FACULTY OF ARCHITECTURE,KASETSART UNIVERSITY
Academic Program: “Urban and Public space”
โปรแกรม Academic Program: “Urban and Public space” : Local Service
ในหัวข้อ ‘ไม่มีสุขใดในโลก มีแต่ความทุกข์ที่พอทนได้’
โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บ้านหม้อ ‘ไม่มีสุขใดในโลก มีแต่ความทุกข์ที่พอทนได้’
คำขวัญในเชิงการให้ขวัญและกำลังใจที่เขียนขึ้นโดยผู้คนในย่านนับเป็นการ แสดงนัยยะสำคัญของการปรับตัวเพื่อสร้างความเป็นไปได้ในการดำรง ตนเองให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา นัยยะดังกล่าวเป็นการจุดประกายให้เกิดการทำความเข้าใจในเนื้อหาทาง สถาปัตยกรรมที่มีความหมายในเชิงลึกและมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน มากกว่าเนื้อหาที่จับต้องได้เพียงแค่ปัจจัยทางกายภาพดังเช่นคำกล่าวที่ว่า
“The city, which is the subject of this book, is to be understood here as architecture. By Architecture I mean not only the visible image of the city and the sum of its different architectures, but architecture as construction, the construction of the city over time.”
การทำความเข้าใจในเนื้อหาของเมืองนั้นเราสามารถสร้างความ เข้าใจมันได้ในสถานะของความเป็นสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมในที่นี้มิได้จำกัดความอยู่เพียงแค่ภาพลักษณ์ต่างๆ ของเมืองและการรวบรวมเอาสถาปัตยกรรมต่างๆขึ้นมาเป็นเมือง ผ่านสิ่งที่มองเห็นได้หรือสิ่งที่สัมผัสได้แต่เพียงเท่านั้น แต่มันคือ นัยยะทางสถาปัตยกรรมในสถานะของการก่อร่างสร้างตัว และ เป็นการก่อร่างสร้างตัวของเมืองที่อยู่บนเงื่อนไขของเวลา
The architecture of the City Aldo Rossi
เพื่อสร้างความเข้าใจต่อนัยยะที่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนและการถ่ายทอด ความสัมพันธ์ต่างๆที่ปรากฏในพื้นที่ผ่านหลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆ ไล่เรียง เป็นลำดับมาตั้งแต่ปัจจัยทางกายภาพของอาคารต่างๆที่มีอยู่ในพื้นที่ตลอด จนสิทธิประโยชน์ต่างๆของผู้ถือครอง กฎและข้อบังคับของเมือง จนถึงปัจจัย ทางสังคมเศรษฐกิจที่มีผลต่อการอยู่ร่วมกันของผู้คนในพื้นที่ภายใต้เนื้อหา ทางสถาปัตยกรรมของความเป็นเมือง กลไกการทำความเข้าใจถึงบทบาทของปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆที่ถูกตีแผ่ผ่านวิธีการเชิงจิตวิทยาภูมิศาสตร์จึงถูกนำ มาประยุกต์เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับการทำการสังเกตการณ์ภายใต้นัยยะ และปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในเมือง