Design Matters – เมืองออกแบบดี คือ อย่างไร
Design Matters – เมืองออกแบบดี คือ อย่างไรเรื่อง : ออพพอร์ทัสการออกแบบ (v.) ในนิยาม เป็นกระบวนการในการวางแผนและตัดสินใจว่าสิ่งนั้นจะมีหน้าตาและการทำงานเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่มักมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งการออกแบบที่ดีอาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการในการวางแผนและตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาของผู้คนและบริบทนั้น เพราะฉะนั้นงานออกแบบที่ดีในบริบทหนึ่งอาจไม่ใช่งานออกแบบที่ดีสำหรับอีกบริบทหนึ่งก็เป็นได้ หัวใจสำคัญและเป็นจุดตั้งต้นของงานออกแบบที่ดีจึงมักเริ่มต้นจากการหาโจทย์ที่เฉพาะเจาะจงกับผู้คนและบริบทนั้นให้เจอเมืองออกแบบดี จึงน่าจะเป็นเมืองที่ใช้กระบวนการออกแบบเข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองหรือย่านนั้นๆ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่อาศัย เอื้อต่อความอยู่ดีและให้ความพึงพอใจแก่ผู้คนในสังคมโจทย์ของการออกแบบเมืองจำเป็นต้องเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้คนในสังคม ต่างจากการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ที่ผ่านมาการออกแบบชุมชนเมืองจึงมีวิธีการหลายหลาย ตั้งแต่การศึกษาจิตวิทยาเกี่ยวกับธรรมชาติความต้องการที่มนุษย์ส่วนใหญ่มีเหมือนกันที่มีสาระสำคัญว่าด้วย สภาพแวดล้อมที่ตอบสนองพฤติกรรมของมนุษย์ (Sociogenic Environment) ตลอดจนการวางกระบวนการออกแบบชุมชนเมือง อย่างเป็นระบบยกตัวอย่างโจทย์การออกแบบเมืองหากลองตั้งโจทย์การออกแบบเมือง โดยยกตัวอย่างความต้องการของกลุ่มคนที่เข้ามาให้ความเห็นในเวิร์คชอปย่านพระนคร เกาะรัตนโกสินทร์ และวิเคราะห์ตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ สรุปความได้ว่าทุกกลุ่มต้องการสิ่งที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานด้านกายภาพ (Physiological needs) อย่างความสะดวกสบายในการเดินทาง มีที่จอดรถเพียงพอ มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (Safety & security needs) โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่ต้องการการเข้าถึงพื้นที่ เพิ่มโอกาสในการค้าขาย และการยอมรับของชุมชน (Affiliation needs) ส่วนนักท่องเที่ยวต้องการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ (Cognitive needs) ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวอย่างของข้อคำนึงถึงในการออกแบบสภาพแวดล้อมเมืองให้ตอบโจทย์คนทุกกลุ่มหัวใจในการพัฒนาพื้นที่ ชุมชนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์หากเราเริ่มจากทำความเข้าใจในผู้คนและบริบทนั้นอย่างลึกซึ้ง ตีความปัญหาและความต้องการ ศึกษาข้อมูลและสามารถสรุปออกมาได้เป็นโจทย์และเป้าหมายในการออกแบบเมืองได้แล้ว ถือว่าเป็นขั้นแรกของกระบวนการออกแบบและเป็นหัวใจในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมือง ขั้นตอนการพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างคำตอบหรือทางเลือกในการแก้ปัญหาก็จะสอดคล้องกับความต้องการของผู้คนในสังคมแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมืองออกแบบดีแล้ว คงต้องกลับไปถามความเห็นของผู้คนในพื้นที่นั้น ว่าหลังจากออกแบบเมืองแล้ว เมืองตอบโจทย์ของผู้อยู่ไหม ถ้าดีควรทำต่อไปหรือถ้าไม่ดีควรปรับปรุงตรงไหน อย่างไรเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ เป็นโอกาสในการเชิญชวนทุกคนมาลงมือเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมือง ‘น่าอยู่’ ‘น่าลงทุน’ และ ’น่าเที่ยว’ ที่ ‘น่ารัก’ กับทั้งผู้คนในเมือง นักลงทุน และผู้มาเยี่ยมเยือน โดยที่ไม่ได้อยู่แค่ในทฤษฎี แต่ลงมือทำได้จริง ไม่ว่าใครก็เริ่มต้นทำได้เพราะคนยิ่งทำ เมืองยิ่งน่าอยู่ ชีวิตยิ่งดีอ้างอิง1) กำธร กุลชล (2545) การออกแบบชุมชนเมืองคืออะไร- การติดตามหาคำตอบในรอบ 40 ปี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.2) Oxford Advanced Learner’s Dictionary England (2000) : Oxford University Press.3) Lang, J. (1994) Urban Design; The American Experience. Van Nostrand Reinhold, New York.4) The Stanford d.school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). An Introduction to Design Thinking. Retrieve from https://dschool.stanford.edu/resources/design-thinking-bootlegBangkok Design Week 2024Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design matters27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
Heart Matters – เมืองดีต่อใจ ใส่ใจผู้คน กิจกรรมหลากหลาย วัฒนธรรมแข็งแรง
Heart Matters – เมืองดีต่อใจ ใส่ใจผู้คน กิจกรรมหลากหลาย วัฒนธรรมแข็งแรงเรื่อง : ออพพอร์ทัส | ภาพปก : Urban Allyเมือง ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ หรือพื้นที่ทางกายภาพเท่านั้น เมืองยังเป็นสถานที่ที่ครบเครื่องด้วยความหลากหลายของคนและวัฒนธรรม ตลอดมาตั้งแต่อดีตที่ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเราจะมีเทคโนโลยีในการสื่อสารที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ตลอดเวลา แต่ความสำคัญของความใกล้ชิดในมิติทางสัมพันธ์ยังคงมีความสำคัญ ความใกล้ชิด (Proximity) นั้นแบ่งได้เป็นสองประเภท ความใกล้ชิดทางกายภาพ (Operational Proximity) เกิดขึ้นเมื่อผู้คนอยู่ใกล้ชิดกันในความเป็นจริง และความใกล้ชิดเชิงความสัมพันธ์ (Relational Proximity) ที่แม้ผู้คนไม่ได้อยู่ใกล้กันแต่รู้สึกใกล้ชิดกันและห่วงใยกัน เมื่อสองเงื่อนไขมาเจอกันนั้น จะก่อให้เกิด ความสัมพันธ์ของความห่วงใย (Relationships of care) และอาจกล่าวได้ว่าความใกล้ชิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของความห่วงใย (Proximity is Precondition of care)การสร้างเมืองที่สนับสนุนและสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความใกล้ชิดที่เกิดขึ้นนั้นจะสร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกห่วงใยระหว่างคนในเมือง (Proximity & Care) ได้มากขึ้นอีกด้วยความใกล้ชิดไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะในระยะทาง และไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะกับคนในระยะใกล้ตัว แต่ทุกส่วนของเมืองที่มีคนอาศัยอยู่สามารถเปิดโอกาสให้เกิดความใกล้ชิดและสนับสนุนการช่วยเหลือในทุกสถานการณ์ เช่นพื้นที่สวนสาธาณะที่เปิดโอกาสให้คนที่อาศัยอยู่ใกล้กันมาออกกำลังกายและทำความรู้จักกัน หรือพื้นที่ว่างของชุมชน ที่เด็กๆ มาเล่น ออกกำลังกายกัน หรือแม้แต่จะกลายเป็นพื้นที่จัดงานประจำปีของชุนนั้นๆ และช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคนในชุมชนได้ ดังนั้นการจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการที่เชื่อมโยงกลุ่มคนและส่งเสริมความสัมพันธ์เป็นหนึ่งในวิธีที่เราสามารถสร้างความใกล้ชิดในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ Bangkok Design Week 2024 จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความใกล้ชิดระหว่างคนในเมือง โดยนักออกแบบสามารถนำเสนอกิจกรรมและนิทรรศการที่ส่งเสริมให้ชาวเมืองมีโอกาสในการปฏิสัมพันธ์และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ นอกจากจะเป็นเทศกาลที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่น่าสนใจและสนุกได้ แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แบ่งปันความคิดและความสร้างสรรค์แบบใหม่ๆ ในเมืองที่เติบโตมากขึ้นทุกวันอีกด้วยตัวอย่าง เทรนด์การศึกษารายกรณี ผลงานออกแบบที่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ของคนในเมือง1. งานออกแบบส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองThe Goods LineASPECT Studios ร่วมมือกับ CHROFI เปลี่ยนเส้นทางรถไฟที่ไม่ได้ถูกใช้งานให้กลายเป็น The Goods Line ซึ่งตั้งอยู่บนจุดเชื่อมต่อเมืองในใจกลางซิดนีย์ พื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ทำหน้าที่เป็น “วิทยาเขตสาธารณะ” ที่เชื่อมโยงพื้นที่สำคัญๆ ของเมืองเข้าด้วยกันอย่างราบรื่น ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมชุมชนผ่านศิลปะ วัฒนธรรม และการศึกษาแนวทางใหม่ของนักออกแบบเกี่ยวกับการออกแบบ “ชานชาลา” ที่แตกต่างกันไปตามทางเดินรถไฟยกระดับ โดยนำเสนอพื้นที่ที่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อส่งเสริมการใช้งานหลากหลาย ทั้งกิจกรรมทางวัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ และการเรียนรู้ ด้วยการตีความประวัติศาสตร์ของรางรถไฟใหม่และผสมผสานวัสดุที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟ เช่น คอนกรีต เหล็ก และไม้ โครงการนี้ไม่เพียงแต่ระลึกถึงอดีตเท่านั้น แต่ยังสร้างเอกลักษณ์ที่สดใหม่ให้กับบริเวณนี้ด้วยASPECT และ CHROFI ดำเนินการออกแบบ ทำการสร้างแบบจำลอง และได้นำกระบวนการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปมาใช้งานเป็นจำนวนมาก ด้วยความทะเยอทะยานของพลเมืองและจุดประสงค์เพื่อสาธารณะ The Goods Line ได้รับการวางแผนและดำเนินการอย่างครอบคลุม แผงคอนกรีตสำเร็จรูป การติดตั้งไฟ การเลือกสรรค์พืชพรรณ หรือแม้กระทั่งเก้าอี้สตูลแต่ละชิ้นได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันจนถึงรายละเอียด ผลผลิตที่ได้นั้นเป็นสถานที่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมรูปแบบใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสมากมายในการพบปะ เล่น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเมืองThe goods line ที่มา: https://www.aspect-studios.com/projects/the-goods-line The goods line ที่มา: https://www.aspect-studios.com/projects/the-goods-lineThe goods line ที่มา: https://www.aspect-studios.com/projects/the-goods-line2. งานออกแบบส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชนเก่า Nantou Old Town Preservation and Regenerationต้นปี 2016 ทีมออกแบบและวิจัยของ Urbanus ได้มีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูหนานโถว ตรงกันข้ามกับตำนานเมืองเซินเจิ้นในฐานะ “หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ” แท้จริงแล้วเมืองเก่าหนานโถวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้นมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้มานานกว่า 1,700 ปี การขยายตัวของเมืองนำไปสู่การบูรณาการของหนานโถวภายในหมู่บ้านในเมือง ก่อให้เกิดรูปแบบของเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนUrbanus ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ในขณะเดียวกันก็สร้างชุมชนเมืองที่มีชีวิตชีวาซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่น หนานโถวถูกมองว่าเป็นเมืองมรดกทางประวัติศาสตร์ที่รวบรวมประวัติศาสตร์เกือบสองพันปี โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมและพื้นที่ของเซินเจิ้น หนานโถวกลายเป็นสถานที่หลักในการจัดงาน “2017 Shenzhen-Hong Kong Bi-city Biennale of Urbanism / Architecture” (UABB) ซึ่งแนวคิดเรื่องการแทรกแซงในเมืองสอดคล้องกับการฟื้นฟูเมืองเก่าการออกแบบที่สำคัญ ได้แก่ “Baode Square” บริเวณนี้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่เปิดโล่งเล็กๆ ในใจกลางเมืองเก่า ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่มีชีวิตชีวา ล้อมรอบด้วยอาคารเก่าแก่และโครงสร้างที่อยู่อาศัย มีสนามบาสเก็ตบอลและก่อนหน้านี้มีการใช้งานน้อยในช่วงกลางวันเนื่องจากความร้อน อย่างไรก็ตาม ที่นี่จะมีชีวิตชีวาขึ้นหลังจากฟ้ามืด โดยมีเด็ก ๆ เล่นกันอย่างคึกคักและผู้ใหญ่ก็เข้ารวมกลุ่มกันมากมาย เพิงโลหะสองหลังถูกรื้อออกและแทนที่ด้วยโครงสร้างใหม่ หลังคาได้รับการออกแบบให้มีขั้นบันไดเอียงเพื่อใช้เป็นที่นั่งทั้งสำหรับพักผ่อน ชมการเล่นกีฬา หรือชมการแสดง อาคารต่างๆ ปูด้วยกระเบื้องดินเผาตามที่ถูกออกแบบพิเศษ เพื่อกำหนดขอบเขตของจัตุรัสและเป็นที่ตั้งของศูนย์ข้อมูล ร้านหนังสือ และพื้นที่จัดกิจกรรม ช่วยเพิ่มพื้นที่รวมตัวกันของคนในชุมชนBaode Square หลังจากการปรับปรุง มุมมองจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ที่มา : http://www.urbanus.com.cn/uabb/uabb2017/exhibition-venue-design-concept/?lang=enBaode Square หลังจากการปรับปรุง มุมมองจากด้านบน ที่มา: http://www.urbanus.com.cn/uabb/uabb2017/exhibition-venue-design-concept/?lang=enBaode Square ก่อนการปรับปรุง มุมมองจากด้านบน ที่มา: http://www.urbanus.com.cn/uabb/uabb2017/exhibition-venue-design-concept/?lang=enBangkok Design Week 2024Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design matters27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
Hard Matters – เมื่อเมืองกายภาพดี คนก็ดี
Hard Matters – เมื่อเมืองกายภาพดี คนก็ดี เรื่อง : ออพพอร์ทัสคนร่วมกันสร้างเมืองและกายภาพเมืองก็ช่วยหล่อหลอมผู้คน เมืองที่น่าอยู่ต่อกายและใจจึงเป็นพื้นที่สังสรรค์ชั้นเลิศของการใช้งานหลากวัย จุดประกายความคิดริเริ่ม และสร้างให้ทุกคนรู้สึกยินดีที่จะอยู่อาศัยใช้ชีวิตในเมือง เมื่อเมืองน่าอยู่ เมืองก็น่ารัก สิ่งเหล่านี้ร่วมฟูมฟักความผูกพันและร่วมสร้างพลเมืองที่เอาใจใส่เมือง เมืองน่าอยู่และดีต่อกาย แนวคิดเมืองน่าอยู่ ริเริ่มจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) โดยแต่เดิมใช้คำว่า Healthy city ที่แปลว่า “เมืองสุขภาพดี” หรือ “เมืองสุขภาวะ” แต่เมื่อคำว่าสุขภาพดีนั้นมีความหลากมิติ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความมั่นคงทางใจ จึงมีการใช้คำว่า “เมืองน่าอยู่” (Livable city) ที่หมายถึง เมืองที่ผู้คนอยู่อาศัยได้ดีทั้งต่อกายและใจ เมืองกายภาพดี เข้าถึงง่าย เชื่อมโยงผู้คน ให้อยู่สบาย และมีสุขภาพดี กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างเมือง หลัก 10 ประการของเมืองน่าอยู่ [1] ได้แก่ Human scale การออกแบบให้พอดีกับมนุษย์ กระชับ เป็นมิตร เดินเหินได้ดีChoices ทางเลือกหลากหลายของการอยู่ อาศัย จับจ่าย และพักผ่อนของคนทุกเพศทุกวัยMixed-use กิจกรรมผสมผสานอยู่ในย่านเดียวกัน เมืองมีชีวิตและเป็นมิตรที่ดีUrban centers ซ่อมแซม ฟื้นฟู และเติมเต็มใจกลางเมืองVary transport ให้ความสำคัญกับการเดิน ปั่น และขนส่งสาธารณะVibrant spaces ดึงดูดผู้คนให้มาใช้งานพื้นที่สาธารณะ พบปะ ปฏิสังสรรค์ มีส่วนร่วมIdentity สร้างสำนึกต่อถิ่นที่ (Sense of place) มีอัตลักษณ์ สร้างความภูมิใจEnvironment สมดุลระหว่างสิ่งที่มนุษย์สร้างกับธรรมชาติ อนุบาลพื้นที่สีเขียวและแหล่งน้ำLandscape การอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม สร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับเมืองDesign matters การออกแบบช่วยเพิ่มความน่าอยู่ สร้างเมืองให้ดี คนก็ดีด้วยคุณภาพชีวิต เล็ก ๆ ค่อยทำ แม้ว่าเมืองน่าอยู่จะเกี่ยวข้องกับมิติจำนวนมากของกายภาพเมือง แต่การทำให้เกิดขึ้นจริงนั้นอาจจะเริ่มต้นที่กระบวนการเล็ก ๆ ในพื้นที่เล็ก ๆ เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมสร้างความน่าอยู่ให้เกิดขึ้นในจุดหนึ่ง แล้วเชื่อมโยงไปยังจุดอื่น ๆ ที่มิตรเมืองร่วมทำ ร่วมสะสม ร่วมต่อเนื่อง และเชื่อมโยงจนเป็นโครงข่ายย่านเมืองน่าอยู่ เมืองที่ดีต่อกาย ไม่ได้ชี้วัดจากเพียงแค่ทางกายภาพแต่บ่งชี้ได้ทางใจ เมืองที่เหมาะสมต่อ “การอยู่” ชี้วัดได้จากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพอากาศ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ความปลอดภัยและมั่นคง การเข้าถึงสถานที่ดูแลสุขภาพและพื้นที่เรียนรู้ แต่การชี้วัดเมืองน่าอยู่ที่ใกล้ตัวกว่านั้นคือทางใจ ด้วยคำถามง่าย ๆ ที่อาจนำไปสู่การสร้างทางเลือกใหม่ เช่น สิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัว การรับรู้ถึงจิตวิญญาณและความเป็นมาของละแวกบ้าน [2] ความรู้สึกเหล่านี้เป็นผลสะท้อนจากการใช้งานกายภาพเมือง เมืองน่าอยู่ที่ดีต่อกาย จึงควรเริ่มสร้างจากสิ่งเล็ก ๆ แต่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่ช่วยสร้างความหมายให้แก่คำว่า “น่าอยู่” ให้เกิดการตีความร่วมกันของกลุ่มคนและชุมชนในละแวก ปรับเปลี่ยนสิ่งเดิมหรือที่ใช้งานน้อยให้กลับมาเติมเต็มคุณภาพชีวิต ทั้งพื้นที่ว่างเปล่า ตรอก ซอก ซอย อาคารเก่า พื้นที่ทิ้งร้าง หรือสถานที่ใด ๆ จากนั้นเชื่อมโยงแต่ละสิ่งที่น่าอยู่ด้วยการเข้าถึงกันและกัน ขยายจนเป็นโครงข่ายเมืองที่ดี ให้เกิดขึ้นบนความท้าทายใหม่ของกรุงเทพ ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ แต่ควรใส่ใจและหาความเป็นไปได้ใหม่ในกายภาพเดิม น่าอยู่ที่เท่ากัน นักสร้างสรรค์ผลิตผลงานเพื่อชาวเมือง แล้วถ้าแต่ละคนแตกต่างกันล่ะ เราจะรังสรรค์ความน่าอยู่ให้คนทั้งมวลได้อย่างไร เมืองเป็นพื้นที่ชุมนุมทางความคิด การใช้งาน และความต้องการของคนต่างเพศ ต่างวัย ต่างสังคม ความ “น่าอยู่” และ “กายดี” ของเมืองจึงต้องตอบสนองคนทุกคนอย่างเท่าเทียม (Inclusiveness) เห็นความสำคัญในความหลากหลายของมนุษย์ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงสิ่งบริการต่าง ๆ ใส่ใจกลุ่มเปราะบางดีเท่ากับการต่อยอดกลุ่มที่เข้มแข็ง ทุกคนเท่าเทียมกันการอยู่ในเมือง เมืองน่าอยู่ที่เท่ากัน คือการเชื้อเชิญให้ทุกคนเข้าถึงเมืองกายภาพดี ร่วมมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งเด็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และผู้สูงวัย ได้รับประสบการณ์ที่ดีกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ได้ใช้งานพื้นที่สาธารณะที่มีชีวิต เดินเท้าเข้าถึงได้ นั่งพัก เอนหลัง และชื่นชมกิจกรรมเมือง ที่เปิดให้คนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัยมีประสบการณ์ได้อย่างเท่าเทียม [3] [4] ดีไซน์ความใกล้ ใส่ใจสารทุกข์สุขดิบ เมืองน่าอยู่แล้วรักเลยไหม เส้นแบ่งบาง ๆ ของคำตอบคือ “ความใกล้” สิ่งที่จะบ่มเพาะให้คนได้ประโยชน์จากเมืองน่าอยู่คือการเข้าถึงสิ่งเหล่านั้นได้ในระยะทางประจำวัน เมืองพอดี (City of proximity) คือกุญแจสำคัญของการทำให้เมืองกายดีที่น่าอยู่ และเท่าเทียมกับคนทุกกลุ่ม ความใกล้ก็คือระยะทางการเข้าถึงสิ่งบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม พื้นที่ และแหล่งชุมนุมชน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ในละแวกบ้าน ด้วยการเดินเท้าชีวิตประจำวันทั่วไปของพวกเขาเอง งานออกแบบที่ถูกออกแบบให้อยู่ใกล้ จึงเป็นวิสัยทัศน์ที่ช่วยให้ทุกคนมีสิทธิอย่างเท่ากัน ยุติธรรม มีคุณภาพ และมีสุขภาพดี มิติของความใกล้ยังเป็นการแทรกแซงและหนุนเสริมคุณภาพชีวิตเมือง ให้เมืองน่าอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะอยู่ใกล้จึงเท่าเทียม เมืองน่าอยู่ที่ลดทอนลงเป็นพื้นที่น่าอยู่ที่อยู่ใกล้ ๆ ตัว ความน่าอยู่ที่พบเจอได้ตั้งแต่หน้าบ้าน ซอย ชุมชน ละแวกบ้าน ย่านและเมือง การใส่ใจสารทุกข์สุขดิบ มีสินค้า บริการ กิจกรรมที่ตอบทุกความต้องการ ส่งเสริมการเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เชื่อมโยงผู้คนหลากหลายให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน เกิดการแลกเปลี่ยน ลงมือทำสิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัว ให้กรุงเทพมหานครเป็น “เมืองกายดีที่น่าอยู่” คนยิ่งทำ เมืองยิ่งน่าอยู่ ชีวิตยิ่งดี เราจึงชักชวนทุกคนมาร่วมทำเมืองให้ดี ทำทีละเล็ก เชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายที่น่าอยู่ สร้างความเท่าเทียม ให้เมืองดีต่อกายเป็นบ่อเกิดของความรักที่ทุกคนอยากเอา “ใจ” ใส่ลงใน “เมือง” อ้างอิง[1] American Institute of Architects (AIA). (2023). 10 Principles for Livable Communities. Retrieved from https://modestoartmuseum.files.wordpress.com/2017/04/liv_10principles_flyer-1.pdf[2] Oxford Big Ideas Humanities. (2023). Unit 2 Place and liveability: Liveable cities. Retrieved from https://www.oup.com.au/__data/assets/pdf_file/0030/58179/Chapter-5-Liveable-cities.pdf[3] Cities for All. (2019). Inclusive and Accessible Cities. Retrieved from https://www.uclg.org/sites/default/files/inclusive_accessible_cities_policypaper.pdf[4] Asian Development Bank. (2022). Inclusive Cities: Urban Area Guideline. Retrieved from https://www.adb.org/sites/default/files/publication/776806/inclusive-cities-urban-area-guidelines.pdfBangkok Design Week 2024Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design matters27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape
About Theme: 'Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี'
แนวคิดประจำปีเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024)Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design mattersกรุงเทพฯ เมืองน่าเที่ยว ที่ (ยังไม่ค่อย) น่าอยู่ จากการจัดอันดับ ‘เมืองน่าเที่ยว’ หลากหลายสำนัก กรุงเทพมหานครมักติดอันดับต้นๆ ของเมืองน่าเที่ยวที่ใครๆ ก็อยากมาเยี่ยมเยือน เพราะเสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีอาหารอร่อยทุกระดับราคา ค่าครองชีพในการท่องเที่ยวที่สมเหตุสมผล และที่สำคัญผู้คนเป็นมิตรในทางกลับกัน การจัดอันดับ ‘เมืองน่าอยู่’ กรุงเทพฯ กลับสวนทางกัน นั่นเป็นเพราะปัญหาที่หลากหลายในเชิงโครงสร้าง ทั้งความเหลื่อมล้ำ โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต ปัญหาคุณภาพอากาศ พื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะไม่เพียงพอ ตลอดจนความท้าทายที่เมืองกำลังเผชิญ ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ขาดฐานรากทางวัฒนธรรมเพราะการเป็นเมืองน่าเที่ยวเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เมืองแข็งแรงและอยู่รอดท่ามกลางความท้าทายในโลกยุคปัจจุบันได้ ความน่าอยู่ของเมืองจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เมืองเดินไปพร้อมกับผู้คนของเมืองได้อย่างสมดุลและยั่งยืน‘ความน่าอยู่’ ของเมืองวัดจากประสบการณ์ของผู้ใช้งานเมืองในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งประสบการณ์ในเชิงกายภาพ จิตใจ และสังคม ซึ่งจะต้องสอดประสานกันอย่างสมดุล ตั้งแต่มีสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนตัว ไปจนถึงพื้นที่สาธารณะ ตั้งแต่พื้นที่บ้าน ชุมชน ละแวกบ้าน ย่านและเมือง ตลอดจนมีสินค้า บริการ กิจกรรมที่ตอบทุกความต้องการ และส่งเสริมการเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่นของเมือง และสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเชื่อมโยงผู้คนหลากหลาย ให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นำมาสู่การแลกเปลี่ยน ร่วมกันคิดและลงมือทำ Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024) จึงทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มทางความคิดและการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านเมือง (Festivalisation) ชวนทุกคนมาลงมือสร้าง ‘Livable Scape’ ในทุกรูปแบบที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กๆ รอบตัว ความสัมพันธ์ พื้นที่ สภาพแวดล้อม และมุมมอง ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็น ‘เมืองที่น่าอยู่’ กว่าที่เคย ผ่านหัวใจสำคัญ 3 มิติHard Matters เมืองดีต่อกาย กายภาพดี เข้าถึงง่าย เชื่อมโยงผู้คน ให้อยู่สบาย มีสุขภาพดีHeart Matters เมืองดีต่อใจ ใส่ใจผู้คน กิจกรรมหลากหลาย วัฒนธรรมแข็งแรงDesign Matters เมืองออกแบบดี ชีวิตดี หัวใจในการพัฒนาพื้นที่ ชุมชน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ลงมือเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมือง ‘น่าอยู่’ ‘น่าลงทุน’ และ ’น่าเที่ยว’ ที่ ‘น่ารัก’ กับทั้งผู้คนในเมือง นักลงทุน และผู้มาเยี่ยมเยือน โดยที่ไม่ได้อยู่แค่ในทฤษฎี แต่ลงมือทำได้จริง ไม่ว่าใครก็เริ่มต้นทำได้ ‘เพราะคนยิ่งทำ เมืองยิ่งน่าอยู่ ชีวิตยิ่งดี’Bangkok Design Week 2024Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีhard matters . heart matters . design matters27 Jan – 4 Feb 2024#BKKDW2024#BangkokDesignWeek#LivableScape