง PDPA ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและต้องระวัง เพราะฉะนั้นการจะถ่ายรูปหรือทำคอนเทนต์ที่มีใบหน้าของคนอื่นติดอยู่ภาพถ่ายหรือคลิปของเรา เราควรจะขออนุญาตคน ๆ นั้นก่อน🚦ระวังกีดขวางทางจราจรเนื่องจากกิจกรรมและโปรแกรมต่าง ๆ จะจัดแสดงอยู่ในพื้นที่สาธารณะ การเดินชมงานในเทศกาลฯจึงไม่ควรขัดขวางการจราจร เพื่อความปลอดภัยของเราและเพื่อนร่วมถนน🏡ไม่ถ่ายภาพเข้าไปในบ้านผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนอกจากต้องระวังเรื่องของการถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปติดหน้าผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมแล้ว การถ่ายภาพหรือคลิปเข้าไปในบ้านของผู้อื่นก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะพื้นที่เหล่านั้นถือเป็นพื้นที่ส่วนตัว อย่างไรก็ตามก่อนจะถ่ายก็ควรขออนุญาตก่อน🗑️ทิ้งขยะเป็นที่คนละไม้ คนละมือ ก็สามารถลดจำนวนปริมาณขยะได้มหาศาล มาเป็นจุดเริ่มต้นสร้างเมืองที่น่าอยู่โดยการช่วยลดขยะผ่านวิธีการง่ายๆ อย่างการพกกระติกน้ำ นำภาชนะมาใส่อาหาร พร้อมปฏิเสธการรับถุงพลาสติกจากร้าน และควรจะทิ้งขยะให้เป็นที่พร้อมแยกขยะด้วยนะ🏘️อุดหนุนชุมชุนให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนงานนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้เดินลัดเลาะเข้าไปในชุมชนต่างๆ ที่งัดเอาของดี ของเด็ด ประจำย่านมาตั้งแผงขาย อย่าพลาดที่จะเข้าไปอุดหนุน เพราะนอกจากจะได้ชิมอาหารอร่อยๆ และช้อปสินค้าน่ารักๆ แล้ว คุณยังจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชุมชนอีกด้วย🐶บางที่ก็ Pet-Friendly ด้วยนะเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ในปีนี้ เรายังรองรับ Pet Friendly ให้เราได้พาน้องแมวน้องหมามาเดินเที่ยวดูงานดีไซน์พลังงานบวก+ พร้อมกัน แต่ยังมีบางสถานที่ที่ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าพื้นที่ทุกกรณี แนะนำให้เช็กข้อมูลกันก่อนพาน้อง ๆ ไป และขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมจัดเทศกาลฯ และผู้เข้าชมงาน ปฏิบัติตามกฏระเบียบของพื้นที่อย่างเคร่งครัดด้วยนะด้วยเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 (Bangkok Design Week 2025) อาจมีการบันทึกภาพและวิดีโอตลอดเทศกาลฯ รวมถึงการเก็บข้อมูลการลงทะเบียนซึ่งอาจเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สำหรับการเก็บรวบรวม ใช้ประมวลผล และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่ได้ระบุไว้ด้านล่างนี้ ทั้งนี้ หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ระยะเวลาที่สำนักงานจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ วิธีการในการเก็บรักษา และมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือเกี่ยวกับสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล ช่องทางและวิธีในการใช้สิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิในการขอถอนความยินยอมของท่านได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงานได้ที่: dpo@cea.or.thอนึ่ง สำนักงานและทีมผู้จัดกิจกรรม จะนำภาพนิ่งและภาพวิดีโอสำหรับการประชาสัมพันธ์เทศกาลฯ และข้อมูลส่วนบุคคลของท่านสำหรับประสานงานการเข้าร่วมกิจกรรม “Bangkok Design Week” เท่านั้น หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ทาง hello.bkkdw@cea.or.thอ่านนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) เพิ่มเติม www.cea.or.th/th/privacy-policy#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก
Influencer Pick #3 สาย education
เรียนรู้การสร้างมูลค่าให้สินค้าท้องถิ่นผ่านโปรแกรมและผลิตภัณฑ์น่าบวก+ แนะนำโดย ‘อาจารย์ต้น-ดร.จิรสิน ขุนทองแก้ว’หลายคนอาจตั้งคำถามว่าการศึกษาและการออกแบบ จริง ๆ แล้วมีความเชื่อมโยงกันมากแค่ไหน ซึ่งถ้าลองสังเกตดู เราจะพบว่าทุกสิ่งรอบตัวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาล้วนมีการออกแบบซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน หนังสือเรียน พื้นที่การเรียนรู้ หรือผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ“ปฏิเสธไม่ได้ว่าศาสตร์และศิลป์มันก็คู่กัน ถ้าเรามีการดีไซน์การนําเสนอข้อมูลออกมาดี มันก็จะช่วยทำให้ตัวงานหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการนำเสนอสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น”ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ ‘อาจารย์ต้น’ หรือ ‘ดร.จิรสิน ขุนทองแก้ว’ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้เราฟังและยืนยันว่างานดีไซน์และการศึกษา เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นสิ่งที่เราต้องนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่จะปฏิเสธเช่นเดียวกันกับ Bangkok Design Week ที่เห็นว่างานดีไซน์สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ของการศึกษาได้ ไม่ใช่แค่ในแง่มุมของงานศิลปะหรืองานออกแบบทั่วไป แต่ยังรวมไปถึงการสร้างมูลค่าบางอย่างให้กับตัวสินค้าและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ได้ด้วย เกิดเป็นสินค้าที่สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาเป็นสินค้าที่สร้างชื่อให้ระดับนานาชาติได้วันนี้เราเลยชวนอาจารย์ต้น มาเลือกโปรแกรมน่าบวก+ ในมุมมองของการเป็นอาจารย์ผู้คลุกคลีกับการทำวิจัยเรื่องของสินค้าท้องถิ่น และยังพาเราไปดูผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ต่อการเรียนรู้ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ ที่สามารถนำไปต่อยอดพร้อมบวก+ ในหลาย ๆ ด้านสำหรับใครที่กำลังสนใจ และมองหาโปรแกรมและผลิตภัณฑ์น่าบวก+ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจ ว่างานดีไซน์ก็สามารถมีบทบาทสำคัญในการศึกษา รวมถึงสร้างมูลค่าให้สินค้าท้องถิ่นได้เหมือนกัน สามารถไปดูโปรแกรมและผลิตภัณฑ์แนะนำพร้อมกันกับอาจารย์ต้นได้เลย📍8-16 กุมภาพันธ์ ที่ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด, และพื้นที่อื่นๆ 📍15 – 23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านพระนคร, บางลำพู – ข้าวสาร, และพื้นที่อื่นๆ 📍เฉพาะเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านหัวลำโพง, บางโพ, และพื้นที่อื่นๆ#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก“บางทีเรานั่งเรียนอยู่ในห้องอย่างเดียวนาน ๆ มันก็เบื่อ ทำให้อยากออกไปสูดอากาศ หรือไปเจอตึกรามบ้านช่องบ้าง เหมือนเด็กสมัยนี้ที่ชอบไปนั่งคาเฟ่ดีไซน์สวย ๆ หรือออกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง ซึ่งคิดว่าเด็กน่าจะชอบ เพราะมันเป็นเหมือนการได้พัก แทนที่จะอยู่กันในห้องสี่เหลี่ยมแล้วเรียนอย่างเดียว”นี่เป็นเหตุผลที่อาจารย์ต้นเลือกหยิบยกโปรแกรม ‘ดนตรีมีรส’ ขึ้นมาเล่าให้เราฟัง โดยโปรแกรมนี้เป็นการแสดงดนตรีและนิทรรศการ โดยนำดนตรีมาเป็นแกนกลางในการสร้างประสบการณ์แบบใหม่ ที่ผสมผสานกับศาสตร์หลายแขนง ซึ่งโปรแกรมนี้ผู้ชมจะได้สัมผัสประสบการณ์ที่เกิดจากการหลอมรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นของย่านบางยี่ขันเข้ากับเสียงดนตรี เป็นการนำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทยในบริบทร่วมสมัยและเป็นสากล และเป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินจากหลากหลายวิชาได้มาทำงานร่วมกัน“หลังจากได้ความรู้และได้เพลิดเพลินกับงาน Bangkok Design Week แล้ว สุดท้ายก็ชวนมาพักผ่อนหย่อนใจไปกับโปรแกรมดนตรีมีรสกัน”📍ดนตรีมีรสPGVIMสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา08-09 / 15-16 / 22-23 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/107416“อย่างที่รู้กันว่าประเทศไทยเป็นเมืองเกษตร เรามีผลผลิตทางการเกษตรเยอะ แต่เหมือนที่ขายได้ส่วนมากจะเป็นเกรดที่ถูกคัดมาแล้ว ซึ่งมันจะมีของที่เกรดต่ํา ที่มักจะถูกกดราคาขาย ซึ่งถ้าสมมติว่าเราเอาผลไม้ตกเกรดมาพัฒนาเป็นเครื่องดื่ม อย่างในกรณีของตัวเมฆออร์ต มันก็จะช่วยเพิ่มยกระดับมูลค่าเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบราคาถูกได้”ผลิตภัณฑ์แรกที่เลือกมา อาจารย์ต้นได้พาเราไปทำความรู้จักกับสินค้าท้องถิ่น ที่เป็นการนำผลไม้ตกเกรดมาเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าอย่าง เมฆออร์ต ซึ่งเกิดมาจากการที่ที่ผ่านมาอาจารย์ต้นมักจะทำหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา หรือการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าท้องถิ่นโดยเฉพาะเครื่องดื่ม“พอมูลค่ามันสูงขึ้น เกษตรกรก็จะขายได้ในราคาที่สูงขึ้น สุดท้ายโดยรวมก็เหมือนเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนเหล่านี้ นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ Sustainability แทนที่จะเป็นการนำวัตถุดิบมาใช้แล้วทิ้งไป เราก็นำมันมาแปรรูป ให้มันเป็นของที่ขายได้ในราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เราคิดว่ามันน่าจะตอบโจทย์ต่ออาจารย์หรือนักศึกษาที่กำลังสนใจเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าท้องถิ่น หรืองานดีไซน์แพคเกจจิ้งต่าง ๆ”📍เมฆออร์ตmek Oortย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง13-16 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/109749“ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ชื่อว่า Froot เป็นการทำชาหมักคอมบูฉะที่ผสมผสานรสชาติเปรี้ยว หวาน กลมกล่อมจากผลไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำพวกผลไม้มาสร้างมูลค่าแล้ว ยังมีเรื่องของการนำดีไซน์มาใช้เพิ่มมูลค่าของตัวสินค้า มาช่วย Represent ตัวสินค้า ให้ดูน่าซื้อและเข้าใจในตัวสินค้ามากขึ้นกว่าเดิม”ซึ่งนอกจากอาจารย์ต้นจะให้ความสำคัญกับการนำจุลชีววิทยามาสร้างมูลค่าให้กับสินค้าท้องถิ่นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อาจารย์ต้นนั้น มองเห็นถึงความสำคัญเช่นเดียวกัน คือเรื่องของแพ็กเกจจิ้งดีไซน์“อย่างพวกบรรจุภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์ท้องถิ่นของไทย ที่เมื่อก่อนบรรจุภัณฑ์อะไรอย่างนี้มันจะไม่ค่อยน่าดึงดูด แต่พอเรามีการใส่พวกงานดีไซน์หรือให้ความสำคัญกับสิ่งพวกนี้มากขึ้น คนที่เห็นหรือไม่เคยสนใจสินค้าท้องถิ่น ก็อาจจะแบบ ดูแล้วอยากชิมอยากลองดูว่าเป็นยังไง”“ในแง่ของการเป็นอาจารย์ ผลิตภัณฑ์ตัวนี้น่าจะช่วยในเรื่องของการเป็นโจทย์วิจัยได้ เพราะประเทศเราตอนนี้ก็มีนโยบายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เป็นความยั่งยืนหรืออย่างโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) เพราะประเทศไทยจะมีพวกวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรหรือแบบของเกรดต่ําเหลือเยอะมาก ซึ่งสามารถเอามาวิจัยและเพิ่มมูลค่าให้กับมันได้”“ส่วนในแง่ของนักศึกษา เด็ก ๆ น่าจะชอบ เพราะปัจจุบันเทรนด์แนวโน้มของเด็กที่เรียนสายวิทย์หลาย ๆ คน อยากจะกลับไปเปิดสตาร์ทอัพที่บ้าน สิ่งเหล่านี้ก็น่าจะเป็นการเรียนรู้ที่ดี ว่ามันต้องเริ่มต้นผลิตยังไง อาจจะเป็นไอเดียต่อยอดให้กับเขาว่าวิทยาศาสตร์มันก็สามารถประสานกับด้านศิลปะและงานดีไซน์ได้”📍Frootย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง13-16 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/105108#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก
Influencer Pick #2 สาย art
เรียนรู้และเข้าใจศิลปะในชีวิตประจำวันมากขึ้นกับโปรแกรมไฮไลต์ BKKDW25จาก ‘มุก-พรทิพย์ อรรถการวงศ์’หากใครได้ไปเดินเที่ยวชมโปรแกรมและงานดีไซน์ในย่านสร้างสรรค์อย่างย่านเจริญกรุงมาบ้าง ก็จะเห็นชื่อของ ‘ATT19’ แกลเลอรีและพื้นที่ทางศิลปะของ ‘มุก-พรทิพย์ อรรถการวงศ์’ ผู้มีความมุ่งมั่นอยากให้วัฒนธรรมการดูงานศิลปะเป็นค่านิยมพื้นฐานในบ้านเรา ทั้งในแง่ของงานศิลปะ แฟชั่น หรือแม้แต่วิถีชีวิตทั่วไปของผู้คนในพื้นที่เช่นเดียวกันกับ Bangkok Design Week ในทุก ๆ ปี ที่เราได้ให้ความสำคัญกับทุกมิติของงานดีไซน์และศิลปะ เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อนักสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนรักการออกแบบหรือคนที่หลงใหลในงานศิลป์ ฉะนั้นหากเราย้อนไปดูโปรแกรมในเทศกาลช่วงปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นชื่อของ ATT19 เป็นหนึ่งในเช็กลิสต์โปรแกรมของงานเทศกาลอยู่ตลอดในฐานะที่คุณมุกถือเป็นหนึ่งในบุคคลที่อยู่ในแวดวงของศิลปะและงานดีไซน์มาอย่างยาวนาน วันนี้เราจึงชวนเธอมาแชร์โปรแกรมที่เธอสนใจใน Bangkok Design Week 2025 ซึ่งแน่นอนว่าโปรแกรมที่เธอหยิบมานั้น ไม่ใช่แค่โปรแกรมที่จะทำให้เราได้เห็นงานดีไซน์สวย ๆ เท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์และเติมพลังงานบวก+ ให้กับคนรักศิลปะอย่างแน่นอน📍8-16 กุมภาพันธ์ ที่ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด, และพื้นที่อื่นๆ 📍15 – 23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านพระนคร, บางลำพู – ข้าวสาร, และพื้นที่อื่นๆ 📍เฉพาะเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านหัวลำโพง, บางโพ, และพื้นที่อื่นๆ#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก“โปรแกรมที่เราเลือกมีชื่อว่าไทโปสเปคทีฟ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เหมือนทำต่อจากหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งปีแรกเป็นการนำตัวอักษรทั้ง 44 ตัวของอักษรไทยมาออกแบบเป็นงานศิลปะต่าง ๆ ส่วนปีที่สองเหมือนเป็นการนำฮิสโตแกรม (Histogram) มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ และปีนี้ก็เป็นนิทรรศการที่ชื่อไทโปสเปคทีฟ เป็นเหมือนอีกขั้นหนึ่งที่ต่อเนื่องมา”‘ไทโปสเปคทีฟ’ เป็นชื่อโปรแกรมที่จัดขึ้นโดย ‘Phayanchana’ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาตัวอักษร เพื่อเปลี่ยนให้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ และสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้ จนเกิดเป็น ‘TypoSpective’ ที่มาจาก Typography + Perspective“แรงบันดาลใจของเขามาจากการที่เขาจำ 44 ตัวอักษรไม่ได้ ซึ่งนิทรรศการนี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่ช่วยเราพอสมควร มันมีความเป็นไทยที่แอบแฝง มีวัฒนธรรมที่แทรกซึมมากกว่าการเรียนอักษรปกติ โดยการเปลี่ยนรูปตัวอักษรให้เป็นแบบอื่น ๆ มากกว่ารูป ถือว่าน่าสนใจ”คุณมุกเล่าเหตุผลที่แนะนำโปรแกรมนี้ขึ้นมาว่า “มันมาจากปัญหาที่ Typography หรือนักอักษรศิลป์ ที่สามารถต่อยอดเป็น Front Designer ได้ ในไทยนั้นยังไม่ค่อยมี หรือเรื่องฟอนต์ที่เวลานึกถึงฟอนต์ภาษาอังกฤษ หลาย ๆ คนก็น่าจะมีฟอนต์ที่ชอบอยู่ในใจ แต่กับภาษาไทยมันไม่ค่อยมี จนมาเจองานของ Phayanchana เลยสนใจที่เขาผลักดันสิ่งนี้ ทำให้เราเห็นความสำคัญต่ออาชีพนี้หรือวงการนี้มากขึ้น หลาย ๆ คนค่อนข้างมองข้ามความสำคัญของฟอนต์ว่ามันสำคัญอย่างไร แต่ในฐานะนักออกแบบหรือการออกแบบนิทรรศการ จริง ๆ มันสำคัญมากในการถ่ายทอดอารมณ์”ซึ่งนอกจากโปรแกรมไทโปสเปคทีฟที่คุณมุกเลือกมาจะสามารถตอบโจทย์ต่อผู้คนที่อยู่ในวงการศิลปะและงานดีไซน์แล้ว ในแง่มุมของคนทั่วไปนิทรรศการนี้ยังสามารถสร้างบทสนทนาระหว่างวัยหรือคนนอกที่อยากเริ่มต้นเข้าใจศิลปะได้อีกด้วย ทำให้เห็นว่าศิลปะและงานดีไซน์ในปัจจุบันไม่ได้เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากชีวิตของคนทั่วไปอีกต่อไป.“เรามองว่านิทรรศการนี้เหมาะมากกับคนทุกเพศทุกวัย เช่น เด็กที่มากับพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเห็นงานศิลปะในรูปแบบนี้ ซึ่งถ้าเรามองลึกลงไปอีกว่ารูปนี้มันมีอะไรบ้าง ก็จะช่วยให้คนเข้าใจในงานดีไซน์ประเภทนี้มากขึ้น”📍ไทโปสเปคทีฟPHAYANCHANAย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยTCDC กรุงเทพฯ08 – 16 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/105476นอกจากโปรแกรมที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่คุณมุกแนะนำมาแล้ว ในปีนี้ ATT19 ก็ยังเป็นอีกหนึ่งแกลเลอรี่ที่มีส่วนร่วมในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯในปีนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งนิทรรศการในครั้งนี้ความน่าสนใจไม่ใช่เพียงแค่การได้แสดงงานศิลปะรูปแบบใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นนิทรรศการที่ทางคุณมุกเองได้ทำงานร่วมกับศิลปินชาวญี่ปุ่น“Lines Across Paper: Transcending Borders เป็นนิทรรศการของ ATT19 ที่ทําร่วมกับ Awagai Factory เป็นโรงงานกระดาษที่อยู่ที่ญี่ปุ่น และศิลปินอย่าง Craig Anczelowitz ซึ่งเป็นลูกเขยของบ้านนี้ และทําหน้าที่เป็น International Director ด้วย”Lines Across Paper: Transcending Borders – Anczelowitz’s art explored on Awagami Washi เป็นนิทรรศการที่ ATT19 ร่วมงานกับ Craig Anczelowitz ศิลปินระดับนานาชาติ โดยจัดแสดงผลงานที่ผสมผสานศิลปะและการออกแบบได้อย่างลงตัวผ่านมุมมองทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ของเขาในนิวยอร์ก ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น และยังมีการพาไปสำรวจการผสมผสานระหว่างเรื่องเล่าทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและงานฝีมือสมัยใหม่อีกด้วย“ในช่วงเทศกาลฯ นอกจากนิทรรศการแล้ว เรายังมีโปรแกรมพิเศษอีก ก็คือมี Talk Series จากศิลปินของแบรนด์ รวมถึง Workshop อีก 4 รอบ ซึ่งแต่ละรอบเราก็จะทําร่วมกับ Mieko Fujimori ศิลปินครามระดับปรมาจารย์จาก Awagami Factory ซึ่งเป็น Master Indigodyer หรือ National Treasury คล้ายกับเป็นศิลปินแห่งชาติของญี่ปุ่นนั่นแหละ”📍Lines Across Paper: Transcending BordersATT19ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยATT 1908 – 23 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/125055Dialogues of forms เป็นโปรแกรมนิทรรศการที่จัดโดย KITT.TA.KHON เป็นการนำเครื่องเคลือบของ Suchai Craft มาตีความองค์ประกอบใหม่ โดยได้รับแรงบันดาลจากเครื่องประดับตะวันตก ทั้งโคมระย้า เชิงเทียน และแจกันทิวลิป ซึ่งมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม และสะท้อนถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของสังคมยุโรป มาผสมผสานกับการออกแบบแบบไทย จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้านที่ทำจากวัสดุใหม่ “โปรแกรมที่เลือกมาอีกหนึ่งโปรแกรมคือของ KITT.TA.KHON ซึ่งความพิเศษของนิทรรศการครั้งนี้คือ มันไม่ได้เป็นแค่โชว์เคส แต่ยังมีสินค้าที่ผลิตพร้อมขาย เป็นเหมือนไอเดียใหม่ ๆ ที่เหมือนกับเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีแค่เรื่องของ End Product แต่ยังสามารถซื้อไปใช้ได้เลย”“นิทรรศการครั้งนี้เขาทําร่วมกับ Suchai Craft เป็นการ Collaborate ที่มี Key Point คือการมีสินค้าที่สามารถซื้อได้เลย ซึ่งเราถือว่าเป็นสิ่งที่เราก็ไม่เคยทําเหมือนกัน ก็เลยเป็นอะไรที่ค่อนข้างน่าตื่นเต้น นอกจากนั้นในช่วงเทศกาลฯตัว โปรแกรมนี้จะมีช่วง Talk ด้วย ที่พูดถึงวัฒนธรรมการทําสาโทของคนไทย ซึ่งถือว่าน่าสนใจมาก”📍Dialogues of formsKITT.TA.KHONย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยฆิด-ตา-โขน08 – 09 / 11 – 16 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/106754#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก
ส่องเทรนด์โลกเพื่อรับมือกับความโกลาหล
ส่องเทรนด์โลกเพื่อรับมือกับความโกลาหลโลกเพิ่งจะฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ไม่นาน ก็มีเหตุการณ์ต่างๆ ถาโถมเข้ามา ทั้งการเมืองที่ผันผวน สงคราม ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ วิกฤตสิ่งแวดล้อม เรียกได้ว่าเป็นวิกฤตรอบด้าน ส่งผลให้ผู้คนต้องค้นหาวิธีที่จะรักษาสมดุล ระหว่างความวิตกกังวล กับการมองโลกในแง่ดี เพื่อหาหนทางก้าวผ่านความท้าทายไปได้ มาดูกันว่ามีเทรนด์อะไรเกิดขึ้นบ้างในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพื่อตอบรับกับความโกลาหลของโลกยุคนี้สรรหานิยามใหม่ เพื่อเข้าใจโลกที่ยากจะเข้าใจจาก VUCA สู่ BANI หลายสิบปีที่ผ่านมา ทั่วโลกคุ้นเคยกับคำว่า VUCA หรือ คำนิยามสถานการณ์โลกที่ผันผวน (Volatility) ไม่แน่นอน (Uncertainty) ซับซ้อน (Complexity) และ คลุมเครือ (Ambiguity) ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เริ่มใช้กันในกองทัพสหรัฐ เพื่อนิยามสถานการณ์ในยุคสงครามเย็น หลังจากนั้นก็เริ่มแพร่หลายไปในวงการอื่นๆ โดยเฉพาะช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งหลายองค์กรทั่วโลกนำมาใช้เป็น framework เพื่อเตรียมพร้อมปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงจนยุคหลังโควิด-19 ที่โลกเริ่มปั่นป่วนในทุกมิติ จึงเกิดนิยามใหม่ว่า BANI หรือ เปราะบาง (Brittle) น่าวิตกกังวล (Anxious) คาดเดายาก (Nonlinear) และเข้าใจได้ยาก (Incomprehensible) ซึ่งถูกบัญญัติขึ้นใหม่โดยนักมานุษยวิทยา และนักอนาคตศาสตร์ชาวอเมริกัน เพื่อเสริม VUCA โดยไม่ได้พูดถึงสถานการณ์โลกเพียงอย่างเดียว แต่พูดถึงความรู้สึกที่เรามีต่อสถานการณ์โลก เพื่อเตือนใจให้เราไม่ประมาทในการประเมินวิกฤต และเตรียมพร้อม หาวิธีรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่จะเข้ามาในอนาคตPolyCrisis วิกฤตรอบด้านอีกหนึ่งคำที่มาแรงในช่วง 1-2 ปีนี้ คือ Polycrisis หรือ วิกฤตหลากมิติ วิกฤตซ้อนวิกฤต ซึ่งถูกพูดถึงใน Global Risks Reports โดย World Economic Forum ในรอบ 1-2 ปีนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตใหญ่หลายมิติพร้อมๆ กัน อย่างประเทศไทยเอง ตามรายงานก็ระบุว่า มีความเสี่ยงเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำ ดิน การขาดแคลนแรงงาน หนี้ครัวเรือน และความเหลื่อมล้ำ รวมไปถึงภาวะสภาพภูมิอากาศสุดขั้วGen AI คือที่พึ่งท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ไม่แน่นอน Generative AI จึงกลายเป็นเป็นที่พึ่งเพื่อช่วยรับมือกับความท้าทาย ที่เกินขีดความสามารถและการควบคุมของมนุษย์ ในช่วง 2-3 ปีนี้ เราจึงเห็น AI เข้ามามีบทบาทในหลายมิติ ตั้งแต่การทำงานอัตโนมัติ สร้างคอนเทนต์ทุกรูปแบบภาพ เสียง วิดิโอ สกัดข้อมูลเชิงลึก ไปจนถึงเป็นตัวแทนของมนุษย์ และเพิ่มความสามารถของมนุษย์ ในระดับที่สามารถช่วยย้อนอดีต ตัดสินใจปัจจุบัน และทำนายอนาคตได้เลย จึงเกิดข้อถกเถียงต่างๆ นานาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก AI การวิจัยโดย Ipsos ระบุว่าผู้คนทั่วโลกยังคงทั้งตื่นเต้นและกังวลต่อ AI โดยมีความเห็นที่กระจัดกระจายในประเด็นต่างๆ เช่น AI จะช่วยงานหรือแย่งงานมนุษย์ AI บิดเบือนความจริง ความน่าเชื่อถือของ AI ไปจนถึง AI จะมาส่งเสริม หรือ ด้อยค่าความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน อย่างไรก็ตาม AI จะมาเป็นเพื่อนหรือคู่แข่ง จะช่วยแก้ปัญหา ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ได้อย่างไร ก็ล้วนขึ้นอยู่การนำมาใช้ของมนุษย์นั่นเองสะสมสกิล คือ ทางรอดเมื่อ AI ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน มนุษย์จึงต้องเพิ่มทักษะของตัวเองไปพร้อมๆ กัน ในยุคนี้ เราจึงได้ยินคำว่า Upskill/ Reskill/ Newskill/ Futureskill กันอย่างแพร่หลาย ไปจนถึง Green Skills หรือทักษะ ความรู้ ความใส่ใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน และที่สำคัญคือ Cross-skill หรือ บูรณาการข้ามศาสตร์ เพราะความเชี่ยวชาญเฉพาะเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยให้เอาตัวรอดได้ในยุคนี้ และไม่ใช่เฉพาะวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่เท่านั้นที่ต้องสะสมสกิลเพิ่ม วัยเด็กก็เริ่มต้องสั่งสมการเรียนรู้ทักษะหลากหลาย และเข้าใจความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน อย่างหลักสูตร STEM education หรือ การบูรณาการความรู้ 4 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรม (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ซึ่งกำลังแพร่หลายในหลายโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังทักษะที่จำเป็นในการนำทางชีวิตในโลกที่จะซับซ้อนขึ้นอีกในอนาคตมองบวกแบบพอดี หนทางฮีลใจแบบไม่ไร้เหตุผลแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีกระแส Toxic Positivity หรือ การห้ามตัวเองไม่ให้คิดลบ จนกลายเป็นโลกสวยเกินไป จนทำให้เสียศูนย์ เพราะมองข้ามปัญหาที่แท้จริงไป แต่ในช่วงปีที่ผ่านมานี้ งานวิจัยพบว่าสิ่งที่ทำให้คนกลับมาเข้มแข็ง และจัดการกับความเครียดท่ามกลางปัญหาหนักๆ ได้ดี คือ ความคิดแบบ Tragic Optimism หรือ คิดบวกแบบยอมรับความจริง ยอมรับปัญหา ยอมรับอารมณ์ด้านลบนั้น แล้วพร้อมลุกขึ้นมาสู้กับมันนอกจากนี้ยังมี #HopeCore เทรนด์ใหม่บน TikTok ในช่วง 1-2 ปีนี้ เน้นวิดิโอเชิงบวก ที่อาจจะตัดต่อซีนต่างๆ จากหนัง แล้วนำมาใส่ข้อความฮีลใจ สร้างแรงบันดาลใจและความหวัง เพื่อดึงผู้คนออกจากเรื่องราวลบๆ รอบตัว ในหลายประเทศพบว่าคอนเทนต์ #Hopecore เหล่านี้ สามารถช่วยดึงผู้คนออกจากความซึมเศร้าได้จริงทำให้ผลการสำรวจในหลายประเทศโดย Ipsos Global Advisor Predictions 2024 พบว่าในช่วง 1-2 ปีนี้ ผู้คนมีแนวโน้มจะมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ยังมีความหวังว่าแม้จะมีความกังวลต่อสถานการณ์รอบตัวที่ไม่แน่นอน แต่ก็ยังมีความหวัง โดยเฉพาะกับชีวิตของตัวเอง และมองหาสินค้าและบริการที่ช่วยฮีลใจ ชักจูงให้คิดบวก รวมไปถึงคาดหวังให้บริษัท แบรนด์ต่างๆ มีส่วนผลักดันที่ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น ช่วยส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะ และทำให้เห็นอนาคตที่มีความหวัง Joyconomy เศรษฐกิจความสุขจากเทรนด์การมองโลกในแง่ดีแบบพอดี เชื่อมโยงสู่การหาจุดลงตัวที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข การศึกษาเทรนด์ของ The Future 100 by VML Intelligence 2023 พบว่าผู้คนมองหาความเบิกบาน ความสุข และเสียงหัวเราะ มากเป็นพิเศษในช่วงนี้ เห็นได้ชัดจากคอนเทนต์ออนไลน์ที่เน้นเนื้อหา Feel good คลิปตลก สินค้า แพคเกจจิ้ง ลวดลายสีสันสดใส ไปจนถึง Art Toy ที่กำลังเป็นที่นิยม จากคาแรกเตอร์น่ารักๆ และความสนุกที่ได้ลุ้นว่าในกล่องสุ่มจะเป็นตัวอะไร ก็สามารถบ่งบอกถึงการมองหาสิ่งเล็กๆ ที่ช่วยชุบชูใจ ที่จับต้องได้ง่ายขึ้น และช่วยเบนความสนใจออกจากความเครียดได้ ไปจนถึงการ์ตูนเรื่อง Inside Out 2 ตัวละคร Joy ก็มีบทบาทในการดึงสติตัวละคร Anxiety ให้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน เพื่อบอกคนดูเป็นนัยว่าเราว้าวุ่น วิตกได้เพื่อเป็นกลไกเตรียมพร้อมกับปัญหา แต่ก็จำเป็นต้องสร้างสมดุลด้วยความสุขโหยหาการรวมกลุ่ม สานสัมพันธ์กับผู้คนที่หลากหลายผลต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ทำให้ผู้คนเหงาและโดดเดี่ยวมากขึ้น จึงทำให้คนโหยหาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนหมู่มาก งานวิจัยพบว่า ยิ่งได้เจอกลุ่มคนใหม่ๆ ที่แตกต่างจากตัวเอง ยิ่งจะช่วยเติมเต็มความรู้สึก ช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราจึงเห็นกิจกรรม เทศกาลต่างๆ ที่พยายามเป็นตัวกลาง ดึงดูดผู้คนหลากหลายให้ได้มาเจอกัน และมีประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นผลดีในทั้งระดับสุขภาพจิตของตัวบุคคลเอง แต่ยังขยายผลในเชิงสังคมและเศรษฐกิจด้วย และแน่นอนว่าการต่อสู้กับความท้าทายในโลกยุคนี้ จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่ม เพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนในปริมาณมากพอ ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ได้จากทิศทางเทรนด์โลกในช่วงนี้ จะเห็นได้ว่าผู้คน องค์กร และเมืองต่างๆ พยายามเรียนรู้ ปรับตัว และขบคิดหาวิธีที่จะรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอนอย่างสร้างสรรค์ โดยมีหัวใจหลักอยู่ที่ การเลือกที่จะอยู่กับพลังบวก+ และสร้างความหวังว่าทุกคนจะสามารถช่วยให้โลกนี้ดีขึ้นได้ เชื่อว่าในปีนี้ น่าจะเห็นเทรนด์งานออกแบบและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างมาเพื่อตอบโจทย์ผู้คน และรับมือกับวิกฤต อีกมากมายอย่างแน่นอนมาร่วมสำรวจเทรนด์ใหม่ๆ ที่จะทำให้เห็นว่างานสร้างสรรค์และงานออกแบบ มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับโลกนี้ไ้ด้อย่างไรบ้าง ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 ภายใต้ธีม ‘Design Up+Rising ออกแบบพร้อมบวก+’ ระหว่างวันที่ 8-23 กุมภาพันธ์ 2568 นี้อ้างอิง:https://stephangrabmeier.de/bani-versus-vuca/#infographichttps://techsauce.co/sustainable-focus/the-global-risks-report-2024-from-world-economic-forumhttps://www.marketingoops.com/reports/world-economic-forum-2024-lesson/https://www.ipsos.com/sites/default/files/ct/news/documents/2024-06/Ipsos-AI-Monitor-2024-key-findings.pdfhttps://www.theatlantic.com/family/archive/2021/08/tragic-optimism-opposite-toxic-positivity/619786/https://metro.co.uk/2024/03/24/a-pessimistic-world-need-hopecore-save-us-doomscrolling-20496012/https://www.ipsos.com/en-th/ipsos-global-predictions-2024https://www.vml.com/insight/the-future-100-2024https://article.tcdc.or.th//uploads/file/ebook/2566/11/desktop_th/EbookFile_34204_1699259829.pdfBKKDW2025 Open Call เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมจัดเทศกาลฯหมดเขต 30 กันยายน 2567 เวลา 23.59 น.สมัครเข้าร่วมจัดเทศกาลฯ ได้ที่ https://www.bangkokdesignweek.com/apply #BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก
Influencer Pick #1 สาย sustain
เช็กลิสต์โปรแกรมรักษ์โลกกับ KongGreenGreenเตรียมตัวเติมพลังงานบวก+ ผ่านงานดีไซน์และความยั่งยืนไปพร้อมกันช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความยั่งยืน (Sustainability) กลายเป็นแนวคิดที่ถูกนำมาใช้จริงในงานออกแบบมากขึ้น เช่นเดียวกับ Bangkok Design Week ที่ทุกปีเรามักจะหยิบจับประเด็นของความยั่งยืนมาบอกเล่าผ่านโปรแกรมและงานดีไซน์ต่าง ๆ ที่ชวนให้ทุกคนมาเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบและแนวคิดของความยั่งยืน“พอได้รับโจทย์มา เราก็ไปนั่งไล่ดูว่ามันมีโปรแกรมอะไรที่มันเกี่ยวข้องกับหัวข้อความยั่งยืนบ้าง เลยพบว่าปีนี้ก็ยังมีโปรแกรมหรืองานดีไซน์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความยั่งยืนอยู่เยอะเหมือนปีที่ผ่านมา” คำพูดของ ‘KongGreenGreen’ หรือ ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ ครีเอเตอร์สายสิ่งแวดล้อม ที่เราชวนมาพูดคุยและไฮไลต์โปรแกรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความยั่งยืนยังคงเป็นอีกหนึ่งคอนเซปต์ที่เราให้ความสำคัญ ถึงแม้ธีมของเทศกาลจะต่างออกไปจากปีที่ผ่านมา โปรแกรมที่คุณก้องเลือกมา จึงไม่ใช่แค่พาร์ตของการออกแบบ แต่ยังมีเรื่องของความยั่งยืน ที่อัดแน่นมาในโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งเรื่องของการ Upcycling ที่เป็นการลดของเสียและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด, Green Space ที่มุ่งเน้นการสร้างพื้นที่สีเขียวภายในเมือง หรือจะเป็น Circular Economy แนวทางในการออกแบบรูปแบบธุรกิจให้เกิดการเติบโตทางอย่างยั่งยืนถ้าพร้อมแล้วเราขอชวนไปดูโปรแกรมไฮไลต์จาก คุณก้อง KongGreenGreen ที่ชวนให้คนรักษ์โลกได้เซฟเก็บไว้ ก่อนใช้เป็นไกด์บุ๊กส่วนตัวพาเดินเที่ยวชมงาน Bangkok Design Week 2025 “Design Up+Rising : ออกแบบพร้อมบวก” ที่จะถึงนี้ 📍8-16 กุมภาพันธ์ ที่ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด, และพื้นที่อื่นๆ 📍15 – 23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านพระนคร, บางลำพู – ข้าวสาร, และพื้นที่อื่นๆ 📍เฉพาะเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านหัวลำโพง, บางโพ, และพื้นที่อื่นๆ#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวกการ Upcycling ถือเป็นเทรนด์ใหม่ที่มีการนำมาใช้ในงานออกแบบอย่างแพร่หลาย การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือของที่จะถูกทิ้งเป็นขยะมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นและกลับมาใช้ประโยชน์ได้ หรือออกแบบให้มีความสวยงามเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากโปรแกรมที่ก้องเลือกมา ที่มีการนำวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาดีไซน์ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดนตรี“โปรแกรมแรกก็คือ “1+1=3” มันเป็นโปรแกรมที่ต่อยอดความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคม โดย Gadhouse ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เราเคยไปมาปีที่แล้ว เป็นโปรแกรมที่นำวัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นกล่อง UHT หรือเศษขยะจากกล่องต่าง ๆ นำมา Upcycle เป็นแท่นสำหรับใช้เล่นแผ่นเสียงหรือพวกเทิร์นเทเบิลต่าง ๆ หรือจะเป็นการนำฝาขวดพลาสติกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ทางดนตรีต่าง ๆ ซึ่งโยงไปถึงการจัดการขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น”เช่นเดียวกันกับปีที่ผ่าน ๆ มา ที่ Gadhouse ได้มีการนำเสนอมุมมองใหม่ ๆ ในเรื่องการดีไซน์ โดยยังยึดคอนเซปต์เรื่องของความยั่งยืน เพื่อให้ผู้คนสามารถหยิบจับแนวคิดเหล่านี้ได้ง่ายมากขึ้น จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ช่วยตอกย้ำถึงความสำคัญของแนวคิดและการดีไซน์ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯได้เป็นอย่างดี📍”1+1=3″ การต่อยอดความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมREVERB by Gadhouseย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยลานจัตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง08 – 16 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/106817“โปรแกรมนี้เป็นของสถานทูตเนเธอร์แลนด์ เขาน่าจะจัดฉายภาพยนตร์สารคดี When We Cycle ซึ่งเขาพยายามจะ Inspire ให้เห็นว่าเมืองอย่างกรุงเทพฯ ถ้ามันผ่านการคิดมา แล้วก็ผ่านการวางโครงสร้างจริง ๆ มันก็เป็นเมืองที่สามารถเดินทางด้วยจักรยานได้เหมือนกันซึ่งอันนี้ก็รู้สึกว่า มันตอบโจทย์เรื่องของความยั่งยืนเป็นอย่างมาก”นอกจากโปรแกรมที่มีการนำวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่ก้องให้ความสำคัญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน ที่จะช่วยลดมลพิษทางอากาศต่าง ๆ เช่น การปั่นจักรยาน หรือการเดิน ซึ่งถึงแม้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ แต่กลับสามารถตอบโจทย์ต่อเรื่องของความยั่งยืนในระยะยาวได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกันกับโปรแกรม Bike-in Movie Night ที่คุณก้องแนะนำมา📍Bike-in Movie NightNetherlands Embassy in Bangkokสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย20 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/107130“กระดาษไหว้เจ้าที่ไม่ต้องเผาถือเป็นการนําเสนอแนวทางใหม่ ๆ ของวิถีชีวิตและวัฒนธรรม คือการที่เราจะปรับชีวิตแล้วก็สังคมเข้ามาสู่ความยั่งยืนได้และบางทีมันต้องมีการปฏิรูป ซึ่งเรามองว่าสิ่งที่มันค่อนข้างเปลี่ยนยากมาก ๆ เลยก็คือเรื่องความเชื่อและวัฒนธรรม”สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาและพยายามหาทางออกของปัญหานี้กันมาอย่างยาวนาน คือเรื่องของวัฒนธรรมและประเพณีที่ทำให้เกิดมลภาวะต่าง ๆ ตั้งแต่การลอยกระทงหรืออย่างการเผากระดาษเพื่อไหว้เจ้าเอง ถึงแม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้น แต่เมื่อรวมกันมันกลับสร้างปัญหาได้มากกว่าที่คิด “การเผากระดาษไหว้เจ้า เขาเผากันมาตั้งแต่ยุคอากงอาม่า หรือแม้แต่การจุดธูปในศาลจีนหรือแม้แต่เทศกาลตรุษจีนเช็งเม้ง ซึ่งมันก็สามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของ PM 2.5 ได้ ถึงแม้มันจะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อย แต่ว่ามันใกล้ชิดกับจมูกคนเราแล้วก็ใกล้ชิดกับชุมชน ใกล้ชิดกับบ้านเรือน ซึ่งถ้ามันเปลี่ยนได้ มันก็น่าจะช่วยเรื่องของอากาศสะอาดให้มันดีขึ้นได้ นอกจากนั้นยังสามารถกลายเป็นต้นแบบของการกล้าที่จะเปลี่ยนในอีกหลาย ๆ เรื่องที่กําลังจะตามมา ซึ่งดีไซเนอร์นี่แหละที่จะเป็นคนที่จะเป็นคนชักนํา แล้วเกิดการตั้งคําถามเพื่อที่จะหาทางออกร่วมกัน”📍กระดาษไหว้เจ้าที่ไม่ต้องเผาPlay Spaceย่านหัวลำโพงร้านเพลย์สเปซ08-09 / 15-16 / 22-23 กุมภาพันธ์ 2568ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/111066#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก
8-16 นี้ พบกับ phase 1
Bangkok Design Week 2025 Phase 1 February 8-16, 2025+เจริญกรุง – ตลาดน้อย +เยาวราช – ทรงวาด +ปากคลองตลาด +พื้นที่อื่นๆ—เจ้านายเซ็น approve! สิ้นสุดการรอคอยสำหรับนักสร้างสรรค์! Phase 1 ของ Bangkok Design Week 2025 กำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 8-16 กุมภาพันธ์ 2025 นี้ เราจะพาทุกคนเข้าสู่โลกของการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ในช่วง Phase 1 ของ Bangkok Design Week 2025 ที่จะช่วยเติมเต็มพลังงานบวกแบบไม่มีกั๊ก ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการรวมไอเดียงานดีไซน์ที่ไม่เหมือนใคร หรือจะเป็นเวิร์กช็อปที่ชวนให้เพื่อน ๆ มาลงมือกันสร้างสรรค์ผลงานอย่างจัดเต็ม รวมไปถึงงานเสวนา ตลาดงานดีไซน์ ดนตรีและการแสดง ทัวร์ อีเวนต์ และโปรโมชั่นต่าง ๆ อีกมากมายโดยใน Phase 1 จะจัดขึ้นในพื้นที่ย่านสร้างสรรค์ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและแรงบันดาลใจ อย่างย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด และพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้คุณได้เดินทางสำรวจงานออกแบบเพื่อเตรียมรับพลังงานบวกใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่สามารถเข้าไปดูโปรแกรมทั้งหมดได้ที่https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/programง้าง (ไอเดีย) มานาน พร้อมจะพร้อมบวก+ กับทุกคนแล้ว!เจอกับ Bangkok Design Week 2025 8-23 กุมภาพันธ์นี้ 📌 8-16 กุมภาพันธ์ ที่ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด, และพื้นที่อื่น ๆ📌 15 – 23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านพระนคร, บางลำพู – ข้าวสาร, และพื้นที่อื่น ๆ📌 เฉพาะเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านหัวลำโพง, บางโพ, และพื้นที่อื่น ๆ#BKKDW2025#BangkokDesignWeek#DesignUpRising#ออกแบบพร้อมบวก