Influencer Pick #3 สาย education
![](https://cea-design-week-cdn.5lab.co/wp-content/uploads/2025/02/AJ.Ton-cover-02-scaled.jpg)
เผยแพร่เมื่อ 3 วันที่แล้ว
เรียนรู้การสร้างมูลค่าให้สินค้าท้องถิ่น
ผ่านโปรแกรมและผลิตภัณฑ์น่าบวก+ แนะนำโดย ‘อาจารย์ต้น-ดร.จิรสิน ขุนทองแก้ว’
หลายคนอาจตั้งคำถามว่าการศึกษาและการออกแบบ จริง ๆ แล้วมีความเชื่อมโยงกันมากแค่ไหน ซึ่งถ้าลองสังเกตดู เราจะพบว่าทุกสิ่งรอบตัวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาล้วนมีการออกแบบซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน หนังสือเรียน พื้นที่การเรียนรู้ หรือผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ
“ปฏิเสธไม่ได้ว่าศาสตร์และศิลป์มันก็คู่กัน ถ้าเรามีการดีไซน์การนําเสนอข้อมูลออกมาดี มันก็จะช่วยทำให้ตัวงานหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการนำเสนอสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น”
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ ‘อาจารย์ต้น’ หรือ ‘ดร.จิรสิน ขุนทองแก้ว’ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้เราฟังและยืนยันว่างานดีไซน์และการศึกษา เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นสิ่งที่เราต้องนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่จะปฏิเสธ
เช่นเดียวกันกับ Bangkok Design Week ที่เห็นว่างานดีไซน์สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ของการศึกษาได้ ไม่ใช่แค่ในแง่มุมของงานศิลปะหรืองานออกแบบทั่วไป แต่ยังรวมไปถึงการสร้างมูลค่าบางอย่างให้กับตัวสินค้าและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ได้ด้วย เกิดเป็นสินค้าที่สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาเป็นสินค้าที่สร้างชื่อให้ระดับนานาชาติได้
วันนี้เราเลยชวนอาจารย์ต้น มาเลือกโปรแกรมน่าบวก+ ในมุมมองของการเป็นอาจารย์ผู้คลุกคลีกับการทำวิจัยเรื่องของสินค้าท้องถิ่น และยังพาเราไปดูผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ต่อการเรียนรู้ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ ที่สามารถนำไปต่อยอดพร้อมบวก+ ในหลาย ๆ ด้าน
สำหรับใครที่กำลังสนใจ และมองหาโปรแกรมและผลิตภัณฑ์น่าบวก+ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจ ว่างานดีไซน์ก็สามารถมีบทบาทสำคัญในการศึกษา รวมถึงสร้างมูลค่าให้สินค้าท้องถิ่นได้เหมือนกัน สามารถไปดูโปรแกรมและผลิตภัณฑ์แนะนำพร้อมกันกับอาจารย์ต้นได้เลย
📍8-16 กุมภาพันธ์ ที่ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด, ปากคลองตลาด, และพื้นที่อื่นๆ
📍15 – 23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านพระนคร, บางลำพู – ข้าวสาร, และพื้นที่อื่นๆ
📍เฉพาะเสาร์และอาทิตย์ 8-9, 15-16, 22-23 กุมภาพันธ์ ที่ย่านหัวลำโพง, บางโพ, และพื้นที่อื่นๆ
#BKKDW2025
#BangkokDesignWeek
#DesignUpRising
#ออกแบบพร้อมบวก
“บางทีเรานั่งเรียนอยู่ในห้องอย่างเดียวนาน ๆ มันก็เบื่อ ทำให้อยากออกไปสูดอากาศ หรือไปเจอตึกรามบ้านช่องบ้าง เหมือนเด็กสมัยนี้ที่ชอบไปนั่งคาเฟ่ดีไซน์สวย ๆ หรือออกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง ซึ่งคิดว่าเด็กน่าจะชอบ เพราะมันเป็นเหมือนการได้พัก แทนที่จะอยู่กันในห้องสี่เหลี่ยมแล้วเรียนอย่างเดียว”
นี่เป็นเหตุผลที่อาจารย์ต้นเลือกหยิบยกโปรแกรม ‘ดนตรีมีรส’ ขึ้นมาเล่าให้เราฟัง โดยโปรแกรมนี้เป็นการแสดงดนตรีและนิทรรศการ โดยนำดนตรีมาเป็นแกนกลางในการสร้างประสบการณ์แบบใหม่ ที่ผสมผสานกับศาสตร์หลายแขนง ซึ่งโปรแกรมนี้ผู้ชมจะได้สัมผัสประสบการณ์ที่เกิดจากการหลอมรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นของย่านบางยี่ขันเข้ากับเสียงดนตรี เป็นการนำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทยในบริบทร่วมสมัยและเป็นสากล และเป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินจากหลากหลายวิชาได้มาทำงานร่วมกัน
“หลังจากได้ความรู้และได้เพลิดเพลินกับงาน Bangkok Design Week แล้ว สุดท้ายก็ชวนมาพักผ่อนหย่อนใจไปกับโปรแกรมดนตรีมีรสกัน”
📍ดนตรีมีรส
PGVIM
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
08-09 / 15-16 / 22-23 กุมภาพันธ์ 2568
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/107416
“อย่างที่รู้กันว่าประเทศไทยเป็นเมืองเกษตร เรามีผลผลิตทางการเกษตรเยอะ แต่เหมือนที่ขายได้ส่วนมากจะเป็นเกรดที่ถูกคัดมาแล้ว ซึ่งมันจะมีของที่เกรดต่ํา ที่มักจะถูกกดราคาขาย ซึ่งถ้าสมมติว่าเราเอาผลไม้ตกเกรดมาพัฒนาเป็นเครื่องดื่ม อย่างในกรณีของตัวเมฆออร์ต มันก็จะช่วยเพิ่มยกระดับมูลค่าเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบราคาถูกได้”
ผลิตภัณฑ์แรกที่เลือกมา อาจารย์ต้นได้พาเราไปทำความรู้จักกับสินค้าท้องถิ่น ที่เป็นการนำผลไม้ตกเกรดมาเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าอย่าง เมฆออร์ต ซึ่งเกิดมาจากการที่ที่ผ่านมาอาจารย์ต้นมักจะทำหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา หรือการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าท้องถิ่นโดยเฉพาะเครื่องดื่ม
“พอมูลค่ามันสูงขึ้น เกษตรกรก็จะขายได้ในราคาที่สูงขึ้น สุดท้ายโดยรวมก็เหมือนเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนเหล่านี้ นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ Sustainability แทนที่จะเป็นการนำวัตถุดิบมาใช้แล้วทิ้งไป เราก็นำมันมาแปรรูป ให้มันเป็นของที่ขายได้ในราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เราคิดว่ามันน่าจะตอบโจทย์ต่ออาจารย์หรือนักศึกษาที่กำลังสนใจเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าท้องถิ่น หรืองานดีไซน์แพคเกจจิ้งต่าง ๆ”
📍เมฆออร์ต
mek Oort
ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย
ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง
13-16 กุมภาพันธ์ 2568
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/109749
“ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ชื่อว่า Froot เป็นการทำชาหมักคอมบูฉะที่ผสมผสานรสชาติเปรี้ยว หวาน กลมกล่อมจากผลไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำพวกผลไม้มาสร้างมูลค่าแล้ว ยังมีเรื่องของการนำดีไซน์มาใช้เพิ่มมูลค่าของตัวสินค้า มาช่วย Represent ตัวสินค้า ให้ดูน่าซื้อและเข้าใจในตัวสินค้ามากขึ้นกว่าเดิม”
ซึ่งนอกจากอาจารย์ต้นจะให้ความสำคัญกับการนำจุลชีววิทยามาสร้างมูลค่าให้กับสินค้าท้องถิ่นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อาจารย์ต้นนั้น มองเห็นถึงความสำคัญเช่นเดียวกัน คือเรื่องของแพ็กเกจจิ้งดีไซน์
“อย่างพวกบรรจุภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์ท้องถิ่นของไทย ที่เมื่อก่อนบรรจุภัณฑ์อะไรอย่างนี้มันจะไม่ค่อยน่าดึงดูด แต่พอเรามีการใส่พวกงานดีไซน์หรือให้ความสำคัญกับสิ่งพวกนี้มากขึ้น คนที่เห็นหรือไม่เคยสนใจสินค้าท้องถิ่น ก็อาจจะแบบ ดูแล้วอยากชิมอยากลองดูว่าเป็นยังไง”
“ในแง่ของการเป็นอาจารย์ ผลิตภัณฑ์ตัวนี้น่าจะช่วยในเรื่องของการเป็นโจทย์วิจัยได้ เพราะประเทศเราตอนนี้ก็มีนโยบายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เป็นความยั่งยืนหรืออย่างโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) เพราะประเทศไทยจะมีพวกวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรหรือแบบของเกรดต่ําเหลือเยอะมาก ซึ่งสามารถเอามาวิจัยและเพิ่มมูลค่าให้กับมันได้”
“ส่วนในแง่ของนักศึกษา เด็ก ๆ น่าจะชอบ เพราะปัจจุบันเทรนด์แนวโน้มของเด็กที่เรียนสายวิทย์หลาย ๆ คน อยากจะกลับไปเปิดสตาร์ทอัพที่บ้าน สิ่งเหล่านี้ก็น่าจะเป็นการเรียนรู้ที่ดี ว่ามันต้องเริ่มต้นผลิตยังไง อาจจะเป็นไอเดียต่อยอดให้กับเขาว่าวิทยาศาสตร์มันก็สามารถประสานกับด้านศิลปะและงานดีไซน์ได้”
📍Froot
ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย
ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง
13-16 กุมภาพันธ์ 2568
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/105108
#BKKDW2025
#BangkokDesignWeek
#DesignUpRising
#ออกแบบพร้อมบวก