The Making of A49
The Making of A4949 & FRIENDS ชุมชนนักสร้างสรรค์ที่จับมือกันพัฒนาย่าน เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ปีนี้มีย่านใหม่เพิ่มเข้ามาสร้างสีสันหลายย่าน หนึ่งในนั้นคือ ‘พร้อมพงษ์’ ย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง ที่มีชุมชนนักออกแบบซ่อนตัวอยู่ในซอยสุขุมวิท 26 โดยออฟฟิศของบริษัท สถาปนิก 49 จำกัด หรือ A49 ก็ตั้งอยู่ที่นี่เช่นกัน ในปี 2566 A49 บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมแถวหน้าของเมืองไทยเดินทางมาถึงวาระครบรอบ 40 ปี จึงมีความคิดที่จะร่วมแบ่งปันเรื่องราวและประสบการณ์ ทั้งยังชักชวนมิตรสหายจากสตูดิโอข้างเคียง มารวมตัวกันจัดกิจกรรมในเทศกาลฯ ภายใต้ชื่อ 49 & FRIENDS พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการออกแบบและเทคโนโลยีดร.กอล์ฟ – ณรงค์วิทย์ อารีมิตร Executive Director บริษัท A49 และ Regional Manager A49 ขอนแก่น บอกเล่าถึงภาพรวมของโปรเจกต์ที่ทำร่วมกับเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 ว่า ท่ามกลางบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป สิ่งที่ A49 ศึกษาและลงมือทำมาโดยตลอดคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นในหลากหลายมิติ ซึ่งสอดคล้องกับธีมงานเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ปีนี้ที่โฟกัสกับประเด็น Urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี จึงเป็นโอกาสดีที่ทั้งสองฝ่ายได้มาร่วมงานกัน “ผมคิดว่า Vision ของบริษัทเรากับ Bangkok Design Week พูดตรงกัน การร่วมงานกันน่าจะช่วยดึงคนให้มาทำความเข้าใจกับเรื่องการพัฒนาเมืองได้มากขึ้น แต่ถ้าเราทำคนเดียว Impact อาจจะไม่ใหญ่ หากมีคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันเพิ่มมากขึ้น เราน่าจะได้เห็นอะไรที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งในซอยสุขุมวิท 26 นอกจากออฟฟิศของ 49 Group แล้ว เวิ้งนี้ยังมีกลุ่มดีไซเนอร์อีกเยอะตรงโกดังที่เรียกว่า Warehouse 26 มีคนเก่งๆ จากสตูดิโออื่นอีกมากมาย เราเลยชวนเพื่อนๆ นักออกแบบมาพูดคุยกันว่า เราจะช่วยกันทำย่านนี้ให้ดีขึ้นยังไงได้บ้าง” Warehouse 26 ประกอบไปด้วยโกดังเก่าที่รีโนเวตอย่างสวยงามให้เป็นออฟฟิศ สตูดิโอ โชว์รูมสินค้าดีไซน์ และร้านอาหารน่านั่งหลายร้าน แต่เนื่องจากเป็นสถานที่ทำงานของกลุ่มนักออกแบบ คนภายนอกหรือนักท่องเที่ยวจึงไม่ค่อยมีโอกาสเข้ามาสัมผัสไลฟ์สไตล์ของผู้คนในเวิ้งนี้เท่าไรนัก การจัดงานเทศกาลฯ จึงเป็นเสมือนการเปิดบ้านต้อนรับผู้คนใหม่ๆ ให้เข้ามาทำความรู้จักกับชุมชนนักออกแบบใจกลางกรุง ผ่านหลากหลายกิจกรรม ทั้งนิทรรศการ เสวนา กิจกรรม Open House และทัวร์ชมพื้นที่ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการจุดประกายให้ชุมชนนักออกแบบสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นย่านสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนได้ในอนาคต ปรับปรุงระบบแสงสว่างเพื่อซอยที่น่าอยู่ขึ้นนอกจากนี้ ยังมีโปรเจกต์ทดลองน่าสนใจอย่าง 49 & FRIENDS: LUMINOUS 26 ที่เกิดขึ้นจากโจทย์ว่า ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบทำให้พื้นที่ที่เราอยู่อาศัยดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง โดยจุดเด่นของซอยสุขุมวิท 26 คือเป็นซอยที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เป็นข้อดีที่ทำให้หลายคนจดจำซอยนี้ได้ แต่ยามค่ำคืนทางเดินจะค่อนข้างเปลี่ยวและมืด เพราะระบบไฟส่องสว่างไม่ได้ออกแบบร่วมกับการมีอยู่ของต้นไม้ใหญ่มาตั้งแต่ต้น แสงจึงถูกบดบังด้วยกิ่งก้านของต้นไม้ “ถ้ามีโอกาสเข้ามาที่ซอยสุขุมวิท 26 จะเห็นว่ามีความแตกต่างกับซอยข้างเคียงค่อนข้างมาก ซอยนี้มีต้นไม้เต็มไปหมดทั้งสองฝั่งจนเขาเรียกกันว่าอุโมงค์ต้นไม้ เป็นเอกลักษณ์ที่ชุมชนอยากรักษาไว้ให้ดีที่สุด แต่การที่ต้นไม้แผ่กิ่งก้านออกมาเยอะมันก็บดบังแสงสว่างตอนกลางคืน ทำให้บางโซนในซอยมืดกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งการบอกว่ามืดหรือไม่มืดไม่ได้ใช้แค่ความรู้สึก แต่ทีมของเรามีเครื่องมือวัดปริมาณแสงออกมาเป็นตัวเลขเลย เพราะเราเชื่อเรื่องข้อมูลที่แท้จริง” “ประเด็นถัดมาคือเราจะเพิ่มแสงสว่างยังไงได้บ้าง ทุกคนคงคิดว่าแค่เอาไฟติดเข้าไปมันก็ช่วยแล้ว แต่ในมุมมองของบริษัทสถาปนิกที่มีแผนกเทคโนโลยี เราตั้งคำถามต่อว่าการติดตั้งไฟมีเรื่องอะไรที่ควรระมัดระวังบ้าง เช่น แสงอาจรบกวนสายตาคนขับรถจนเกิดอุบัติเหตุได้ หรือถ้าเปิดไฟทั่วพื้นที่ตลอดเวลาจะสิ้นเปลืองหรือเปล่า จึงนำไปสู่การตั้งโจทย์ว่าเป็นไปได้ไหมที่ไฟจะเปิดเฉพาะตอนคนเดินผ่าน แล้วให้ตำแหน่งของไฟเคลื่อนที่ตามจุดที่คนเดินไปด้วย เพื่อทำให้การเปิดไฟไม่รบกวนคนอื่น และควรเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ปริมาณไฟฟ้าไม่มากนัก” จากไอเดียดังกล่าว 49 & FRIENDS: LUMINOUS 26 จึงถูกพัฒนาออกมาเป็น Tracking & Object Recognition ระบบแสงสว่างที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของคนเดินถนนและรถยนต์ยามค่ำคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบแสงจะถูกติดตั้งไว้ใต้เลเยอร์ของต้นไม้ เมื่อมีคนเดินผ่านจะปรากฏคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนน่ารักๆ ทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมทาง จึงได้ประโยชน์ทั้งในแง่ของฟังก์ชันและยังช่วยเติมสีสันให้ย่านมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วย “จะเห็นว่าการออกแบบทางเดินไม่ใช่เรื่องความปลอดภัยอย่างเดียว แต่มีเรื่องบรรยากาศและความสวยงามด้วย ถามว่าสิ่งที่เราทำเป็นทางแก้ปัญหาที่ภาครัฐสามารถนำไปใช้ได้โดยตรงไหม ก็อาจจะยังไม่ใช่เสียทีเดียว แต่เป็นตัวอย่างความพยายามในการแก้ปัญหาชุมชนด้วยงานออกแบบ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต ถือเป็นโปรเจกต์ทดลองที่เราทำขึ้นเพราะอยากรู้ว่าอะไรดีไม่ดี จากนั้นเราจะเก็บข้อมูลว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีประเด็นไหนที่ดีอยู่แล้ว ประเด็นไหนนำไปปรับปรุงได้ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์อีกทีก่อนนำไปขยายผลเพื่อใช้แก้ปัญหาสังคมในวงกว้าง” ดร.กอล์ฟกล่าวทิ้งท้าย–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zationเมือง-มิตร-ดี4 – 12 FEB 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
แจกคู่มือชมงาน Bangkok Design Week 2023
แจกคู่มือชมงาน Bangkok Design Week 2023ฉบับ urban‘NICE’zationสำหรับการเดินงาน Bangkok Design Week 2023 ภายใต้ธีม urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี ให้ ‘ดี’ ยิ่งขึ้น เรามี Visitor Guide มาให้เตรียมพร้อมก่อนมางาน ปีนี้จัดที่ไหน? เดินงานยังไงให้ครบ? มางานยังไงให้ ‘ไนซ์’ ต่อเมือง? เราได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้แล้วที่นี่ หรือถ้าหากอยากรู้รายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านได้ที่www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023 ปีนี้จัดที่ไหนบ้าง?ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ปีนี้ เราจัดใหญ่ ด้วยความร่วมมือจาก 9 ย่านสร้างสรรค์ ได้แก่ ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย, ย่านเยาวราช, ย่านสามย่าน – สยาม, ย่านอารีย์ – ประดิพัทธ์, ย่านพระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง, ย่านวงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู / คลองสาน, ย่านบางโพ, ย่านพร้อมพงษ์, ย่านเกษตรฯ และพื้นที่อื่นๆ ที่พร้อมเข้ามาสร้างเมืองให้เป็นมิตรด้วยความคิดสร้างสรรค์ ในแต่ละย่านจะมีงานจัดแสดงในพื้นที่ไหนบ้าง และควรเริ่มเดินจากสถานที่อะไร ไปดูกันเลยดูแผนที่รวมทุกย่านได้ที่ www.google.com/maps/d/viewer?mid=1mlTrCfFiVJm810QDxr5NmosIZNBHtzI&ll=13.756587298077374%2C100.51595074775034&z=15 ดูแผนที่เดินได้ ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=280ดูแผนที่เดินได้ ย่านเยาวราชได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49827ดูแผนที่เดินได้ ย่านสามย่าน – สยามได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=281ดูแผนที่เดินได้ ย่านอารีย์ – ประดิพัทธ์ได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=282ดูแผนที่เดินได้ ย่านพระนครได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49828ดูแผนที่เดินได้ ย่านปากคลองตลาดได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=50632ดูแผนที่เดินได้ ย่านนางเลิ้งได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=50628ดูแผนที่เดินได้ ย่านวงเวียนใหญ่ – ตลาดพลูได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49829ดูแผนที่เดินได้ ย่านคลองสานได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=50633ดูแผนที่เดินได้ ย่านบางโพได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49831ดูแผนที่เดินได้ ย่านพร้อมพงษ์ได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=54158ดูแผนที่เดินได้ ย่านเกษตรฯได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49824ดูแผนที่เดินได้ พื้นที่อื่นๆได้ที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=284How to ค้นหาโปรแกรมที่ใช่ ไปงานที่ชอบ เก็บยังไง ? ให้ครบทุกโปรแกรมที่สนใจวิธีที่ 1 ค้นหาโปรแกรมทั้งหมดบนเว็บไซต์เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ จะสามารถค้นหาโปรแกรมทั้งหมดภายในงาน โดยสามารถเลือกวันที่ เลือกประเภทงาน และเลือกสถานที่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/program วิธีที่ 2 ค้นหาผ่านโปรแกรม Highlight สำหรับใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเริ่มจากโปรแกรมไหน เราได้มัดรวม 30 โปรแกรมไฮไลท์จากกว่า 500+ โปรแกรมทั่วกรุงฯ มีทั้งทอล์ก เวิร์กช็อป โชว์เคส ทัวร์ นิทรรศการ และตลาดนัด มาไว้ให้เลือกไปแล้ว ที่นี่www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/content/57505 วิธีที่ 3 ค้นหาโปรแกรมตามสายที่สนใจเลือกไปที่ใช่ ตามสไตล์ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นสายทำคอนเทนต์คอนใจ สายชอบเดินชุมชน สายธุรกิจหาคอนเนคชั่น สายเวิร์คชอป สายพัฒนาเมือง ก็สามารถมาเลือกโปรแกรมที่ใช่กับตัวเองที่สุด ได้ที่นี่ www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/selected-routes กด ❤︎ เมื่อเจอโปรแกรมที่สนใจเข้าไปที่หน้าโปรแกรมพร้อมกดหัวใจที่มุมขวาบน กิจกรรมและแผนที่เส้นทางจะถูกบันทึกอยู่ในแพลนของคุณบนเว็บไซต์ของเรา โดยสามารถกลับเข้าไปดูได้ตลอดเวลา *อย่าลืมจองโปรแกรมล่วงหน้า!การเข้าชมงานเทศกาลฯ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถ Walk-in ได้ แต่บางงานจัดแสดงจะต้องสำรองการเข้าชมล่วงหน้าเท่านั้น โดยผู้เข้าชมสามารถดูข้อมูลและเงื่อนไขการเข้าชมงานของแต่ละโปรแกรมได้ที่ bangkokdesignweek.com และ FB : Bangkok Design Weekย่านไหนมีงาน ย่านนั้นมีเรา 😉รวมช่องทางการติดตามทุกความเคลื่อนไหวของแต่ละย่าน ติดตามเรื่องราวของย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อยได้ที่ web.facebook.com/CharoenkrungCD ติดตามเรื่องราวของย่านเยาวราชได้ที่ web.facebook.com/yaowalen.bkkdw2023/ และ web.facebook.com/sataranacitizen ติดตามเรื่องราวของย่านอารีย์ – ประดิพัทธ์ได้ที่ web.facebook.com/AriAroundTH ติดตามเรื่องราวของย่านพระนครได้ที่ web.facebook.com/UrbanAlly.SU ติดตามเรื่องราวของย่านปากคลองตลาดได้ที่ web.facebook.com/manuspakkhlong ติดตามเรื่องราวของย่านนางเลิ้งได้ที่ web.facebook.com/frecbkk web.facebook.com/UrbanStudiesLab และ web.facebook.com/e.lerng.art?_rdc=1&_rdr ติดตามเรื่องราวของย่านวงเวียนใหญ่ – ตลาดพลูได้ที่ web.facebook.com/youngthonburi ติดตามเรื่องราวของย่านคลองสานได้ที่ web.facebook.com/wearesup.official ติดตามเรื่องราวของย่านบางโพได้ที่ web.facebook.com/bangphowoodstreet.th ติดตามเรื่องราวของย่านพร้อมพงษ์ได้ที่ web.facebook.com/architects49 ติดตามเรื่องราวของย่านเกษตรฯ ได้ที่ web.facebook.com/kasetgreen.neighborhood 5 ข้อแนะนำ เดินงานยังไง? ให้ ‘ไนซ์’ ต่อเมือง1. เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะสถานที่จัดงานบางจุดอาจเข้าถึงด้วยรถยนต์ยากสักหน่อย แต่คุ้มค่ากับการไปเยือนแน่นอน การใช้ขนส่งสาธารณะจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และช่วยลดปัญหามลพิษด้วยนะ2. ช่วยกันลดปริมาณขยะวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้ คือพกกระติกน้ำ ภาชนะใส่อาหาร หรือถุงผ้ามาจากบ้าน เวลาช้อปปิ้งหรือซื้ออาหาร อย่าลืมบอกคนขายว่าไม่รับถุง เท่านี้ก็ช่วยลดขยะได้อีกเป็นกอง3. อุดหนุนร้านรวงในชุมชนมีโอกาสได้ซอกแซกสำรวจสถานที่ใหม่ๆ ทั้งที ต้องไม่พลาดชิมอาหารจานเด็ดแต่ละย่าน บางชุมชนมีของแฮนด์เมดน่ารักๆ ขายด้วย ช้อปแล้วดีต่อใจเป็นที่สุด4. เป็นแขกที่น่ารักไม่รบกวนเจ้าบ้านสถานที่จัดงานบางแห่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ส่วนตัวของผู้อาศัยในชุมชน จึงต้องระวังการส่งเสียงดังรบกวน ไม่ทิ้งขยะไว้ให้หมองใจกัน ไม่เดินขวางถนน และเคารพความเป็นส่วนตัวของเจ้าบ้าน5. เปิดใจเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย สังคมเรามีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ศาสนา อายุ และเพศ งานนี้จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และหากไปชมงานใกล้ๆ ศาสนสถานก็อยากขอความร่วมมือให้แต่งกายสุภาพสักหน่อย เพื่อเป็นการให้เกียรติสถานที่ด้วยเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 (Bangkok Design Week 2023) อาจมีการบันทึกภาพและวิดีโอตลอดเทศกาลฯ รวมถึงการเก็บข้อมูลการลงทะเบียนซึ่งอาจเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สำหรับการเก็บรวบรวม ใช้ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามที่ได้ระบุไว้ด้านล่างนี้ ทั้งนี้ หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ระยะเวลาที่สำนักงานจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ วิธีการในการเก็บรักษาและมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือเกี่ยวกับสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล ช่องทางและวิธีในการใช้สิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิในการขอถอนความยินยอมของท่านได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงานได้ที่: dpo@cea.or.thอนึ่ง สำนักงาน และทีมผู้จัดกิจกรรม จะนำภาพนิ่งและภาพวิดีโอสำหรับการประชาสัมพันธ์เทศกาลฯ และข้อมูลส่วนบุคคลของท่านสำหรับประสานงานการเข้าร่วมกิจกรรม “Bangkok Design Week 2023” เท่านั้น หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ทาง hello.bkkdw@cea.or.thอ่านนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) เพิ่มเติม www.cea.or.th/th/privacy-policy–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zationเมือง-มิตร-ดี4 – 12 FEB 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
“เอพี ไทยแลนด์” ชวนวาดภาพ “โลกของความสุขในแบบที่คุณเลือกเองได้”
“เอพี ไทยแลนด์” ชวนวาดภาพ “โลกของความสุขในแบบที่คุณเลือกเองได้” เปิดตัวนิทรรศการ “THE CANVAS WORLD” บริษัท เอพี ไทยแลนด์ ผู้นำแบรนด์อสังหาฯ ชั้นนำของไทย ภายใต้ Brand Promise “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” ได้ร่วมมือกับกลุ่มนักออกแบบที่เชี่ยวชาญในการสร้างประสบการณ์อย่าง Eyedropper Fill สร้างสรรค์นิทรรศการ The Canvas World งานศิลปะดิจิทัลในรูปแบบ Interactive art ผ่านผืนผ้าใบลูกโลกขนาดใหญ่ด้านหน้าของงาน Bangkok Design Week 2023 ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้โดยตรง เปิดให้ทุกคนสะท้อนความคิดและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการเป็นคนที่มีความสุขในแบบที่เลือกเองได้ ในรูปแบบงานสร้างสรรค์ที่เข้าถึงง่าย โดยผลจากทุกความคิดเห็นจะแสดงออกมาเป็น Data Visualization ผสมผสานสื่อและเทคโนโลยี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสะท้อนทุกความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์เมือง-มิตร-ดีของผู้คน เพื่อให้เห็นเป็นแนวทางที่จะพัฒนาเมืองในรูปแบบนั้นต่อไปในอนาคต เพราะ เอพี เชื่อว่า ถ้าเรามีความสุขในแบบที่เราเลือกเอง เราก็จะมีชีวิตดีๆ และเป็นมิตรที่ดีกับเมือง หรือกับโลกใบนี้ต่อไป งานชิ้นนี้จึงเปรียบเสมือนการตอกย้ำเจตนารมณ์ของเอพีที่มุ่งสร้างสินค้าและบริการการอยู่อาศัยอย่างครบวงจร และพร้อมพัฒนาเพื่อให้ผู้คนสามารถสร้างประสบการณ์การใช้ชีวิตที่หลากหลาย มีความสุขกับชีวิตในรูปแบบที่แต่ละคนต้องการได้เมืองเป็นมิตรคือเมืองที่เปิดรับความหลากหลายหลายครั้งที่โจทย์การพัฒนาเมืองที่ดีและสังคมที่เป็นมิตรกับทุกคนนั้น นำมาสู่กระบวนการคิดพัฒนาเมืองที่หลากหลาย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญเสมอคือการทำงานบนความคิดสร้างสรรค์และทัศนคติที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ความคิดเห็นไม่ใช่อุปสรรค การสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงฝีมือและความคิดคือพลังแห่งการสร้างสรรค์ การร่วมกันคิดและร่วมกันทำ สามารถสร้างเมืองที่ทุกคนมีชีวิตดีๆ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในแบบที่เลือกเองได้สำหรับใครที่อยากสร้างเมืองที่ดีในอุดมคติของตัวเอง และร่วมบอกเล่าความคิดสร้างสรรค์ที่นำไปสู่การพัฒนาเมือง สามารถไปเยี่ยมชมและร่วมสนุกได้ที่งาน Bangkok Design Week 2023 นี้ –Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zationเมือง-มิตร-ดี4 – 12 FEB 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
ย่านเก่าที่เล่าใหม่ได้ไม่รู้จบ กับ SC ASSET
ย่านเก่าที่เล่าใหม่ได้ไม่รู้จบ กับ SC ASSETยินดีต้อนรับคนใหม่สู่ย่านเก่า และอยากให้เราอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจฟื้นคืนชีวิตชีวาสู่ย่านแห่งความทรงจำการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยทำให้ความสำคัญของย่านการค้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ ลดบทบาทลงตามกาลเวลา และนับวันวัฒนธรรมชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวก็ดูเหมือนจะยิ่งเลือนหาย SC Asset ในฐานะบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้างนิเวศการอยู่อาศัยที่ดี จึงต้องการปลุกชีวิตให้ย่านเก่าอย่าง ‘วงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู’ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และรักษาคุณค่าดั้งเดิมของย่านไว้ ไปพร้อมๆ กับสร้างสมดุลต่อความเปลี่ยนแปลงของเมือง โดยดึงจุดเด่นและความทรงจำของย่านมาขับเคลื่อนกิจกรรมที่เชื่อมร้อยประวัติศาสตร์เข้ากับความคิดสร้างสรรค์ เนรมิตให้เกิด 42 โปรแกรมสุดครีเอตจากความร่วมมือของหลายฝ่าย รวมทั้งเครือข่ายคนในชุมชนที่อยากเห็นย่านนี้เติบโตอย่างสร้างสรรค์ย่านวงเวียนใหญ่จุดเริ่มต้นของคนมีฝันย่านวงเวียนใหญ่เต็มไปด้วยร้านเครื่องหนัง ร้านขายผ้า และสารพัดของ DIY ที่ผู้ประกอบการรายเล็กๆ มักแวะเวียนมาจุดประกายไอเดียและเริ่มต้นความฝันที่นี่ ทุกวันนี้มีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยกลับมาสานต่อธุรกิจครอบครัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับย่าน รวมถึงคนใหม่ๆ ที่ย้ายเข้ามามองหาโอกาสทางธุรกิจ SC Asset จึงเปิดพื้นที่คอนโด Reference ให้เป็น Venue แสดงงานหลักของโซนวงเวียนใหญ่ ภายใต้ธีม “ถลกหนังวงเวียนใหญ่” ตีแผ่ตัวตน และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ของย่านวงเวียนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยหลากหลายกิจกรรม อาทิ นิทรรศการ ถลกหนัง The Maker: อยู่อย่างย่านเจริญรัถ ซึ่งนำของดีประจำย่านมาจัดแสดงผสมผสานเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ กิจกรรมสร้าง NFT ของย่าน งาน Projection Mapping เวิร์กช็อปทำมือ ตลาดสร้างสรรค์ ไปจนถึงฉายหนังสารคดี หนังพากย์สด และดนตรีเชิงทดลอง นอกจากนี้ ยังมีเวที Talk น่าสนใจหลายประเด็น ไม่ว่าจะเรื่องความท้าทายของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม DIY ภายในย่าน อนาคตของอุตสาหกรรมเครื่องหนัง การพัฒนาเจริญรัถสู่ความเป็นย่านสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจในการออกแบบสินค้าทำมือให้แข่งขันกับตลาดได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการออกแบบสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างคุณค่าและต่อยอดทางเศรษฐกิจได้อย่างสุดปังจับมัดรวมของดีย่านตลาดพลูขยับมาที่ฝั่งตลาดพลูกันบ้าง ไฮไลต์ที่ไม่ควรพลาดคือนิทรรศการ Human Interaction อภินิหาร ‘ตลาดพลูคืนชีพ’ ที่ตลาดใต้สะพาน ที่อยากชวนทุกคนมาร่วมค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการเปลี่ยนโฉมตลาดพลูให้กลายเป็นย่านสตรีทฟู้ดสุดป๊อป และยังมีการเปิด ‘โรงสีง่วนไถ่’ สิ่งปลูกสร้างเก่าแก่คู่ย่าน ให้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้คนต่างวัยมีโอกาสพบปะและสร้างบทสนทนาร่วมกัน มีการแสดงเชิงทดลองอย่าง อภินิหาร ‘เสียงสะท้อนตลาดพลู’ ที่นำเสียงภายในย่าน เช่น เสียงการแสดงเชิดสิงโต กระตั้วแทงเสือ เสียงรถไฟ ฯลฯ มาสร้างสรรค์เป็น Performing Art และคนชอบกินต้องถูกใจสิ่งนี้แน่นอน อภินิหาร ‘อาหารตลาดพลู’ ที่นำอาหารดั้งเดิมประจำย่านมาปรับโฉมให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มากขึ้นมิตรที่ดีทำให้ชุมชนไปต่อได้การรักษาทุนทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในย่าน คือเป้าหมายสำคัญที่ SC Asset ตั้งใจสนับสนุนให้เกิดขึ้นในพื้นที่รอบโครงการที่อยู่อาศัย เพื่อให้คนที่เข้ามาอยู่ใหม่ได้สัมผัสเสน่ห์ของย่านเก่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา แต่ละกิจกรรมจึงเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของคนทุกวัย มีกิมมิกอย่างการนำรถกะป๊อประจำถิ่นที่ชาววงเวียนใหญ่ – ตลาดพลูคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว มาใช้รับส่งคนที่มาเที่ยวชมงาน และพยายามนำไอเดียใหม่ๆ มาเชื่อมต่อกับประวัติศาสตร์ของย่านด้วยท่าทีที่ไม่แปลกปลอม โดยใช้ประโยชน์ของการออกแบบมากำหนดทิศทางการเติบโตของ ‘เมือง-มิตร-ดี’ ที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zationเมือง-มิตร-ดี4 – 12 FEB 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
ต่อยอดไม่รู้จบกับความคิดสร้างสรรค์แนว Waste is more
ต่อยอดไม่รู้จบกับความคิดสร้างสรรค์แนว Waste is moreสร้างมูลค่าและทดสอบทุกความเป็นไปได้กับวัสดุไร้มูลค่า More ใช้พลังสร้างสรรค์เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุทดแทนการเปลี่ยนขยะจากอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเป็นวัสดุทดแทน ย่อมช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจให้กับผู้คนได้อย่างมหาศาล เพราะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจมากขึ้น ช่วยลดปัญหาต้นทุนในการผลิตและช่วยกำจัดขยะที่เกิดจากการอุปโภคบริโภค ส่งผลให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางบวกแบบนี้ได้ ต้องอาศัยการวิจัยศึกษา ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ MORE เป็นหนึ่งในกลุ่มนักคิดที่ขยับตัวเข้ามาศึกษาและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาขยะ หรือของเสีย ตั้งแต่ปี 2565 ด้วยการศึกษาและแปรรูปของเสียจากโรงคั่วกาแฟให้กลายเป็นสินค้าตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ หลังจากศึกษาความเป็นไปได้ของวัสดุต่างๆ และเตรียมความพร้อมของโปรเจกต์มายาวนาน ปีนี้ในงาน Bangkok Design Week 2023 จะเป็นการเปิดตัวแบรนด์ MORE ครั้งแรก พร้อมกับนิทรรศการขนาดใหญ่ที่ชักชวนให้ผู้คนช่วยกันคิดสร้างสังคมที่ยั่งยืน พร้อมกับทำความเข้าใจมูลค่ามหาศาลของขยะที่ใครอาจยังมองไม่เห็น นิทรรศการ “WASTE IS MORE” ของ MORE จึงเล่าแนวคิดการสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนให้เมืองที่มี 3 แนวคิด คือ ความยั่งยืน นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในงาน Bangkok Design Week 2023 นี้ MORE ได้ชวน 8 กลุ่มศิลปินมาทำงานบนพื้นฐานความถนัดและความสนใจที่หลากหลาย โดยตั้งต้นทดลองศึกษาและออกแบบสร้างวัสดุทดแทน จากวัสดุไร้มูลค่า 8 ชนิดที่เป็นของเสีย ไม่ว่าจะเป็นขยะจากครัวเรือนที่ใกล้ตัวผู้คนที่สุดอย่าง ฝาขวดน้ำ เปลือกไข่ไก่ กล่องนมยูเอชที ขยะทางการเกษตรอย่างใบอ้อย หรือขยะที่เกิดจากอุตสาหกรรมใหญ่อย่างเยื่อกาแฟจากคาเฟ่ ฝุ่นผ้าทอจากการทอผ้า แผ่น pvc ปิดขอบ และฝุ่นไม้จากงานเฟอร์นิเจอร์ o-d-a สตูดิโอที่เชี่ยวชาญงานไม้ โด่งดังทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องทำงานกับ “ฝุ่นไม้”NUTRE JEWELLER นักออกแบบเครื่องประดับ ประสบการณ์กว่า 15 ปีกับ “ฝาขวดน้ำ”kitt.ta.khon แบรนด์เฟอร์นิเจอร์เชี่ยวชาญงานหัตถกรรมหวาย ต้องสร้างสรรค์ชิ้นงานจาก “เยื่อกาแฟ”mitr. กลุ่มเพื่อนนักออกแบบที่สนใจค้นคว้าหาความเป็นไปได้ ด้วยวัสดุ “กล่องยูเอชที”TAKORN TEXTILE STUDIO อาจารย์และนักสร้างสรรค์งานสิ่งทออิสระที่ได้รับโจทย์ “ฝุ่นผ้าทอ”Designerd สตูดิโอออกแบบที่รวมตัวนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และกราฟิก กับวัสดุ “แผ่น pvc ปิดขอบ”Spirulina Society แบรนด์ของแต่งบ้านอีโค่ที่ถนัดงานพิมพ์ 3 มิติ ต้องสร้างสรรค์จาก “เปลือกไข่ไก่”ดีไซเนอร์แบรนด์ MORE และนักวิจัยวัสดุที่รับโจทย์สร้างสรรค์จากวัสดุ “ใบอ้อย”นอกจากชิ้นงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่พร้อมเปิดโลกทุกคนแล้ว นิทรรศการครั้งนี้ของ MORE ยังมีเวิร์กช็อปและกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลสร้างโอกาสทางธุรกิจ มีทั้งทีมวิจัย นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมท้าให้ทุกคนทดสอบทุกความเป็นไปได้ของ “ขยะ” และของไร้มูลค่าทั้งหลาย ก่อให้เกิดการต่อยอดประโยชน์ไม่รู้จบในอนาคต เมืองที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมไม่ได้สร้างสำเร็จได้เพียงลำพัง แต่เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่องและให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระยะยาว การร่วมมือกันของนักสร้างสรรค์หลากหลายแขนง นำมาสู่การก่อให้เกิดเครือข่ายนักพัฒนา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เมืองมิตรดีและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเกิดขึ้นกับผู้คนได้จริง และไม่ใช่เมืองที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่เรายังสามารถหาไอเดียสร้างสรรค์ พัฒนาให้เกิดเมืองที่ดีต่อชุมชน วัฒนธรรม และธุรกิจในภาพรวมได้อีกด้วย MORE และเทศกาล Bangkok Design Week 2023 จึงเป็นหมุดหมายสำคัญในการพบปะ แลกเปลี่ยน ส่งต่อแนวความคิด สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้นักคิดรุ่นใหม่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและมองเห็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลง หากใครสนใจเยี่ยมชมและร่วมคิดสร้างความเป็นไปได้ของเมืองด้วยกัน เจอได้ที่งาน Bangkok Design Week 2023 ปีนี้–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zationเมือง-มิตร-ดี4 – 12 FEB 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
centralwOrld citizens โลกไร้ขีดจำกัด
centralwOrld citizens โลกไร้ขีดจำกัดแนวคิดหลักในการสร้างแบรนด์คาแรกเตอร์ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ถูกนำมาคิดต่อยอดและสร้างสรรค์เป็น ‘centralwOrld citizens’ อาร์ตสเปซสีสันโดดเด่นสะดุดตา บริเวณหน้าอาคารไปรษณีย์กลาง กรุงเทพฯ หนึ่งใน Venue หลักของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ โดยผลงานชิ้นนี้นักออกแบบได้นำคำจากตัวอักษร A-Z มาสร้างสรรค์เป็น 26 คาแรกเตอร์ ด้วยลายเส้นขี้เล่น มองแล้วชวนอารมณ์ดี ทั้งยังมีความหมายดีๆ แฝงอยู่ในคำอธิบาย ทำให้ผู้คนที่พบเห็นต่างชี้ชวนกันดูอย่างสนุกสนาน และนำไปสู่การตั้งคำถามว่าเราเป็นใครในคาแรกเตอร์เหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น A – Achiever: I’m full of can-do attitudes and always on the move. B – Believer: Confidence is a beautiful thing you can possess! C – Creative: You can create new things with a different perspective. ทั้ง 26 คาแรกเตอร์ที่มีเรื่องราวเป็นของตนเอง ถูกนำมาจัดวางไว้ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อสะท้อนถึงความเป็น ‘มิตร’ กับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสื่อสารว่าไม่ว่าคุณจะมีเชื้อชาติ วัฒนธรรม อายุ เพศ และความชอบแบบใด ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ก็พร้อมเป็นพื้นที่ของทุกคนอย่างเท่าเทียม ซึ่งนอกจากอาร์ตสเปซหน้าอาคารไปรษณีย์กลางแล้ว บริเวณทางเข้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์และพื้นที่ภายในศูนย์การค้า ยังประดับประดาไปด้วยผลงานศิลปะในคอนเซปต์เดียวกัน จึงไม่ต้องแปลกใจหากแวะเวียนไปที่นั่นแล้วจะเห็นผลงานนี้เช่นกัน จับมือกันสร้างเมืองที่เป็น ‘มิตร’ ต่อความหลากหลายความหลากหลายและมีชีวิตชีวาของผู้คน เปรียบได้กับสีสันที่แต่งแต้มให้โลกนี้สวยงาม และถึงแม้เราจะมีความชอบและความต้องการแตกต่างกันออกไป แต่ทุกความแตกต่างก็สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ด้วยการเติมเต็มและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เซ็นทรัลพัฒนาจึงเชื่อในพลังแห่งความร่วมมือร่วมใจของผู้คนจากที่ต่างๆ ที่นำเอาความสามารถและจุดแข็งมาร่วมกันยกระดับสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้นและเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์พื้นที่ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย โรงแรม หรืออาคารสำนักงาน เซ็นทรัลพัฒนาให้ความสำคัญและมุ่งเน้นในเรื่องของการออกแบบที่สามารถตอบโจทย์ให้กับทุกคนได้ ทั้งยังมีความคาดหวังให้การออกแบบในประเทศไทย เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงคนทุกกลุ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนปกติ ผู้สูงวัย หรือผู้พิการ เพื่อช่วยลดอุปสรรคในการใช้งาน เน้นการออกแบบเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zationเมือง-มิตร-ดี4 – 12 FEB 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
เรียนรู้ศิลปะแห่งการเติบโตคู่ยุคสมัยกับก้าวใหม่ของ ตรากิเลน
เรียนรู้ศิลปะแห่งการเติบโตคู่ยุคสมัยกับก้าวใหม่ของ ตรากิเลน ด้วยการถ่ายทอดอัตลักษณ์ต้นตำรับ ผ่านนิทรรศการ ‘ชมได้-ทานได้’ ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่การเดินทางครั้งใหม่ของต้นตำรับสมุนไพรไทย-จีนครั้งนี้ “ตรากิเลน” แบรนด์ตำรับยาสูตรสมุนไพรที่ได้รับความเชื่อใจและยืนหยัดอยู่คู่สุขภาพที่ดีของคนไทยมาช้านาน ได้ร่วมสร้างสรรค์นิทรรศการ Kilane Crimson Garden ร่วมกับ ยูน-ปัญพัท เตชเมธากุล ศิลปินไทยชื่อเสียงระดับโลกผู้อยู่เบื้องหลังการพลิกโฉม “ตรากิเลน”ในรอบ 132 ปี โดยถ่ายทอดเอกลักษณ์เฉพาะของตรากิเลนที่สืบทอดมานานด้วยศิลปะสไตล์โมเดิร์นวินเทจที่ผสมผสานระหว่างความเป็นไทยและจีนโบราณ เนรมิตพื้นที่ร้านฮงเซียงกง คาเฟ่ร่วมสมัยย่านตลาดน้อยให้กลายเป็นดินแดนสมุนไพรสีแดงทรงพลัง นำสัญลักษณ์สำคัญอย่าง กิเลน ดอกโบตั๋น และพรรณไม้นานาชนิด มาอวดโฉมให้ทุกคนได้สัมผัส ซึ่งงานนี้เป็นการปรับภาพลักษณ์ ตรากิเลน ทั้งแบรนด์อย่างครบวงจร โดยมีการเผยโฉมโลโก้ใหม่เป็นครั้งแรก และมีการดีไซน์บรรจุภัณฑ์ใหม่ของตรากิเลนทั้งหมด 5 ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น โบตัน, ยากฤษณากลั่น, ยาธาตุ ๔, อุทัยทิพย์ และทัมใจ เพื่อสื่อสารให้กับผู้คนที่คิดถึงได้เห็นการพัฒนาเอกลักษณ์ต้นตำรับของแบรนด์ที่เติบโตคู่ยุคสมัย และสื่อสารให้คนรุ่นใหม่เกิดภาพจำ สนใจที่จะทำความรู้จักศิลปะการดูแลร่างกายและจิตใจด้วยสมุนไพรแบบองค์รวม เพื่อส่งพลังบวกให้กับตัวเองและคนรอบข้างในสังคมต่อไป ไม่ใช่แค่ชม แต่เปิดรับความสนุกทุกประสาทสัมผัส นิทรรศการครั้งนี้ นอกจากจะเลือกถ่ายทอดให้ทุกคนได้มาสัมผัสความงามผ่านบรรยากาศที่ผสมผสานระหว่างสไตล์โมเดิร์นวินเทจที่เป็นศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทยจีนโบราณเข้าด้วยกัน และความคิดสร้างสรรค์ที่สดใหม่ อย่างการตกแต่งด้วย Kilane Landmark รูปปั้นกิเลนดอกไม้ขนาดยักษ์เป็น installation art การย้อมไฟสีแดงที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ และการฉาย Projection Mapping เป็นโลโก้ รวมถึงรูปกิเลนที่เคลื่อนไหวได้แล้ว ตรากิเลนยังเลือกถ่ายทอดผ่านวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดทุกคนอย่างการกินด้วยเช่นกัน โดยในงานนี้จะมีโซนเครื่องดื่มและขนมที่ตรากิเลนชวนเชฟมากฝีมืออย่าง เป่าเป้-เจสสิก้า หวัง มาทำงานร่วมกับศิลปินหลัก คุณยูน-ปัญพัท เตชเมธากุล เพื่อช่วยกันครีเอตเครื่องดื่มสูตรพิเศษและขนมหวานสุดอร่อยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผลิตภัณฑ์ภายใต้ตรากิเลน และนำบางผลิตภัณฑ์มาเป็นวัตถุดิบสำคัญในครั้งนี้ด้วย เช่น โบตัน อุทัยทิพย์ และหวังจะมอบความอร่อยและเอ็นจอยกับประสบการณ์ความแปลกใหม่ของรสชาติสมุนไพรกับเมนูเครื่องดื่มและขนมหวานสมัยใหม่ที่เข้ากันได้อย่างลงตัว และได้สัมผัสศาสตร์สมุนไพรเพื่อนำไปดูแลสุขภาพในชีวิตให้ดียิ่งขึ้น การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเป็นหนึ่งในปัจจัยของการสร้างสรรค์ไม่รู้จบ เมืองที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงคือเมืองที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ เชื่อว่า Kilane Crimson Garden นิทรรศการที่เปิดให้เราสนุกกับประสาทสัมผัสต่างๆ สามารถส่งต่อแรงบันดาลใจและขับเคลื่อนสังคมแห่งการสังสรรค์ให้กับผู้มาเยือนได้แน่นอน หากสนใจลิ้มรสประสบการณ์ใหม่ในการใส่ใจสุขภาพ และศึกษาแบรนด์ไทยที่มีความเก่าแก่และดำรงอัตลักษณ์มาอย่างยาวนาน สามารถเยี่ยมชมได้ที่งาน Bangkok Design Week 2023 ปีนี้–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zationเมือง-มิตร-ดี4 – 12 FEB 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
CASETiFY งานออกแบบที่พกติดตัวได้
CASETiFY งานออกแบบที่พกติดตัวได้คอลเล็กชันจาก 10 ศิลปิน ที่บอกเล่าเรื่องราวใน 10 ย่านที่ร่วมจัด Bangkok Design Week 2023CASETiFY x BKKDW2023 ชักชวน 10 ศิลปินไทยสุดป๊อปมาร่วมปล่อยของ ประลองไอเดีย สร้างสรรค์เคสโทรศัพท์ที่ถ่ายทอดเรื่องราว 10 ย่านในกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่จัดเทศกาลฯ โดยหยิบเอาแรงบันดาลใจมาจากธีม urban‘NICE’zation ซึ่งเน้นการดึงอัตลักษณ์ของย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ มานำเสนอ พื้นที่ว่างบนเคสเปรียบได้กับผืนผ้าใบสำหรับทำงานศิลปะ ที่สามารถละเลงสีสันและสะท้อนตัวตนลงไปบนชิ้นงานได้อย่างเต็มที่ เหล่าศิลปินจึงสนุกไปกับการตีความย่านต่างๆ ในแบบฉบับของตนเอง เพื่อนำเสนอของที่ระลึกสำหรับงาน Bangkok Design Week 2023 ที่พกติดตัวไปได้ทุกที่เสมือนเป็นอวัยวะที่ 33 และให้ทุกคนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบอกเล่าว่าย่านของตัวเองมีดียังไงผ่านเคสโทรศัพท์ที่เลือกใช้ ทั้ง 10 ผลงานประกอบด้วย1. ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย ออกแบบโดย Juli Baker and Summer ที่เลือกใช้สีสันสดใสและลายเส้นสนุกๆ มานำเสนอแนวคิดว่าย่านนี้ทำให้งานศิลปะและงานดีไซน์กลายเป็นเรื่องเข้าถึงง่าย เป็นมิตรและใกล้ตัวมากขึ้น2. ย่านเยาวราช ออกแบบโดย Phayanchana ที่เลือกนำคำว่า YAOWARAT มาออกแบบเป็นคาแรกเตอร์ 8 ตัวที่คล้ายคลึงกับตัวอักษร โดยแต่ละคาแรกเตอร์ล้วนสื่อความหมายของย่านออกมาได้อย่างเป็นเอกลักษณ์3. ย่านนางเลิ้ง ออกแบบโดย Natthaphorn ศิลปินนำแรงบันดาลใจจากสถานที่แห่งความทรงจำอย่างสนามม้านางเลิ้ง มาผสมผสานกับเรื่องราวของสถาปัตยกรรมชุมชน โดยใช้โทนสีชมพูขาวที่เป็นเอกลักษณ์ของตึกเก่าในย่านนี้4. ย่านอารีย์ – ประดิพัทธ์ ออกแบบโดย Eaowen ศิลปินมองว่าความสนุกของอารีย์คือผู้คน ทั้งคนในย่านและคนที่แวะมาเยี่ยมเยือน เธอจึงนำเสนอภาพผู้คนที่มาทำกิจกรรมหลากหลายในย่านนี้ ผ่านลายเส้นเรียบง่ายสบายตา ทว่าแฝงไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจมากมาย5. ย่านพระนคร ออกแบบโดย Nakrob Moonmanas ศิลปินคอลลาจที่หยิบเอาหลากหลายเรื่องราวอันอบอวลไปด้วยกลิ่นอายอดีต และแลนด์มาร์กสำคัญของย่านพระนครมานำเสนอในรูปแบบเฉพาะตัว6. ย่านพร้อมพงษ์ ออกแบบโดย Kanith ศิลปินเลือกใช้สีสันสดใสและลายเส้นที่ดูมีชีวิตชีวา นำเสนอความคึกคักของย่านเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยพหุวัฒนธรรมและป๊อปคัลเจอร์ 7. ย่านวงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู ออกแบบโดย Jiranarong หนุ่มนักชิมที่หยิบเอาอาหารเด่นประจำย่านตลาดพลู อย่างกุยช่าย บะหมี่ และไอศกรีมไข่แข็ง มาประกอบร่างกับเจ้าหมีตัวโตดัดแปลงมาจากเนื้อไอศกรีมกะทิสีขาว และมีกิมมิกคือสามารถถอดเคสไปวางทาบเพื่อถ่ายรูปกับสถานที่ต่างๆ ที่ไปเยือนได้8. ย่านบางโพ ออกแบบโดย Pnk.ff แรงบันดาลใจจากการลงพื้นที่สำรวจถนนสายไม้บางโพและได้พบเห็นกิจกรรมต่างๆ ของช่างไม้ ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านคาแรกเตอร์ขี้เล่นสีสันสดใส ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปิน9. ย่านปากคลองตลาด ออกแบบโดย Faan Peeti ตลาดที่เคารพธรรมชาติของดอกไม้และความหลากหลายของผู้คน ถูกนำเสนอผ่านภาพสวนดอกไม้แนววินเทจและสีพาสเทล เพื่อสื่อถึงความเก่าแก่และประวัติศาสตร์ของย่าน10. ย่านสยาม – สามย่าน ออกแบบโดย Prang Vipaluk ศิลปินนำองค์ประกอบที่สื่อถึงความชอบและความสนใจในเรื่องต่างๆ ของวัยรุ่นมาจัดวางรวมกัน สะท้อนภาพของย่านสยาม – สามย่าน ที่ดึงดูดผู้คนที่มีความชอบหลากหลายให้มารวมตัวกันครบจบในที่เดียว แบรนด์ที่เชื่อในการแสดงตัวตนผ่านงานออกแบบCASETiFY คือแบรนด์ไลฟ์สไตล์และอุปกรณ์เสริมเทคโนโลยีระดับโลก ที่มีดีเอ็นเอของความคิดสร้างสรรค์อยู่เต็มเปี่ยม ด้วยความที่คุณเวสลีย์ อึ้ง ผู้ก่อตั้งแบรนด์และ CEO เคยทำงานเป็นนักออกแบบมาก่อน เขาจึงให้ความสำคัญอย่างมากกับการสนับสนุนคอมมูนิตี้นักสร้างสรรค์ และยึดถือเรื่องความสร้างสรรค์เป็นจุดศูนย์กลางของทุกไอเดียที่ใช้ขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ทั้งสองฝ่ายจึงมองเห็นโอกาสในการร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในชุมชนนักออกแบบ รวมถึงเปิดพื้นที่ให้นักออกแบบรุ่นใหม่ในเมืองไทยได้ร่วมงานกับแบรนด์ดังระดับโลก ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่และต่อยอดชื่อเสียงออกไปในวงกว้าง เมื่องานศิลปะถูกนำมาจัดวางบนเคสโทรศัพท์มือถือ คนทั่วไปก็มีโอกาสเข้าถึงและจับจองเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น ทำให้ศิลปะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง ทั้งยังจุดประกายให้ผู้คนเกิดไอเดียในการฉีกกฎความจำเจ และหันมาแสดงความเป็นตัวเองรูปแบบใหม่ๆ ผ่านสิ่งของที่เลือกใช้ได้อย่างไร้ขีดจำกัดหากต้องการชมผลงานของ 10 ศิลปินและเลือกซื้อผลงานศิลปะสักชิ้นที่ตรงใจไปใช้งาน แวะไปได้เลยที่ CASETiFY Pop-Up Store ห้างสรรพสินค้า centralwOrld หรือสั่งซื้อผ่าน www.casetify.com––Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zationเมือง-มิตร-ดี4 – 12 FEB 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation