PHAYANCHANA
สานอักษร
สานอักษร’ พยัญชนะ (Phayanchana) เป็นแบรนด์ดีไซน์ที่หยิบจับรูปลักษณ์ของตัวอักษรไทยมาออกแบบเป็นสิ่งของใกล้ตัวอย่างร่วมสมัย ภายใต้หัวข้อ Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 นี้ พยัญชนะจะพาคุณไปสัมผัสเสน่ห์อันแสนเรียบง่ายของงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ประวัติศาสตร์งานออกแบบไทยที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอย และสะท้อนอัตลักษณ์ของผู้คนในชุมชนที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ภายใต้คอลเลกชันใหม่ที่ชื่อว่า สานอักษร (Sarn Aksorn) ผลงานในคอลเลกชันนี้ แบ่งออกเป็น เสื่อกก ผ้าขาวม้า ผ้ามัดหมี่ ชามตราไก่ และถาดสังกะสี เป็นสิ่งของที่อยู่คู่วิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ละชิ้นผ่านการออกแบบและปรับโฉมให้มีความร่วมสมัย และผสมผสานระหว่าง ภาษา งานศิลปะ และวัฒนธรรมไทย ไว้อย่าลงตัว เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ความงามแบบไทย รวมทั้งสืบสานวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาให้ทั้งคนไทย และต่างชาติได้สัมผัส เพื่อให้ภาษาศิลปะ และวัฒนธรรมไทย จะไม่จางหายไปตามกาลเวลา
การสืบสานวัฒนรรมคือการจัดสรรปรุงแต่งวัฒนธรรมที่สืบมาจากเดิม ให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับยุคสมัยในสภาพปัจจุบัน และทำให้วัฒนธรรมนั้นเป็นประโยชน์แก่คนในปัจจุบันพร้อมทั้งเป็นฐานของการงอกงามในอนาคตหากวัฒนธรรมของเราเป็นของดี ก็ควรที่จะแผ่ขยายความนิยมออกไปเราซึ่งเป็นฝ่ายตั้งรับวัฒนธรรมอื่นเข้ามาในประเทศเป็นเวลาหลายทศวรรษ ทำให้เราคิดว่าเราเองก็น่าจะส่งมอบประสบการณ์ และสานความสัมพันธ์กับสังคมโลกด้วยการสืบสานวัฒนธรรมของเราให้ได้รับความนิยมแผ่ขยายออกไปอย่างเป็นมิตรเช่นกัน
การสานวัฒนธรรม คือการสานสิ่งที่สืบจากอดีตให้เป็นประโยชน์ในปัจจุบัน สานสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันให้พร้อมที่จะงอกงามต่อไปในอนาคต และสานสิ่งที่ตนมีให้น่าชื่น ชมแผ่ความนิยมกว้างออกไปในโลก การสานนั้นจะต้องมีส่วนประกอบจากวัฒนธรรมที่มีมาแต่เดิม มาปรับให้รับกับยุคสมัย และนำส่วนประกอบใหม่ๆ มาสานเข้าเป็นวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวา
ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุที่สะท้อนกระบวนความคิดในการออกแบบ และการเลือกสรรวัสดุซึ่งศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านแสดงให้เห็นถึงลักษณะการใช้สอยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จนถึงภูมิปัญญาของช่าง ศิลปหัตถกรรมมิได้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ทำกันทั่วโลกก่อนที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเปลี่ยนจากการผลิตด้วยมือมาเป็นการผลิตในระบอุตสาหกรรม แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่สามารถผลิตด้วยเครื่องจักรทำให้ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านหลายประเภทยังดำรงคุณค่ามาจนปัจจุบัน
พยัญชนะ (Phayanchana) จึงมีความตั้งใจส่งต่อภาษา และวัฒนธรรมไทยไปสู่สากลเพื่อให้ ภาษา งานศิลปะและวัฒนธรรมไทย ไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา อีกทั้งส่งมอบประสบการณ์ รวมถึงการขยายขอบเขตการรับรู้ด้านความงามแบบไทยไปสู่สากล ด้วยการสานอักษรไทยผ่านงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอย และสะท้อนอัตลักษณ์ของผู้คนในชุมชนที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นภายใต้ผลงานที่ชื่อว่า สานอักษร (Sarn Aksorn)
สานอักษร ได้หยิบเอางานหัตถกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ เสื่อจักสาน ผ้าขาวม้า ผ้ามัดหมี่ ชามตราไก่และถาดสังกะสีที่อยู่คู่วิถีชีวิตชาวไทยมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ มาออกแบบให้รับกับยุคสมัย ผลงานแต่ละชิ้นงานผ่านการออกแบบ ให้มีความร่วมสมัย สอดประสานระหว่าง ภาษา งานศิลปะ และวัฒนธรรมไทย เอาไว้โดยการสอดแทรกตัวอักษรอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์พยัญชนะไว้ในทุกชิ้นงานให้รับกับยุคสมัยแต่ยังคงงานหัตถกรรมพื้นบ้านไว้อย่างครบถ้วน
นักออกแบบ
- อังกูร