ท่านกำลังเยี่ยมชมเทศกาลที่ผ่านมา เยี่ยมชมเทศกาลปัจจุบัน

FAAMAI Digital Arts Hub

FAAMAI Digital Arts Hub

ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล หรือ ฟ้าใหม่ FAAMAI ชวนมาชมภาพยนตร์และนิทรรศการ แบบ 360 องศา ระหว่างวันที่ 10-13 กุมภาพันธ์นี้ บนพื้นที่ Geodesic Dome บริเวณข้างอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วนคือ - กิจกรรมฉายภาพลงบน Geodesic Dome โดย ไทเลอร์ เจมส์ (Tyler James) ศิลปิน New Media ประกอบไปด้วยผลงาน 2 ชิ้นคือ "SuSu Boost Boost." และ "The black is only black when you forget to keep moving." - กิจกรรมฉายภาพยนตร์ภายใน FAAMAI Dome ซึ่งจะฉายภาพยนตร์ 2 เรื่องสลับกัน คือ DESCONEXION โดย ฮอเก้ แบนเดร่า (Jorge Bandera) ภาพยตร์แบบฟูลโดม 360 องศา ผลงานชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนตรรกะทางคณิตศาสตร์ และสภาวะ การขาดความเชื่อมต่อที่ชัดเจนระหว่างมนุษย์ และในห้วงเวลาถดถอยของสังคม และ FRACTAL TIME โดย จูเลียส (Julius Horsthuis) ภาพยนตร์ฟูลโดมแนวนามธรรม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับจุดกำเนิดและความเป็นจักรวาลในอนาคต ศิลปิน Horsthuis อยากมอบผลงานที่เป็น “การเดินทางแห่งการค้นพบ” ชิ้นนี้แก่ผู้ชม ให้ได้รับประสบการณ์เสมือนก้าวเข้าไปในโลกเสมือนจริง *สำหรับภาพยนตร์ ฉาย รอบละ 30 นาที สำรองที่นั่งล่วงหน้าที่ https://www.ticketmelon.com/faamai/co-with-360-movies __ 1. ภาพยนตร์เรื่อง DESCONEXION โดย ฮอเก้ แบนเดร่า (Jorge Bandera) ฮอเก้ แบนเดร่า จบการศึกษาด้านการออกแบบ และมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการสร้างสื่อมัลติมีเดียจากเมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย เขายังจบการศึกษาปริญญาโทด้านการออกแบบที่บัวโนสไอเรสประเทศอาร์เจนตินาอีกด้วย ผลงานของเขามุ่งเน้นไปที่ภาพเคลื่อนไหวแอนิเมชั่น Generative design, Generative art, รวมถึงศิลปะแบบ Immersive ล่าสุดฮอเก้ แบนเดร่า มุ่งสนใจกับการทดลองสร้างภาพบนฟูลโดมและสร้างสรรค์การบรรยายภาพแบบเสมือนจริง ภาพยตร์ DESCONEXION แบบฟูลโดม 360 องศา ผลงานชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนตรรกะทางคณิตศาสตร์ และสภาวะการขาดความเชื่อมต่อที่ชัดเจนระหว่างมนุษย์ และในห้วงเวลาถดถอยของสังคม 2. ภาพยนตร์เรื่อง FRACTAL TIME โดย จูเลียส (Julius Horsthuis) จูเลียสมีความรักในภาพยนตร์และวิดีโอตั้งแต่อายุ 12 ปี ในช่วงปี 2000-2006 เขาได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานในแวดวงภาพยนตร์ หลังจากเรียนจบมัธยมปลายในบทบาทที่ต่างกันไป ในขณะเดียวกัน จูเลียส ยังได้พัฒนาความสนใจด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก โดยเข้าไปทำงานกับบริษัทด้านโพสต์โปรดักชั่นหลาย และดูแลรับผิดชอบภาพยนตร์หลายเรื่องเช่น “Nova Zembla” (Oerlemans, 2011) และ หนังที่ได้รับรางวัลออสการ์อย่าง Manchester by the Sea (Lonergan, 2016) ในปี 2013 จูเลียสเริ่มทดลอง “Fractal Environment” โดยการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ระหว่างนามธรรมและภาพยนตร์แอนิเมชั่น ผลงานของเขาได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่างรวดเร็วโดยได้รับการโพสต์เป็นประจำในบล็อกและเว็บไซต์ข่าวเช่น The Creators Project, Gizmodo, Newsweek และ Vimeo Staff Picks ภาพยนตร์ FRACTAL TIME ฟูลโดมแนวนามธรรม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับจุดกำเนิดและความเป็นจักรวาลในอนาคต ศิลปิน Horsthuis อยากมอบผลงานที่เป็น “ การเดินทางแห่งการค้นพบ” ชิ้นนี้แก่ผู้ชม ให้ได้รับประสบการณ์เสมือนก้าวเข้าไปในโลกเสมือนจริง โดยผู้ชมสามารถรับชมภาพยนตร์พร้อมภาพและเสียงเชิงอุปรากร ไม่ว่าจะเป็น: เมืองต่างๆที่โผล่ออกมาจากยานอวกาศ พื้นมหาสมุทรกลายเป็นป่าเมื่อใดก็ได้ราวกับว่าพวกเขาได้ไปถึงสุดขอบแห่งที่จินตนาการที่วาดไว้